6 การดูแลสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง

6 การดูแลสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง

เมื่อป่วยเป็นมะเร็งผู้ป่วยมักวิตกกังวลและสงสัยว่าต้องดูแลตัวเองอย่างไร ซึ่งการใช้ชีวิตนั้นไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนหรือต่างไปจากเดิมมากนัก แต่สิ่งสำคัญคือความเข้าใจ ความตั้งใจ ความใส่ใจ และไม่ต้องกังวลใจ เพื่อให้ผลการรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข 6 การดูแลสุขภาพผู้ป่วยมะเร็งนี้ คือสิ่งที่ควรรู้เมื่อเป็นมะเร็ง

1) ทานอาหารใหม่ สด สะอาด เลี่ยงของดิบ ของหมักดอง สามารถรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลได้ แต่รักษาระดับให้พอดี และควรทานโปรตีนคุณภาพดีอย่างไข่ขาว เนื้อไก่ เนื้อปลา หรือจะเลี่ยงมารับประทานเต้าหู้แทนได้เช่นกัน นอกจากนี้สามารถรับประทานอาหารทะเลได้ด้วย

2) รักษาน้ำหนักให้ดี อย่าปล่อยให้น้ำหนักลด โดยเฉพาะตอนที่รักษาโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี เพราะหากน้ำหนักลดจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลง การรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญมาก

3) ระวังอย่าปล่อยให้ท้องผูก เพราะหากท้องผูกจะส่งผลให้ผู้ป่วยมะเร็งกินไม่ได้ น้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการรักษาค่อนข้างมาก ดังนั้นผู้ป่วยมะเร็งจึงควรรับประทานผักผลไม้ ดื่มน้ำให้มาก เพื่อป้องกันท้องผูก แต่หากดูแลตนเองแล้วยังท้องผูก สามารถรับประทานยาระบายช่วยได้

4) ออกกำลังกายหรือทำงานเท่าที่ไหว หลายคนที่ป่วยเป็นมะเร็งคิดว่าจะต้องนอนพักผ่อนเพียงอย่างเดียว ทั้งที่ความจริงแล้วนอกจากการพักผ่อน มีผลการศึกษาระบุว่า ผู้ป่วยมะเร็งที่ทำงานระหว่างการรักษามะเร็งมีผลการรักษาที่ดีกว่าผู้ป่วยมะเร็งที่นอนพักรักษาตัวเพียงอย่างเดียว ดังนั้นหากสามารถทำงาน เคลื่อนไหวร่างกาย ออกกำลังกายได้หลังทำการรักษาก็ควรทำ เพราะนอกจากช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดตึงข้อ ยังช่วยให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรง เว้นแต่ในกรณีที่มีการรักษาด้วยการทำเคมีบำบัดบางชนิดที่อาจทำให้เหนื่อยและจำเป็นต้องนอนพักนานเป็นสัปดาห์

5) พักผ่อนให้เพียงพอและถูกต้อง นั่นคือไม่ได้นอนหลับทั้งวัน แต่เป็นการนอนตามนาฬิกาชีวิต (Biological Clock) ซึ่งเวลาในการนอนของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ควรนอนก่อน 5 ทุ่มจะดีที่สุด และควรนอนให้ได้ 8 – 9 ชั่วโมง สังเกตได้จากเมื่อตื่นนอนต้องไม่มีอาการอ่อนเพลียและไม่ควรมีอาการอ่อนเพลียระหว่างวัน

6) ดูแลจิตใจให้ดี นอกจากคิดดีทำดีแล้ว การระวังเรื่องความเครียดคือสิ่งสำคัญ เพราะความเครียดทำให้มะเร็งลุกลามได้ เมื่อฮอร์โมนความเครียดหลั่งจะทำให้มะเร็งโตขึ้น มะเร็งดื้อยามากขึ้น มะเร็งกระจายตัวมากขึ้น ดังนั้นเมื่อความเครียดไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้น ผู้ป่วยมะเร็งควรทำใจให้สบายและมีความสุขในทุกวัน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวที่ต้องทำด้วยตัวคุณเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ

บทความที่เกี่ยวข้อง

10 วิธีรับมือ COVID-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง

10 วิธีรับมือ COVID-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง

10 วิธีรับมือ COVID-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง ในสถานการณ์ที่ประเทศไทยและทั่วโลกมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ผู้ป่วยโรคมะเร็งจำเป็นที่จะต้องดูแลสุขภาพตัวเองเพื่อรับมือกับสถานการณ์ในระยะที่ยังคงมีการแพร่ระบาดอยู่ มีผู้ป่วยมะเร็งหลายคนสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไปหรือไม่ รวมถึงหากได้รับเชื้อ COVID-19 แนวทางการรักษาและการให้ยานั้นเหมือนหรือต่างจากผู้ป่วยทั่วไปที่ได้รับเชื้ออย่างไร เพราะฉะนั้นการรู้วิธีรับมืออย่างถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย 10 วิธีดังต่อไปนี้ผู้ป่วยมะเร็งควรรู้เพื่อดูแลตัวเองในช่วง COVID-19 ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการรักษาหรือให้เคมีบำบัด ควรไปพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทุกครั้งที่ออกจากบ้านต้องสวมหน้ากากอนามัยและพกเจลแอลกอฮอล์ติดตัวไว้ตลอดเวลา เลือกหน้ากากอนามัยคุณภาพดีได้มาตรฐาน ถ้าเป็นหน้ากากผ้าต้องเป็นผ้าที่สามารถป้องกันละอองฝอยในอากาศได้ ไม่ควรอยู่ในสถานที่แออัดโดยไม่จำเป็นและต้องรักษาระยะห่าง (Social Distancing) กับคนรอบข้าง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบ 5 หมู่ โดยเน้นโปรตีนเป็นหลัก ออกกำลังกายแบบพอเหมาะที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน ในกรณีที่ผู้ป่วยมะเร็งมีโรคประจำตัวเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน อ้วน หัวใจ ตับ ไตเรื้อรัง ปอดและทางเดินหายใจ และภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงหากติดเชื้อ COVID-19 อาจร้ายแรงและอันตรายถึงชีวิตได้ แพทย์จะพิจารณาและให้ยาเฉพาะโรคเป็นรายบุคคลไป ผู้ป่วยมะเร็งปอดต้องใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเองเป็นพิเศษ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้ปอดและร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายตามความเหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ออกจากบ้านถ้าไม่จำเป็น เว้นแต่แพทย์นัดการติดตามอาการ ใส่หน้ากากอนามัย พกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และหมั่นรักษาความสะอาดอยู่เสมอ Stay Home Stay Healthy อยู่บ้านพร้อมกับสุขภาพกายใจที่แข็งแรง หากิจกรรมทำ ไม่ว่าจะเป็นออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ฟังเพลง ทำงานบ้าน งานอดิเรกที่ชอบ เป็นต้น เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย ที่สำคัญรักษาจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด ภูมิคุ้มกันจะได้ไม่ตก สร้างพลังบวกให้มีกำลังใจใช้ชีวิตในทุก ๆ วัน เลือกรับข่าวสารในช่องทางที่น่าเชื่อถือ นำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่ตื่นตระหนกและปฏิบัติตัวได้ถูกวิธีในทุกสถานการณ์ ช่วง COVID-19 ผู้ป่วยมะเร็งควรดูแลสุขภาพของตัวเองให้มากขึ้นเป็นพิเศษ หากมีข้อสงสัยควรขอคำแนะนำจากแพทย์เฉพาะทางด้านโรคมะเร็งเพื่อจะได้ดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสมในชีวิตประจำวัน และผ่านพ้นสถานการณ์ COVID-19 ไปด้วยกัน ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ บทความโดย พญ.พจนา จิตตวัฒนรัตน์

สัญญาณเตือนโรคมะเร็ง

สัญญาณเตือนโรคมะเร็ง

7 พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็ง

7 พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็ง

7 พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็ง มะเร็งนั้นอยู่ใกล้ตัวกว่าที่เราคิด เคยได้ยินไหมคะที่คนดูแลสุขภาพดีแต่กลับเป็นมะเร็งแล้วนับภาษาอะไรกับคนที่ไม่ดูแลตัวเองหรือยังดูแลไม่เพียงพอ เช็ก 7 พฤติกรรมเสี่ยงที่แฝงอยู่ในชีวิตประจำวัน ที่เปอร์เซนต์ก่อโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น พฤติกรรมสูบบุหรี่ ปัจจัยการเกิดโรคมะเร็งที่เป็นอันดับต้นๆ ซึ่งมีเปอร์เซนต์ทำให้เกิดการเสียชีวิตจากมะเร็งปอดได้ถึง 87% นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดมะเร็งกล่องเสียง มะเร็งช่องปาก มะเร็งคอหอย มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ด้วย พฤติกรรมทำให้น้ำหนักเกินเกณฑ์ ทั้งการกินอาหารไขมันสูงและไม่ออกกำลังกาย ร่างกายต้องรับน้ำหนักที่มากเกินความจำเป็น นอกจากผลเสียทางด้านกายภาพแล้ว ยังส่งผลไปยังสุขภาพร่างกายอีกด้วย ทั้งความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน และมะเร็งซึ่งผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มักมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ พฤติกรรมดื่มแอลกอฮอล์ เช่นเดียวกับบุหรี่ที่ทุกคนน่าจะทราบกันอยู่แล้วว่าเป็นพิษ หากบริโภคในปริมาณมากๆ สามารถทำลายตับ และทำให้เกิดไขมันอุดตันในเลือดได้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร พฤติกรรมทานอาหารไม่ถูกหลัก มากไปหรือน้อยไป ทำให้สารอาหารไม่สมดุล ก่อโรคต่างๆได้ เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ และนอกจากโรคมะเร็งกระพาะอาหารแล้ว ยังเสี่ยงโรคอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน เช่น โรคอ้วน โรคไขมันในเส้นเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง ฯ การติดเชื้อ เมื่อเรารับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายแล้วภูมิคุ้มกันเราจะอ่อนแอ ทำให้เจ็บป่วยลงได้ ซึ่งเป็นโอกาสหนึ่งที่ทำให้เซลล์เนื้อร้ายมีโอกาสเติบโต มีโอกาสชนะภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือที่เรียกว่าโรคแทรกซ้อน ไม่ออกกำลังกาย มีผลการวิจัยว่า การนั่งนานๆ ไม่ขยับกล้ามเนื้อ หรืออวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายบ้าง ความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ ได้ เพราะส่วนหนึ่งมาจากการนั่งนานๆ ไม่มีการยืดเส้นยืดสายเพื่อเผาผลาญไขมันตามร่างกายเสียบ้าง บริเวณส่วนสะโพกและหน้าท้องของเราจะกลายเป็นจุดสะสมไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วนและไขมันอัดตัน และมะเร็งลำไส้ได้ในที่สุด ทั้งนี้นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วการตรวจร่างกายเป็นประจำถือ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อตรวจหารอยโรคต่างๆ เพราะหากเจอในระยะเริ่มแรกก็สามารถรักษาหายขาดได้ ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม

มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่

รังสีร่วมรักษา Interventional-Radiology

รังสีร่วมรักษา Interventional-Radiology

รังสีร่วมรักษา Interventional-Radiology “วิทยาการสมัยใหม่สามารถนำมาใช้ร่วมในการรักษาผู้ป่วยโดยตรงทั้งการเจาะตรวจชิ้นเนื้อและการสวนหลอดเลือดอย่างปลอดภัย เพื่อร่วมในการดูแลผู้ป่วยอย่างรอบด้าน” โดยแพทย์ผู้ชำนาญการ สาขา รังสีวิทยาทั่วไป สาขา รังสีวินิจฉัย อนุสาขา รังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษา อนุสาขา รังสีร่วมรักษาของลำตัว การรักษาโรคมะเร็งโดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ให้ผลใกล้เคียงกับการผ่าตัด เชี่ยวชาญ แม่นยำ แผลเล็ก ไม่ต้องผ่าตัด ฟื้นตัวไว #รังสีร่วมรักษา #โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี Call Center: 039-319-888 ฉุกเฉินโทร: 1719