รังสีร่วมรักษา Interventional-Radiology

May be an image of 4 people, hospital and text that says 'รังสีร่วมรักษา Interventional-Radiology LHETES 0 "วิทยาการสมัยใหม่สามารถน่ำมาใช้ ร่วมในการรักษาผู้ป่วยโดยตรง ทั้งการเจาะตรวจชิ้นเนื้อและ การสวนหลอดเลือดอย่างปลอดภัย เพื่อร่วยในการดูแลผู้ป้ยอย่างรอด้ Mstr: โดยแพทย์ผู้ช์ โดยแพทย์ผู้ชำนาญการ ลาขา รังสีวิทยาทั่วไป รังสีวินิจฉัย อนุสาขา รังสีวิทยาหลอดเลือดและังสีร่วมรัษ อนุสาขา รังสีร่วมรักษาของลำตัว นพ.สมยศ uw ชัยธีระสุเวท พญ.ปัญชลี พญ. บญญกาค าศ นพ.พชา uw. พชา ภูพิชญ์พงษ์ าขารังสรนิจัย สาขารังสวิทยาทั่วไป สาขารังสั่วิิจจัย อบุภายารงส่ร่วแรัาเบามองล่าถัว จนุอาชา อนุสาว สอดเละรานลร อบูผลทชาริดสีมาราเิาอระ บริเกษา อนุฮาชา รเสี่ร่วนรักบานองลำตัว การรักษาโรคมะเร็งโดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ให้ผลใกล้เคียงกับการผ่าตัด เชี่ยวชาญ แม่นยำ แผลเล็ก ไม่ต้องผ่าตัด ฟื้นตัวไว ศูนย์รังสีวิทยาและรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลกรุงเทพ จันทบุรี 039 319 888 1719'

รังสีร่วมรักษา Interventional-Radiology

“วิทยาการสมัยใหม่สามารถนำมาใช้ร่วมในการรักษาผู้ป่วยโดยตรงทั้งการเจาะตรวจชิ้นเนื้อและการสวนหลอดเลือดอย่างปลอดภัย เพื่อร่วมในการดูแลผู้ป่วยอย่างรอบด้าน” โดยแพทย์ผู้ชำนาญการ

📌สาขา รังสีวิทยาทั่วไป
📌สาขา รังสีวินิจฉัย
📌อนุสาขา รังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษา
📌อนุสาขา รังสีร่วมรักษาของลำตัว

การรักษาโรคมะเร็งโดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ให้ผลใกล้เคียงกับการผ่าตัด

✅ เชี่ยวชาญ
✅ แม่นยำ
✅ แผลเล็ก
✅ ไม่ต้องผ่าตัด
✅ ฟื้นตัวไว

#รังสีร่วมรักษา #โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี
📞 Call Center: 039-319-888
🚨 ฉุกเฉินโทร: 1719

บทความที่เกี่ยวข้อง

รักษามะเร็งตับด้วยเทคนิค TACE

รักษามะเร็งตับด้วยเทคนิค TACE

โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรีมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านการรักษามะเร็งตับ ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยที่ไม่ต้องผ่าตัดผ่านเทคนิค TACE (Trans Arterial Chemo Embolization) ซึ่งเป็นวิธีการส่งยาเคมีบำบัดโดยตรงผ่านหลอดเลือดแดงไปยังก้อนมะเร็งตับ พร้อมอุดกั้นหลอดเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงก้อนเนื้อ เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของมะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพ วิธีนี้ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่แม่นยำ ลดภาวะแทรกซ้อน และฟื้นตัวได้เร็ว สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติในระยะเวลาอันสั้น ความพร้อมและศักยภาพของโรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี ในการใช้เทคโนโลยีทางรังสีร่วมรักษา (Interventional Radiology: IR) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการรักษา ที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วย ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านรังสีร่วมรักษาและอนุสาขา Sub-Board of Vascular and Interventional Radiology โรงพยาบาลพร้อมด้วยเครื่องมือวินิจฉัยและรักษาที่ทันสมัยที่สุด อาทิ: • เอกซเรย์ (X-ray) • คลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรีมุ่งเน้นการรักษาอย่างแม่นยำ รวดเร็ว และปลอดภัย ช่วยลดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ด้วยการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาช่วยในทุกขั้นตอน พร้อมด้วยทีมแพทย์และบุคลากรที่ใส่ใจในทุกความต้องการของผู้ป่วย เราพร้อมให้การดูแลด้วยมาตรฐานระดับสูงสุด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว Call Center: 039-319-888 ฉุกเฉินโทร: 1719

ภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านม

ภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านม

ภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านม (Lymphedema and Breast Cancer) ภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านมสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ซึ่งไม่สามารถบอกได้เลยว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น และจะเกิดขึ้นในตอนไหน ดังนั้นการรู้เท่าทันจะช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมไม่ตื่นตระหนกและรับมือได้อย่างถูกวิธี รู้จักภาวะแขนบวมหลังรักษามะเร็งเต้านม ภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านม (Lymphedema and Breast Cancer) เป็นอาการแขนบวมที่เกิดขึ้นหลังจากการรักษาโรคมะเร็งเต้านม ไม่ว่าจะเป็นด้วยการผ่าตัดหรือรังสีรักษา อาจเกิดขึ้นทันทีหรือหลังการรักษาไปแล้วหลายปี ซึ่งจะเกิดขึ้นกับแขนข้างเดียวกับที่เป็นมะเร็งเต้านม เกิดได้ตั้งแต่ปลายนิ้วมือไปจนถึงต้นแขน อาจเกิดขึ้นในบางบริเวณอย่างมือหรืออาจจะเกิดขึ้นทั้งแขนได้ หากบวมน้อยจะยังใช้งานแขนได้ปกติ แต่หากบวมมากอาจใช้งานแขนไม่ได้ ถ้ารีบรักษาทันทีจะช่วยให้อาการดีขึ้นและไม่บวมจนทำให้ใช้แขนไม่สะดวกได้ สาเหตุของโรค สาเหตุของภาวะแขนบวมหลังรักษามะเร็งเต้านม (Lymphedema and Breast Cancer) ได้แก่ ผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออกเพื่อรักษามะเร็งเต้านม การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองออกยิ่งมาก แขนยิ่งมีโอกาสบวมเพิ่มขึ้น และหากเนื้อเยื่อบริเวณที่ผ่าตัดเกิดพังผืดอาจส่งผลให้ท่อน้ำเหลืองเกิดพังผืด ทำให้ทางเดินน้ำเหลืองอุดตันส่งผลให้แขนบวมได้ การฉายรังสีรักษาบริเวณรักแร้หรือเต้านม อาจทำให้เกิดพังผืดต่อมน้ำเหลืองและท่อน้ำเหลืองหลังผ่าตัด ส่งผลให้ทางเดินน้ำเหลืองที่แขนอุดตัน แขนจึงบวมได้เช่นกัน ถ้าผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองรักแร้และฉายรังสีด้วย โอกาสแขนบวมจะยิ่งมากขึ้น แขนติดเชื้อ จากการรักษาโรคมะเร็งเต้านมด้วยการผ่าตัดและรังสีรักษา อาจทำให้เกิดการคั่งของน้ำเหลือง ส่งผลให้แขนติดเชื้อได้ง่ายยิ่งขึ้น เมื่อติดเชื้อและรักษาหายพังผืดในเนื้อเยื่อแขนจะเพิ่มขึ้น ทางเดินน้ำเหลืองจะอุดตันเพิ่มขึ้น ส่งผลให้แขนบวมมากขึ้น เมื่อติดเชื้อง่ายขึ้น ก็จะเป็น ๆ หาย ๆ แบบนี้ไปเรื่อย ๆ โรคมะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ ทำให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายมาต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้หรือเหนือไหปลาร้า ทำให้อุดตันทางเดินน้ำเหลืองของแขน ส่งผลให้แขนบวมได้เช่นกัน อาการบอกโรค อาการภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านม (Lymphedema After Breast Cancer Treatment) ได้แก่ แขนบวม ปวด ชา อ่อนแรง แขนติด เคลื่อนไหวไม่เป็นปกติ ผิวหนังหนา ไม่เรียบ ใส่เสื้อผ้าหรือเครื่องประดับแล้วรู้สึกคับ การตรวจวินิจฉัย การตรวจวินิจฉัยภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านม (Lymphedema After Breast Cancer Treatment) ส่วนใหญ่แพทย์เฉพาะทางจะประเมินหลังจากผ่าตัดมะเร็งเต้านมประมาณ 6 เดือน เพราะผู้ป่วยส่วนมากมักมีอาการในช่วงนี้ ซึ่งจะประเมินจากภาพถ่าย การวัดเส้นรอบวงแขนเหนือศอก การวัดปริมาตรแขน (Perometer) รวมถึงการตรวจอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น Lymphangiogram, Ultrasound, ICG lymphography, Lymphoscintigraphy, MRI, CT Scan เป็นต้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ วิธีการรักษา การรักษาภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านม (Lymphedema and Breast Cancer )ได้แก่ ลดการบวม ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันและไม่ให้อาการเป็นมากขึ้น อาทิ ระวังอย่าให้แผลที่แขนติดเชื้อ ถ้าแผลเล็กต้องเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ทุกครั้งก่อนทายา ถ้าแผลใหญ่หรือแผลลึกต้องรีบพบแพทย์ทันที นอกจากนี้ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิว บำรุงผิวให้ชุ่มชื้น ไม่ให้เป็นแผลหรือติดเชื้อง่าย อย่าให้มือและแขนบาดเจ็บ ไม่เจาะเลือด ฉีดยา ฉีดวัคซีนแขนด้านที่ผ่าตัด ใส่ถุงมือยางเมื่อทำงานบ้าน ไม่ควรบีบรัดแขนแน่น ไม่ใส่เสื้อคับหรือเครื่องประดับที่รัดแขนข้างที่ผ่าตัด ป้องกันการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ไม่ยกของหนัก ไม่ออกกำลังที่ต้องใช้กำลังแขนหรือใช้แขนตลอดเวลา ระวังการอาบน้ำร้อนเกินไปหรืออบตัวด้วยความร้อนมากเกินไป เพราะอาจทำให้น้ำเหลืองคั่งมากขึ้น หากนั่งนิ่งเป็นเวลานานควรยกแขนสูงกว่าระดับหัวใจ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน เพราะเป็นต้นเหตุให้แขนบวม ใส่ปลอกแขนรัดไล่น้ำเหลือง นวดแขนไล่น้ำเหลือง ใช้เลเซอร์กระตุ้นการหมุนเวียนของเลือดและน้ำเหลือง หมั่นสังเกตแขนด้านที่ผ่าตัด หากบวมหรือผิดปกติต้องรีบพบแพทย์ทันที การผ่าตัด เพื่อรักษาภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านม ทำได้โดย ผ่าตัดเชื่อมท่อน้ำเหลืองกับเส้นเลือดดำ เพื่อให้น้ำเหลืองสามารถกลับได้ทางเส้นเลือดดำแทน ผ่าตัดปลูกถ่ายต่อมน้ำเหลือง เพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างทางเดินน้ำเหลืองขึ้นมาใหม่ ผ่าตัดเนื้อส่วนเกินหรือดูดไขมัน ในคนไข้ที่มีภาวะแขนบวมจนทำให้เกิดการสะสมของไขมันใต้ชั้นผิวหนังเพิ่มเติม ภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านมสามารถเกิดได้สิ่งสำคัญคือการป้องกันไม่ให้แขนบวมโดยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะแขนบวมได้และหากคนไข้มีอาการที่สงสัยว่าเกิดภาวะแขนบวมควรมาตรวจพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มมีอาการเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและเริ่มการรักษาตั้งแต่มีอาการน้อยเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุดนอกจากนั้นคนไข้ควรป้องกันไม่ให้แขนบวมมากขึ้นและไม่ให้เกิดการติดเชื้อของแขนหากแขนบวมแดงร้อนปวดและมีไข้ต้องรีบพบแพทย์ ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ โดย ผศ.พญ.ศศิธร สุจริตธนะการ

มะเร็งตับ (Liver cancer)

มะเร็งตับ (Liver cancer)

มะเร็งตับ (Liver cancer) มะเร็งตับ นับเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่พบบ่อยในประเทศไทย เกิดได้จากหลายสาเหตุ มักแสดงอาการเมื่อเข้าสู่ระยะลุกลามแล้ว ทำให้การควบคุมโรคเป็นไปได้ยาก และมีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง สาเหตุของมะเร็งตับ มีภาวะตับอักเสบเรื้อรัง การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ โรคไขมันพอกตับในผู้ที่เป็นโรคอ้วน โรคตับคั่งน้ำดี โรคตับอักเสบจากระบบภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง อาการมะเร็งตับ ผู้ป่วยมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่มีอาการ ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปี โดยเลือกโปรแกรมที่ตรวจความผิดปกติของตับอย่างครอบคลุมจึงมีความสำคัญมาก เพราะอาการของโรคมะเร็งตับมักแสดงในระยะที่ลุกลามแล้ว และอาการของมะเร็งตับที่พบบ่อย มีดังนี้ ปวดจุกบริเวณชายโครงขวาหรือช่องท้องส่วนบน เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด มีภาวะท้องมาน ขาบวม ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม ตาเหลือง ตัวเหลือง การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ การซักประวัติตรวจร่างกาย การตรวจเลือดดูการทำงานของตับ ไวรัสตับอักเสบ และสารบ่งชี้มะเร็งตับ (alpha-fetoprotein) การตรวจทางรังสีที่ตับและช่องท้อง เช่น การอัลตราซาวด์(Ultrasound) การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-Scan) การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) การเจาะตับเพื่อตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ภาวะแทรกซ้อนของมะเร็งตับ มะเร็งตับลุกลามไปยังอวัยวะต่างๆในร่ากาย ตับวาย ทำให้ตับเสียหน้าทีการทำงาน อาจถึงขั้นเสียขีวิตได้ การรักษาโรคมะเร็งตับ การวางแผนเลือกวิธีการรักษาในผู้ป่วยแต่ละรายอาจจะแตกต่างกันออกไปตามการพิจารณาของแพทย์ โดยวิธี การรักษาหลักๆมีดังนี้ การผ่าตัด รังสีรักษา การให้เคมีบำบัด การปลูกถ่ายตับ การป้องกันโรคมะเร็งตับ ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และ ไวรัสตับอักเสบซี หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการเข้าไปในที่ที่มีควันบุหรี่ ป้องกันตัวเองด้วยการสวมอุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งที่ต้องสัมผัสเลือดหรือสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี และซี ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก พักผ่อนอย่างเพียงพอ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

อาหารหมักดองตัวการร้าย สร้างมะเร็งหลังโพรงจมูก

อาหารหมักดองตัวการร้าย สร้างมะเร็งหลังโพรงจมูก

อาหารหมักดองตัวการร้าย สร้างมะเร็งหลังโพรงจมูก ของหมัก ของดอง เมื่อได้กินแล้วชื่นใจ แต่รู้หรือไม่สิ่งเหล่านี้คือตัวกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก เชื่อหรือไม่ว่าโรคนี้สามารถพบได้ตั้งแต่ช่วงคนที่อายุน้อยและกลุ่มวัยรุ่นและพบได้บ่อยในชาวเอเชีย รู้จักมะเร็งหลังโพรงจมูก มะเร็งหลังโพรงจมูก คือ มะเร็งที่เกิดในบริเวณด้านหลังโพรงจมูก มะเร็งชนิดนี้พบบ่อยในแถบเอเชีย เช่น ประเทศไทย จีน เกาหลี เป็นต้น แต่พบไม่บ่อยในประเทศแถบยุโรปและอเมริกา ซึ่งมะเร็งหลังโพรงจมูกที่เกิดในแถบเอเชียนี้มักจะพบได้ในกลุ่มคนที่อายุน้อย กลุ่มวัยรุ่น และพบได้ในเพศชาย ส่วนแถบยุโรปและอเมริกานั้นมักจะพบในคนอายุมาก ในชาวเอเชียพบมะเร็งหลังโพรงจมูกค่อนข้างเยอะ ตัวการมะเร็งหลังโพรงจมูก มีการติดเชื้อไวรัส EBV (Ebstein Barr Virus) และเชื่อกันว่ามีปัจจัยอื่น ๆ หรือพฤติกรรมด้านอาหาร ร่วมด้วย เช่น อาหารหมักเกลือ อาหารหมักดอง สมุนไพรจีนบางชนิด การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้ไวรัสชนิดนี้ทำงานจนมีการอักเสบเรื้อรัง (Viral Reactivation) แต่ในแถบโซนยุโรปและอเมริกานั้นส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของการสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ที่จะเป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ ที่เกิดขึ้น ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นก็พบได้เช่นกันคือ มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็ง อาการมะเร็งหลังโพรงจมูก มีเลือดกำเดาไหลบ่อย ๆ หูอื้อข้างเดียว ติดเชื้อในหูชั้นกลางซ้ำ ๆ มีก้อนบริเวณคอ ปวดศีรษะเรื้อรัง ตาพร่า ใบหน้าชา หากเป็นมากอาจมีอาการมะเร็งกระจายไปอวัยวะอื่น เช่น ปวดหลัง ไอ ทานไม่ได้ น้ำหนักลด ควรที่จะมาพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยต่อไป รักษามะเร็งหลังโพรงจมูก รักษาโดยใช้การฉายแสง (Radiation) ร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) การดำเนินโรคของมะเร็งหลังโพรงจมูก หากเป็นระยะแรกจะค่อนข้างดี โอกาสหายขาดสูงมาก เช่น ในระยะที่ 1 และ 2 หากรักษาถูกต้องตามขั้นตอน โอกาสหายสูงถึง 80 – 90% หากเป็นระยะที่ 3 หรือ 4 โอกาสหายลดลงเหลือ 50 – 60% มะเร็งหลังโพรงจมูก (Nasopharyngeal Cancer) พบได้บ่อยในชาวเอเชีย ปัจจัยเสี่ยงคือการติดเชื้อ EBV ที่ทำให้มีการอักเสบเรื้อรัง มะเร็งนี้มักพบในเพศชาย อายุน้อย หากเจอในระยะแรก รักษาถูกต้อง โอกาสหายจะค่อนข้างสูงมาก ดังนั้นหากมีอาการที่สงสัยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจทันที ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ บทความโดย พญ.พจนา จิตตวัฒนรัตน์

6 การดูแลสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง

6 การดูแลสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง

6 การดูแลสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เมื่อป่วยเป็นมะเร็งผู้ป่วยมักวิตกกังวลและสงสัยว่าต้องดูแลตัวเองอย่างไร ซึ่งการใช้ชีวิตนั้นไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนหรือต่างไปจากเดิมมากนัก แต่สิ่งสำคัญคือความเข้าใจ ความตั้งใจ ความใส่ใจ และไม่ต้องกังวลใจ เพื่อให้ผลการรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข 6 การดูแลสุขภาพผู้ป่วยมะเร็งนี้ คือสิ่งที่ควรรู้เมื่อเป็นมะเร็ง 1) ทานอาหารใหม่ สด สะอาด เลี่ยงของดิบ ของหมักดอง สามารถรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลได้ แต่รักษาระดับให้พอดี และควรทานโปรตีนคุณภาพดีอย่างไข่ขาว เนื้อไก่ เนื้อปลา หรือจะเลี่ยงมารับประทานเต้าหู้แทนได้เช่นกัน นอกจากนี้สามารถรับประทานอาหารทะเลได้ด้วย 2) รักษาน้ำหนักให้ดี อย่าปล่อยให้น้ำหนักลด โดยเฉพาะตอนที่รักษาโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี เพราะหากน้ำหนักลดจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลง การรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญมาก 3) ระวังอย่าปล่อยให้ท้องผูก เพราะหากท้องผูกจะส่งผลให้ผู้ป่วยมะเร็งกินไม่ได้ น้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการรักษาค่อนข้างมาก ดังนั้นผู้ป่วยมะเร็งจึงควรรับประทานผักผลไม้ ดื่มน้ำให้มาก เพื่อป้องกันท้องผูก แต่หากดูแลตนเองแล้วยังท้องผูก สามารถรับประทานยาระบายช่วยได้ 4) ออกกำลังกายหรือทำงานเท่าที่ไหว หลายคนที่ป่วยเป็นมะเร็งคิดว่าจะต้องนอนพักผ่อนเพียงอย่างเดียว ทั้งที่ความจริงแล้วนอกจากการพักผ่อน มีผลการศึกษาระบุว่า ผู้ป่วยมะเร็งที่ทำงานระหว่างการรักษามะเร็งมีผลการรักษาที่ดีกว่าผู้ป่วยมะเร็งที่นอนพักรักษาตัวเพียงอย่างเดียว ดังนั้นหากสามารถทำงาน เคลื่อนไหวร่างกาย ออกกำลังกายได้หลังทำการรักษาก็ควรทำ เพราะนอกจากช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดตึงข้อ ยังช่วยให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรง เว้นแต่ในกรณีที่มีการรักษาด้วยการทำเคมีบำบัดบางชนิดที่อาจทำให้เหนื่อยและจำเป็นต้องนอนพักนานเป็นสัปดาห์ 5) พักผ่อนให้เพียงพอและถูกต้อง นั่นคือไม่ได้นอนหลับทั้งวัน แต่เป็นการนอนตามนาฬิกาชีวิต (Biological Clock) ซึ่งเวลาในการนอนของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ควรนอนก่อน 5 ทุ่มจะดีที่สุด และควรนอนให้ได้ 8 – 9 ชั่วโมง สังเกตได้จากเมื่อตื่นนอนต้องไม่มีอาการอ่อนเพลียและไม่ควรมีอาการอ่อนเพลียระหว่างวัน 6) ดูแลจิตใจให้ดี นอกจากคิดดีทำดีแล้ว การระวังเรื่องความเครียดคือสิ่งสำคัญ เพราะความเครียดทำให้มะเร็งลุกลามได้ เมื่อฮอร์โมนความเครียดหลั่งจะทำให้มะเร็งโตขึ้น มะเร็งดื้อยามากขึ้น มะเร็งกระจายตัวมากขึ้น ดังนั้นเมื่อความเครียดไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้น ผู้ป่วยมะเร็งควรทำใจให้สบายและมีความสุขในทุกวัน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวที่ต้องทำด้วยตัวคุณเอง ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ

ยามุ่งเป้ายับยั้งรักษามะเร็ง

ยามุ่งเป้ายับยั้งรักษามะเร็ง

ยามุ่งเป้ายับยั้งรักษามะเร็ง ยามุ่งเป้าเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง ยามุ่งเป้าเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง และเพราะการออกฤทธิ์ที่เฉพาะเจาะจงนี้เองจึงทำให้ผลข้างเคียง โดยรวมของยามุ่งเป้าน้อยกว่ายาเคมีบำบัด ทั้งนี้ในมะเร็งแต่ละชนิดอาจจะมียามุ่งเป้าที่แตกต่างกัน และไม่ใช่มะเร็งทุกชนิดที่สามารถใช้ยามุ่งเป้าได้ สิ่งสำคัญคือการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีในการรักษา ยามุ่งเป้าคืออะไร ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) คือ การใช้ยาที่มีความเฉพาะเจาะจงสูงในการรักษาโรคมะเร็ง โดยมีเป้าหมายคือเข้าไปทำลายโปรตีนที่เป็นเป้ามายภายในเซลล์มะเร็งโดยตรง ทำให้สามารถยับยั้งการแบ่งและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ยามุ่งเป้ารักษามะเร็งชนิดใด ปัจจุบันยามุ่งเป้ารักษามะเร็งได้หลายชนิด ทั้งมะเร็งในระยะเริ่มต้นและมะเร็งในระยะแพร่กระจาย ได้แก่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับ มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ยามุ่งเป้ารักษามะเร็งชนิดใด ปัจจุบันยามุ่งเป้ารักษามะเร็งได้หลายชนิด ทั้งมะเร็งในระยะเริ่มต้นและมะเร็งในระยะแพร่กระจาย ได้แก่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับ มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง การใช้ยามุ่งเป้าเพื่อรักษามะเร็ง แพทย์เฉพาะทางมะเร็งจะตรวจการกลายพันธุ์และโปรตีนในชิ้นเนื้อมะเร็ง หรือในเลือด ของผู้ป่วย เพื่อประเมินความเหมาะสมของการใช้ยามุ่งเป้าในผู้ป่วยรายนั้น ๆ ผลข้างเคียงที่พบได้จากยามุ่งเป้า เมื่อเทียบกับยาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้ามีผลข้างเคียงต่ำกว่า แต่หลังการรักษาด้วยยามุ่งเป้าก็อาจพบอาการข้างเคียงได้เช่นกัน อาทิ ผิวแห้ง ผื่นผิวหนังลักษณะคล้ายสิว คัน จมูกเล็บอักเสบ ท้องเสีย เยื่อบุปากอักเสบ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งผลข้างเคียงจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งอย่างใกล้ชิด ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ โดย นพ.จิตรการ มิติสุบิน