“มะเร็งผิวหนัง”

“มะเร็งผิวหนัง”

“มะเร็งผิวหนัง” พบได้น้อยในคนไทยแต่มีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นสาเหตุที่สำคัญยังไม่ทราบแน่ชัด แต่แสงแดดที่แรงมากในระดับอันตรายมากก็เป็นปัจจัยเสี่ยง และเนื่องในเดือนพฤษภาคมของทุกปี เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งผิวหนัง จึงขอเชิญชวนชาวไทยทำความรู้จักกับมะเร็งชนิดนี้ เพื่อให้รู้ทันโรคและหาแนวทางการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม

นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า มะเร็งผิวหนัง เป็นมะเร็งที่พบได้น้อยในคนไทย โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย จากสถิติข้อมูลมะเร็งประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2559-2561 (Cancer in Thailand Vol.X 2016-2018) รวบรวมโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ซึ่งในแต่ละปีพบผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังรายใหม่เฉลี่ย 4,374 คนต่อปี หรือวันละ 12 คน มะเร็งผิวหนังมักพบที่บริเวณใบหน้า แขน ขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว ส่วนใหญ่เริ่มจากมีการเปลี่ยนแปลงของไฝ ปาน หรือเริ่มต้นเป็นแผลเล็ก ๆ แล้วจึงค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้น มีลักษณะผิวขรุขระ ขอบเขตไม่ชัดเจน สีไม่สม่ำเสมอ

สาเหตุที่สำคัญในการเกิดมะเร็งผิวหนังนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ได้แก่

  • แสงแดด
  • มีบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง
  • โรคทางพันธุกรรมบางโรค
  • คนผิวขาว หรือ ผิวเผือก
  • สารเคมีบางชนิด เช่น สารหนู
  • แผลเรื้อรัง
  • ภาวะภูมิต้านทานต่ำ
  • การได้รังสีรักษา

สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งผิวหนัง ทำได้โดยการตัดชิ้นเนื้อรอยโรคที่สงสัยเพื่อตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา และหลังจากได้รับการวินิจฉัยแล้ว แพทย์จะทำการประเมินระยะของโรคเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป

การรักษามะเร็งผิวหนัง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วย โดยขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด ตำแหน่งของมะเร็ง ทั้งนี้ ด้วยวิธีการรักษาทางมาตรฐานมักจะต้องทำการผ่าตัดทั้งรอยโรคและในส่วนบริเวณผิวหนังที่ปกติโดยรอบออก อาจจำเป็นต้องตัด ต่อมน้ำเหลืองในส่วนที่มะเร็งจะกระจายไป ซึ่งบางกรณีอาจต้องให้ยาเคมีบำบัด หรือ การให้รังสีรักษา ร่วมด้วย

วิธีการป้องกันมะเร็งผิวหนัง

  • หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดนานๆ
  • ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันเพื่อลดการสัมผัสแสงแดดโดยตรง เช่น ใส่แว่นกันแดด, ใช้ร่ม, สวมหมวก, สวมเสื้อแขนยาว
  • ควรหมั่นสังเกตบนร่างกายตนเองเป็นประจำว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ หรือหากมีแผลเรื้อรังควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

หากตรวจพบการเกิดมะเร็งผิวหนังได้ในระยะเริ่มต้น จะทำให้การรักษาโรคมะเร็งนั้นง่ายขึ้น เมื่อสงสัยว่าผิวหนังหรือไฝบนร่างกายของตนเองเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและพบว่ามีความผิดปกติ ท่านควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและทำการรักษาที่ถูกต้อง ท่านสามารถติดตามข่าวสารความรู้เรื่องโรคมะเร็งจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติเพิ่มเติมได้ที่

ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

รังสีร่วมรักษา Interventional-Radiology

รังสีร่วมรักษา Interventional-Radiology

รังสีร่วมรักษา Interventional-Radiology “วิทยาการสมัยใหม่สามารถนำมาใช้ร่วมในการรักษาผู้ป่วยโดยตรงทั้งการเจาะตรวจชิ้นเนื้อและการสวนหลอดเลือดอย่างปลอดภัย เพื่อร่วมในการดูแลผู้ป่วยอย่างรอบด้าน” โดยแพทย์ผู้ชำนาญการ สาขา รังสีวิทยาทั่วไป สาขา รังสีวินิจฉัย อนุสาขา รังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษา อนุสาขา รังสีร่วมรักษาของลำตัว การรักษาโรคมะเร็งโดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ให้ผลใกล้เคียงกับการผ่าตัด เชี่ยวชาญ แม่นยำ แผลเล็ก ไม่ต้องผ่าตัด ฟื้นตัวไว #รังสีร่วมรักษา #โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี Call Center: 039-319-888 ฉุกเฉินโทร: 1719

อาหารหมักดองตัวการร้าย สร้างมะเร็งหลังโพรงจมูก

อาหารหมักดองตัวการร้าย สร้างมะเร็งหลังโพรงจมูก

อาหารหมักดองตัวการร้าย สร้างมะเร็งหลังโพรงจมูก ของหมัก ของดอง เมื่อได้กินแล้วชื่นใจ แต่รู้หรือไม่สิ่งเหล่านี้คือตัวกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก เชื่อหรือไม่ว่าโรคนี้สามารถพบได้ตั้งแต่ช่วงคนที่อายุน้อยและกลุ่มวัยรุ่นและพบได้บ่อยในชาวเอเชีย รู้จักมะเร็งหลังโพรงจมูก มะเร็งหลังโพรงจมูก คือ มะเร็งที่เกิดในบริเวณด้านหลังโพรงจมูก มะเร็งชนิดนี้พบบ่อยในแถบเอเชีย เช่น ประเทศไทย จีน เกาหลี เป็นต้น แต่พบไม่บ่อยในประเทศแถบยุโรปและอเมริกา ซึ่งมะเร็งหลังโพรงจมูกที่เกิดในแถบเอเชียนี้มักจะพบได้ในกลุ่มคนที่อายุน้อย กลุ่มวัยรุ่น และพบได้ในเพศชาย ส่วนแถบยุโรปและอเมริกานั้นมักจะพบในคนอายุมาก ในชาวเอเชียพบมะเร็งหลังโพรงจมูกค่อนข้างเยอะ ตัวการมะเร็งหลังโพรงจมูก มีการติดเชื้อไวรัส EBV (Ebstein Barr Virus) และเชื่อกันว่ามีปัจจัยอื่น ๆ หรือพฤติกรรมด้านอาหาร ร่วมด้วย เช่น อาหารหมักเกลือ อาหารหมักดอง สมุนไพรจีนบางชนิด การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้ไวรัสชนิดนี้ทำงานจนมีการอักเสบเรื้อรัง (Viral Reactivation) แต่ในแถบโซนยุโรปและอเมริกานั้นส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของการสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ที่จะเป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ ที่เกิดขึ้น ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นก็พบได้เช่นกันคือ มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็ง อาการมะเร็งหลังโพรงจมูก มีเลือดกำเดาไหลบ่อย ๆ หูอื้อข้างเดียว ติดเชื้อในหูชั้นกลางซ้ำ ๆ มีก้อนบริเวณคอ ปวดศีรษะเรื้อรัง ตาพร่า ใบหน้าชา หากเป็นมากอาจมีอาการมะเร็งกระจายไปอวัยวะอื่น เช่น ปวดหลัง ไอ ทานไม่ได้ น้ำหนักลด ควรที่จะมาพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยต่อไป รักษามะเร็งหลังโพรงจมูก รักษาโดยใช้การฉายแสง (Radiation) ร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) การดำเนินโรคของมะเร็งหลังโพรงจมูก หากเป็นระยะแรกจะค่อนข้างดี โอกาสหายขาดสูงมาก เช่น ในระยะที่ 1 และ 2 หากรักษาถูกต้องตามขั้นตอน โอกาสหายสูงถึง 80 – 90% หากเป็นระยะที่ 3 หรือ 4 โอกาสหายลดลงเหลือ 50 – 60% มะเร็งหลังโพรงจมูก (Nasopharyngeal Cancer) พบได้บ่อยในชาวเอเชีย ปัจจัยเสี่ยงคือการติดเชื้อ EBV ที่ทำให้มีการอักเสบเรื้อรัง มะเร็งนี้มักพบในเพศชาย อายุน้อย หากเจอในระยะแรก รักษาถูกต้อง โอกาสหายจะค่อนข้างสูงมาก ดังนั้นหากมีอาการที่สงสัยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจทันที ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ บทความโดย พญ.พจนา จิตตวัฒนรัตน์

มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่

สัญญาณเตือนโรคมะเร็ง

สัญญาณเตือนโรคมะเร็ง

การให้ยาเคมีบำบัด

การให้ยาเคมีบำบัด

การให้ยาเคมีบำบัด เคมีบําบัด คือ การรักษาโรคมะเร็งด้วยยาเคมี โดยยาจะผ่านเข้าทางกระแสเลือดและไปทําลายเซลล์มะเร็งทั่วร่างกาย ยาเคมีบําบัดสามารถให้โดยการฉีดเข้าทางร่างกาย เส้นเลือด หรือรับประทาน เคมีบําบัดช่วยขจัดหรือทําลายมะเร็งที่อาจหลงเหลืออยู่ภายหลังการผ่าตัดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคหรือการกลับมาเป็นซ้ำ วัตถุประสงค์ในการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด เพื่อรักษาให้หายขาด (CURE) เป็นการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยหายจากโรคมะเร็ง และไม่กลับมาเป็นซ้ำ ในโรคมะเร็งบางชนิดที่มีโอกาสหายขาด เพื่อควบคุมโรค (CONTROL) สำหรับมะเร็งบางชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพื่อบรรเทาอาการ (PALLIATION) สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะแพร่กระจาย เพื่อบรรเทาอาการจากโรคมะเร็งเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด ยาเคมีบำบัดมีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งที่มีการแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมถึงเซลล์ร่างกายปกติที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วด้วย เช่น ไขกระดูก, เซลล์เม็ดเลือด, ผม, เยื่อบุทางเดินอาหาร และเยื่อบุอวัยยะสืบพันธุ์ ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยที่แตกต่างกันไปขึ้นกับชนิดยาเคมีบำบัด ปริมาณยา วิธีการให้ยา และปัจจัยของตัวผู้ป่วยเองแต่ละคน แต่เมื่อหยุดการรักษาเซลล์เนื้อเยื่อเหล่านี้จะฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติได้ การเตรียมตัวก่อนรับยาเคมีบําบัด เตรียมสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความวิตกกังวล แพทย์จะทําการตรวจร่างกายทั่วไปและตรวจทางห้องปฎิบัติการ เช่น ตรวจเลือด ตรวจการทํางานของหัวใจ เอกซเรย์ เป็นต้น ควรปัสสาวะหรืออุจจาระให้เรียบร้อยก่อนรับยา ไม่ควรกลั้นไว้ เพราะเป็นการเพิ่มภาวะเครียดและความไม่สุขสบาย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกมะเร็ง โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

รักษามะเร็งตับด้วยเทคนิค TACE

รักษามะเร็งตับด้วยเทคนิค TACE

โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรีมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านการรักษามะเร็งตับ ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยที่ไม่ต้องผ่าตัดผ่านเทคนิค TACE (Trans Arterial Chemo Embolization) ซึ่งเป็นวิธีการส่งยาเคมีบำบัดโดยตรงผ่านหลอดเลือดแดงไปยังก้อนมะเร็งตับ พร้อมอุดกั้นหลอดเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงก้อนเนื้อ เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของมะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพ วิธีนี้ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่แม่นยำ ลดภาวะแทรกซ้อน และฟื้นตัวได้เร็ว สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติในระยะเวลาอันสั้น ความพร้อมและศักยภาพของโรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี ในการใช้เทคโนโลยีทางรังสีร่วมรักษา (Interventional Radiology: IR) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการรักษา ที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วย ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านรังสีร่วมรักษาและอนุสาขา Sub-Board of Vascular and Interventional Radiology โรงพยาบาลพร้อมด้วยเครื่องมือวินิจฉัยและรักษาที่ทันสมัยที่สุด อาทิ: • เอกซเรย์ (X-ray) • คลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรีมุ่งเน้นการรักษาอย่างแม่นยำ รวดเร็ว และปลอดภัย ช่วยลดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ด้วยการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาช่วยในทุกขั้นตอน พร้อมด้วยทีมแพทย์และบุคลากรที่ใส่ใจในทุกความต้องการของผู้ป่วย เราพร้อมให้การดูแลด้วยมาตรฐานระดับสูงสุด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว Call Center: 039-319-888 ฉุกเฉินโทร: 1719