มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านม

ภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านม

ภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านม (Lymphedema and Breast Cancer) ภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านมสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ซึ่งไม่สามารถบอกได้เลยว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น และจะเกิดขึ้นในตอนไหน ดังนั้นการรู้เท่าทันจะช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมไม่ตื่นตระหนกและรับมือได้อย่างถูกวิธี รู้จักภาวะแขนบวมหลังรักษามะเร็งเต้านม ภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านม (Lymphedema and Breast Cancer) เป็นอาการแขนบวมที่เกิดขึ้นหลังจากการรักษาโรคมะเร็งเต้านม ไม่ว่าจะเป็นด้วยการผ่าตัดหรือรังสีรักษา อาจเกิดขึ้นทันทีหรือหลังการรักษาไปแล้วหลายปี ซึ่งจะเกิดขึ้นกับแขนข้างเดียวกับที่เป็นมะเร็งเต้านม เกิดได้ตั้งแต่ปลายนิ้วมือไปจนถึงต้นแขน อาจเกิดขึ้นในบางบริเวณอย่างมือหรืออาจจะเกิดขึ้นทั้งแขนได้ หากบวมน้อยจะยังใช้งานแขนได้ปกติ แต่หากบวมมากอาจใช้งานแขนไม่ได้ ถ้ารีบรักษาทันทีจะช่วยให้อาการดีขึ้นและไม่บวมจนทำให้ใช้แขนไม่สะดวกได้ สาเหตุของโรค สาเหตุของภาวะแขนบวมหลังรักษามะเร็งเต้านม (Lymphedema and Breast Cancer) ได้แก่ ผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออกเพื่อรักษามะเร็งเต้านม การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองออกยิ่งมาก แขนยิ่งมีโอกาสบวมเพิ่มขึ้น และหากเนื้อเยื่อบริเวณที่ผ่าตัดเกิดพังผืดอาจส่งผลให้ท่อน้ำเหลืองเกิดพังผืด ทำให้ทางเดินน้ำเหลืองอุดตันส่งผลให้แขนบวมได้ การฉายรังสีรักษาบริเวณรักแร้หรือเต้านม อาจทำให้เกิดพังผืดต่อมน้ำเหลืองและท่อน้ำเหลืองหลังผ่าตัด ส่งผลให้ทางเดินน้ำเหลืองที่แขนอุดตัน แขนจึงบวมได้เช่นกัน ถ้าผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองรักแร้และฉายรังสีด้วย โอกาสแขนบวมจะยิ่งมากขึ้น แขนติดเชื้อ จากการรักษาโรคมะเร็งเต้านมด้วยการผ่าตัดและรังสีรักษา อาจทำให้เกิดการคั่งของน้ำเหลือง ส่งผลให้แขนติดเชื้อได้ง่ายยิ่งขึ้น เมื่อติดเชื้อและรักษาหายพังผืดในเนื้อเยื่อแขนจะเพิ่มขึ้น ทางเดินน้ำเหลืองจะอุดตันเพิ่มขึ้น ส่งผลให้แขนบวมมากขึ้น เมื่อติดเชื้อง่ายขึ้น ก็จะเป็น ๆ หาย ๆ แบบนี้ไปเรื่อย ๆ โรคมะเร็งกลับมาเป็นซ้ำ ทำให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายมาต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้หรือเหนือไหปลาร้า ทำให้อุดตันทางเดินน้ำเหลืองของแขน ส่งผลให้แขนบวมได้เช่นกัน อาการบอกโรค อาการภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านม (Lymphedema After Breast Cancer Treatment) ได้แก่ แขนบวม ปวด ชา อ่อนแรง แขนติด เคลื่อนไหวไม่เป็นปกติ ผิวหนังหนา ไม่เรียบ ใส่เสื้อผ้าหรือเครื่องประดับแล้วรู้สึกคับ การตรวจวินิจฉัย การตรวจวินิจฉัยภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านม (Lymphedema After Breast Cancer Treatment) ส่วนใหญ่แพทย์เฉพาะทางจะประเมินหลังจากผ่าตัดมะเร็งเต้านมประมาณ 6 เดือน เพราะผู้ป่วยส่วนมากมักมีอาการในช่วงนี้ ซึ่งจะประเมินจากภาพถ่าย การวัดเส้นรอบวงแขนเหนือศอก การวัดปริมาตรแขน (Perometer) รวมถึงการตรวจอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น Lymphangiogram, Ultrasound, ICG lymphography, Lymphoscintigraphy, MRI, CT Scan เป็นต้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ วิธีการรักษา การรักษาภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านม (Lymphedema and Breast Cancer )ได้แก่ ลดการบวม ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันและไม่ให้อาการเป็นมากขึ้น อาทิ ระวังอย่าให้แผลที่แขนติดเชื้อ ถ้าแผลเล็กต้องเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ทุกครั้งก่อนทายา ถ้าแผลใหญ่หรือแผลลึกต้องรีบพบแพทย์ทันที นอกจากนี้ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิว บำรุงผิวให้ชุ่มชื้น ไม่ให้เป็นแผลหรือติดเชื้อง่าย อย่าให้มือและแขนบาดเจ็บ ไม่เจาะเลือด ฉีดยา ฉีดวัคซีนแขนด้านที่ผ่าตัด ใส่ถุงมือยางเมื่อทำงานบ้าน ไม่ควรบีบรัดแขนแน่น ไม่ใส่เสื้อคับหรือเครื่องประดับที่รัดแขนข้างที่ผ่าตัด ป้องกันการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ไม่ยกของหนัก ไม่ออกกำลังที่ต้องใช้กำลังแขนหรือใช้แขนตลอดเวลา ระวังการอาบน้ำร้อนเกินไปหรืออบตัวด้วยความร้อนมากเกินไป เพราะอาจทำให้น้ำเหลืองคั่งมากขึ้น หากนั่งนิ่งเป็นเวลานานควรยกแขนสูงกว่าระดับหัวใจ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน เพราะเป็นต้นเหตุให้แขนบวม ใส่ปลอกแขนรัดไล่น้ำเหลือง นวดแขนไล่น้ำเหลือง ใช้เลเซอร์กระตุ้นการหมุนเวียนของเลือดและน้ำเหลือง หมั่นสังเกตแขนด้านที่ผ่าตัด หากบวมหรือผิดปกติต้องรีบพบแพทย์ทันที การผ่าตัด เพื่อรักษาภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านม ทำได้โดย ผ่าตัดเชื่อมท่อน้ำเหลืองกับเส้นเลือดดำ เพื่อให้น้ำเหลืองสามารถกลับได้ทางเส้นเลือดดำแทน ผ่าตัดปลูกถ่ายต่อมน้ำเหลือง เพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างทางเดินน้ำเหลืองขึ้นมาใหม่ ผ่าตัดเนื้อส่วนเกินหรือดูดไขมัน ในคนไข้ที่มีภาวะแขนบวมจนทำให้เกิดการสะสมของไขมันใต้ชั้นผิวหนังเพิ่มเติม ภาวะแขนบวมหลังการรักษามะเร็งเต้านมสามารถเกิดได้สิ่งสำคัญคือการป้องกันไม่ให้แขนบวมโดยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะแขนบวมได้และหากคนไข้มีอาการที่สงสัยว่าเกิดภาวะแขนบวมควรมาตรวจพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มมีอาการเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและเริ่มการรักษาตั้งแต่มีอาการน้อยเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุดนอกจากนั้นคนไข้ควรป้องกันไม่ให้แขนบวมมากขึ้นและไม่ให้เกิดการติดเชื้อของแขนหากแขนบวมแดงร้อนปวดและมีไข้ต้องรีบพบแพทย์ ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ โดย ผศ.พญ.ศศิธร สุจริตธนะการ

ยามุ่งเป้ายับยั้งรักษามะเร็ง

ยามุ่งเป้ายับยั้งรักษามะเร็ง

ยามุ่งเป้ายับยั้งรักษามะเร็ง ยามุ่งเป้าเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง ยามุ่งเป้าเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง และเพราะการออกฤทธิ์ที่เฉพาะเจาะจงนี้เองจึงทำให้ผลข้างเคียง โดยรวมของยามุ่งเป้าน้อยกว่ายาเคมีบำบัด ทั้งนี้ในมะเร็งแต่ละชนิดอาจจะมียามุ่งเป้าที่แตกต่างกัน และไม่ใช่มะเร็งทุกชนิดที่สามารถใช้ยามุ่งเป้าได้ สิ่งสำคัญคือการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีในการรักษา ยามุ่งเป้าคืออะไร ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) คือ การใช้ยาที่มีความเฉพาะเจาะจงสูงในการรักษาโรคมะเร็ง โดยมีเป้าหมายคือเข้าไปทำลายโปรตีนที่เป็นเป้ามายภายในเซลล์มะเร็งโดยตรง ทำให้สามารถยับยั้งการแบ่งและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ยามุ่งเป้ารักษามะเร็งชนิดใด ปัจจุบันยามุ่งเป้ารักษามะเร็งได้หลายชนิด ทั้งมะเร็งในระยะเริ่มต้นและมะเร็งในระยะแพร่กระจาย ได้แก่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับ มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ยามุ่งเป้ารักษามะเร็งชนิดใด ปัจจุบันยามุ่งเป้ารักษามะเร็งได้หลายชนิด ทั้งมะเร็งในระยะเริ่มต้นและมะเร็งในระยะแพร่กระจาย ได้แก่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับ มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง การใช้ยามุ่งเป้าเพื่อรักษามะเร็ง แพทย์เฉพาะทางมะเร็งจะตรวจการกลายพันธุ์และโปรตีนในชิ้นเนื้อมะเร็ง หรือในเลือด ของผู้ป่วย เพื่อประเมินความเหมาะสมของการใช้ยามุ่งเป้าในผู้ป่วยรายนั้น ๆ ผลข้างเคียงที่พบได้จากยามุ่งเป้า เมื่อเทียบกับยาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้ามีผลข้างเคียงต่ำกว่า แต่หลังการรักษาด้วยยามุ่งเป้าก็อาจพบอาการข้างเคียงได้เช่นกัน อาทิ ผิวแห้ง ผื่นผิวหนังลักษณะคล้ายสิว คัน จมูกเล็บอักเสบ ท้องเสีย เยื่อบุปากอักเสบ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งผลข้างเคียงจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งอย่างใกล้ชิด ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ โดย นพ.จิตรการ มิติสุบิน

10 วิธีรับมือ COVID-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง

10 วิธีรับมือ COVID-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง

10 วิธีรับมือ COVID-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง ในสถานการณ์ที่ประเทศไทยและทั่วโลกมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ผู้ป่วยโรคมะเร็งจำเป็นที่จะต้องดูแลสุขภาพตัวเองเพื่อรับมือกับสถานการณ์ในระยะที่ยังคงมีการแพร่ระบาดอยู่ มีผู้ป่วยมะเร็งหลายคนสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไปหรือไม่ รวมถึงหากได้รับเชื้อ COVID-19 แนวทางการรักษาและการให้ยานั้นเหมือนหรือต่างจากผู้ป่วยทั่วไปที่ได้รับเชื้ออย่างไร เพราะฉะนั้นการรู้วิธีรับมืออย่างถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย 10 วิธีดังต่อไปนี้ผู้ป่วยมะเร็งควรรู้เพื่อดูแลตัวเองในช่วง COVID-19 ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการรักษาหรือให้เคมีบำบัด ควรไปพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทุกครั้งที่ออกจากบ้านต้องสวมหน้ากากอนามัยและพกเจลแอลกอฮอล์ติดตัวไว้ตลอดเวลา เลือกหน้ากากอนามัยคุณภาพดีได้มาตรฐาน ถ้าเป็นหน้ากากผ้าต้องเป็นผ้าที่สามารถป้องกันละอองฝอยในอากาศได้ ไม่ควรอยู่ในสถานที่แออัดโดยไม่จำเป็นและต้องรักษาระยะห่าง (Social Distancing) กับคนรอบข้าง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบ 5 หมู่ โดยเน้นโปรตีนเป็นหลัก ออกกำลังกายแบบพอเหมาะที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน ในกรณีที่ผู้ป่วยมะเร็งมีโรคประจำตัวเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน อ้วน หัวใจ ตับ ไตเรื้อรัง ปอดและทางเดินหายใจ และภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงหากติดเชื้อ COVID-19 อาจร้ายแรงและอันตรายถึงชีวิตได้ แพทย์จะพิจารณาและให้ยาเฉพาะโรคเป็นรายบุคคลไป ผู้ป่วยมะเร็งปอดต้องใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเองเป็นพิเศษ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้ปอดและร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายตามความเหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ออกจากบ้านถ้าไม่จำเป็น เว้นแต่แพทย์นัดการติดตามอาการ ใส่หน้ากากอนามัย พกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และหมั่นรักษาความสะอาดอยู่เสมอ Stay Home Stay Healthy อยู่บ้านพร้อมกับสุขภาพกายใจที่แข็งแรง หากิจกรรมทำ ไม่ว่าจะเป็นออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ฟังเพลง ทำงานบ้าน งานอดิเรกที่ชอบ เป็นต้น เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย ที่สำคัญรักษาจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด ภูมิคุ้มกันจะได้ไม่ตก สร้างพลังบวกให้มีกำลังใจใช้ชีวิตในทุก ๆ วัน เลือกรับข่าวสารในช่องทางที่น่าเชื่อถือ นำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่ตื่นตระหนกและปฏิบัติตัวได้ถูกวิธีในทุกสถานการณ์ ช่วง COVID-19 ผู้ป่วยมะเร็งควรดูแลสุขภาพของตัวเองให้มากขึ้นเป็นพิเศษ หากมีข้อสงสัยควรขอคำแนะนำจากแพทย์เฉพาะทางด้านโรคมะเร็งเพื่อจะได้ดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสมในชีวิตประจำวัน และผ่านพ้นสถานการณ์ COVID-19 ไปด้วยกัน ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ บทความโดย พญ.พจนา จิตตวัฒนรัตน์

รักษามะเร็งตับด้วยเทคนิค TACE

รักษามะเร็งตับด้วยเทคนิค TACE

โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรีมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านการรักษามะเร็งตับ ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยที่ไม่ต้องผ่าตัดผ่านเทคนิค TACE (Trans Arterial Chemo Embolization) ซึ่งเป็นวิธีการส่งยาเคมีบำบัดโดยตรงผ่านหลอดเลือดแดงไปยังก้อนมะเร็งตับ พร้อมอุดกั้นหลอดเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงก้อนเนื้อ เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของมะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพ วิธีนี้ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่แม่นยำ ลดภาวะแทรกซ้อน และฟื้นตัวได้เร็ว สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติในระยะเวลาอันสั้น ความพร้อมและศักยภาพของโรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี ในการใช้เทคโนโลยีทางรังสีร่วมรักษา (Interventional Radiology: IR) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการรักษา ที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วย ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านรังสีร่วมรักษาและอนุสาขา Sub-Board of Vascular and Interventional Radiology โรงพยาบาลพร้อมด้วยเครื่องมือวินิจฉัยและรักษาที่ทันสมัยที่สุด อาทิ: • เอกซเรย์ (X-ray) • คลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรีมุ่งเน้นการรักษาอย่างแม่นยำ รวดเร็ว และปลอดภัย ช่วยลดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ด้วยการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาช่วยในทุกขั้นตอน พร้อมด้วยทีมแพทย์และบุคลากรที่ใส่ใจในทุกความต้องการของผู้ป่วย เราพร้อมให้การดูแลด้วยมาตรฐานระดับสูงสุด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว Call Center: 039-319-888 ฉุกเฉินโทร: 1719

ภูมิคุ้มกันบำบัด เพื่อรักษาผู้ป่วยมะเร็ง

ภูมิคุ้มกันบำบัด เพื่อรักษาผู้ป่วยมะเร็ง

ภูมิคุ้มกันบำบัด เพื่อรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งพัฒนาไปมากเพื่อคืนคุณภาพชีวิตที่ดีให้ผู้ป่วยมะเร็ง หนึ่งในนั้นคือการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) ซึ่งเป็นการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเอง ช่วยกำจัดและควบคุมเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำไมถึงเป็นมะเร็ง โดยทั่วไปแล้วคนเราทุกคนสามารถมีเซลล์ที่ผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกายได้ แต่ภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถตรวจพบและกำจัดเซลล์ดังกล่าวได้ก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง แต่ในบางครั้งหากร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอหรือเซลล์ที่ผิดปกติบางชนิดมีความสามารถที่จะหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันก็ส่งผลให้เกิดเป็นมะเร็งขึ้นได้ ภูมิคุ้มกันบำบัดรักษามะเร็ง ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) คือ การใช้ภูมิคุ้มกันต่อสู้กับเซลล์มะเร็งผ่านกระบวนการหรือยาที่เข้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้กำจัดเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งมีโอกาสตอบสนองต่อการรักษามะเร็งในระยะยาวและผลข้างเคียงน้อยกว่ายาเคมีบำบัด การพัฒนาการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดมีหลายวิธี เช่น ภูมิคุ้มกันบำบัดรักษาโดยใช้ที – เซลล์บำบัด (T Cell Therapy) การใช้วัคซีนโรคมะเร็ง แต่หนึ่งในวิธีที่มีการใช้อย่างแพร่หลายคือ การกระตุ้นให้ภูมิของร่างกายสามารถตรวจจับและทำลายเซลล์มะเร็ง ซึ่งเรียกยาในกลุ่มนี้ว่า Immune Check Point Inhibitor จุดเด่น Immune Check Point Inhibitor การรักษาด้วย Immune Check Point Inhibitor พบว่ามีจุดเด่นคือ ในบางระยะสามารถทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายขาดมากขึ้น หรือในผู้ป่วยระยะกระจายสามารถควบคุมให้โรคสงบได้นานมาก นอกจากนี้หากพิจารณาในส่วนของผลข้างเคียงพบว่าการรักษาด้วย Immune Check Point Inhibitor มีผลข้างเคียงที่น้อยกว่าการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ข้อจำกัด Immune Check Point Inhibitor แม้การรักษาด้วย Immune Check Point Inhibitor จะเป็นความหวังของผู้ป่วยมะเร็ง แต่มีข้อจำกัดคือ ไม่สามารถใช้รักษามะเร็งทุกชนิดได้ ในมะเร็งบางชนิดจำเป็นต้องมีการตรวจทางชีวภาพของเซลล์เนื้อเยื่อมะเร็งก่อนเพื่อดูว่ามีโอกาสตอบสนองต่อการรักษาแบบนี้หรือไม่ ผลข้างเคียงเมื่อรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดมีโอกาสที่จะมีอาการไม่พึงประสงค์ เช่น ผื่นคัน ท้องเสีย การทำงานของต่อมไร้ท่อ เช่น ไทรอยด์ผิดปกติ ต่อมหมวกไตผิดปกติ เป็นต้น แม้ภูมิคุ้มกันบำบัดจะเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยรักษาผู้ป่วยมะเร็งและเพิ่มโอกาสในการหายขาด แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เฉพาะทางอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ

สัญญาณเตือนโรคมะเร็ง

สัญญาณเตือนโรคมะเร็ง