ไวรัสตับอักเสบบี

บทความที่เกี่ยวข้อง

อหิวาต์ (Cholera)

อหิวาต์ (Cholera)

อหิวาต์ (Cholera) อหิวาต์ หรืออหิวาตกโรค เป็นโรคท้องเสียที่มีอาการรุนแรง และระบาดได้รวดเร็ว ในอดีตเคยมีการระบาดของโรคนี้จนมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จึงถูกเรียกว่า “โรคห่า” ในปัจจุบันความรุนแรงของโรคลดลง ระบาดน้อยลง โรคนี้มักพบในช่วงฤดูร้อน และพบในชุมชนที่การสุขาภิบาลยังไม่ดี สาเหตุ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเชื้อมีอยู่ 2 ชนิด ดังนี้ เชื้อชนิดร้ายแรง ได้แก่ วิบริโอ คอเลอรา (Vibrio cholerae) เชื้อชนิดอ่อน ได้แก่ เอลทอร์ (EL Tor) โดยเชื้ออหิวาต์เหล่านี้จะปล่อยสารพิษ (Toxin) ทำให้เกิดอาการท้องร่วง ซึ่งเชื้อมีระยะฟักตัว 1-5 วัน (เฉลี่ยประมาณ 1-2 วัน) อาการ เกิดขึ้นทันทีทันใดด้วยอาการท้องเสียถ่ายเหลวอย่างรุนแรง อุจจาระมักจะไหลพุ่งโดยไม่มีอาการปวดท้อง และมีอาเจียนโดยที่ไม่มีอาการคลื่นไส้นำมาก่อน อุจจาระเหมือนน้ำซาวข้าว ในรายที่เป็นรุนแรง จะมีอาการขาดน้ำรุนแรง และช็อกอย่างรวดเร็ว อาจจะมีเสียงแหบแห้ง เป็นตะคริว ตัวเย็น เหงื่อออก ปัสสาวะออกน้อย ชีพจรเต้นเร็ว ความดันต่ำ ไม่มีไข้ หากรักษาไม่ทันผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้ในเวลาสั้น ๆ ในรายที่เกิดจากเชื้ออหิวาต์อย่างอ่อน หรือเชื้อเอลทอร์ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลวบ่อยครั้งคล้ายโรคท้องเสีย มักจะหายใน 1-5 วัน การรักษา หากอาการท้องเสียรุนแรง ซึ่งชวนสงสัยว่าเป็นอหิวาต์ แพทย์จะพิจารณาเก็บอุจจาระส่งเพาะเชื้อ ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ(ให้น้ำเกลือ) รับประทานยาฆ่าเชื้อตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เมื่อรักษาได้ทันการณ์ มักจะหายขาดภายในไม่กี่วัน โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนแต่อย่างใด อันตรายมักจะเกิดกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาช้าเกินการณ์คือ ปล่อยให้มีภาวะขาดน้ำรุนแรง การป้องกัน รับประทานอาหารปรุงสุก สะอาด ไม่มีแมลงวันตอม ดื่มน้ำสะอาด สำหรับผู้ป่วยโรคนี้ ควรนำอาเจียนและอุจจาระของผู้ป่วยไปเทใส่ส้วมหรือฝังดินให้มิดชิด ห้ามเทตามพื้นหรือลงแม่น้ำลำคลอง ส่วนเสื้อผ้าของผู้ป่วยที่แปดเปื้อนเชื้อควรนำไปฝังหรือเผาเสีย ห้ามนำไปซักในแม่น้ำลำคลอง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นในชุมชน อาจมีการเก็บอุจจาระของคนที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยส่งตรวจหาเชื้อ หากมีการติดเชื้อจะได้ทำการรักษาทันท่วงที ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

3 ปัจจัยกระตุ้น “มะเร็งลำไส้ใหญ่” ในคนรุ่นใหม่

3 ปัจจัยกระตุ้น “มะเร็งลำไส้ใหญ่” ในคนรุ่นใหม่

3 ปัจจัยกระตุ้น “มะเร็งลำไส้ใหญ่” ในคนรุ่นใหม่ ยิ่งตามใจปากยิ่งเสี่ยง มะเร็งลำไส้ มะเร็งชนิดที่คนรุ่นใหม่เป็นเยอะขึ้นและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ มีสถิติคร่าชีวิตคนไทยปีละกว่า 3,000 คน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 2.4 เท่าในอนาคตอันใกล้ ถึงแม้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงแต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์และวิถีชีวิตการกินที่เร่งรีบ โดยมีอาหารเป็นตัวกระตุ้น เช่น การทานอาหารจานด่วน เน้นกินเนื้อแดง อาหารแปรรูป กินอาหารปิ้งย่าง ไม่กินผัก-ผลไม้ อาหารที่มีกากใย ทุกอย่างล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ได้ทั้งสิ้น 3 ปัจจัยทำคนรุ่นใหม่เสี่ยงมะเร็งลำไส้มากขึ้น กินอาหารปิ้งย่าง-แปรรูป เชื่อว่าหลายคนคงทราบดีอยู่แล้วว่า การทานอาหารปิ้งย่าง หรืออาหารแปรรูปมากเกินไป เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง เพราะเมื่อย่างเนื้อสัตว์จนไหม้เกรียมหรือมีรอยดำจะทำให้เกิดสารก่อมะเร็งติดมากับอาหาร หากกินบ่อยๆ จะสะสมในร่างกายและเป็นมะเร็งได้ โดยเนื้อแดง-เนื้อแปรรูป มีไขมันเยอะ ย่อยยาก ทำให้อุจจาระค้างในลำไส้ เมื่อผ่านการแปรรูปและปิ้งย่าง ก็ยิ่งเพิ่มสารก่อมะเร็ง โดยการกินเนื้อแดง 1 ขีดต่อวัน เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ 17% ส่วนเนื้อแปรรูปแค่ครึ่งขีดต่อวัน ก็เพิ่มความเสี่ยงถึง 18% โรคลำไส้อักเสบ (Inflammatory Bowel Disease: IBD) โรคลำไส้อักเสบอาจมาจากพันธุกรรม ภูมิต้านทานผิดปกติ หรือพฤติกรรมการกินอาการ คือ ถ่ายวันละหลายรอบ ปวดเกร็งช่องท้อง ท้องเสีย ถ่ายเป็นมูกหรือเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบ มีแผล และมีเลือดออกในลำไส้รวมถึงอาจมีการติดเชื้อซ้ำเติม ภาวะโลหิตจาง หรือลำไส้ตีบตันเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ 2-20 เท่า พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior) ขาดการเคลื่อนไหว หรือมีกิจกรรมทางกายไม่ถึง 150 นาทีต่อสัปดาห์ ซึ่งจะทำให้ร่างกายเผาผลาญน้อยลง น้ำตาลและไขมันในเลือดสูงเสี่ยงเป็น “โรคอ้วน” ซึ่งเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้มากกว่าคนปกติ 30-70% นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น เช่น สูบบุหรี่จัด และต่อเนื่องยาวนาน ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประจำกรรมพันธุ์คนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ มะเร็งในส่วนอื่นๆ ลุกลามมา อาการเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ ในระยะแรกจะยังไม่แสดงออกการมากนัก และอาการเริ่มแรกจะคล้ายกับโรคอื่นๆ เช่น น้ำหนักลด ท้องเสีย ท้องผูก ขับถ่ายผิดปกติ มีเลือดออกทางทวาร หรืออุจจาระมีลักษณะเปลี่ยนไป อุจจาระมีเลือดปน มีสีคล้ำ หรือกลิ่นเหม็นผิดปกติ หากมีการปวดท้องร่วมด้วย ลักษณะการปวดขึ้นอยู่กับก้อนมะเร็งและตำแหน่งที่พบ เช่น ปวดบริเวณชายโครงด้านขวา หรือปวดบิดอย่างรุนแรง เป็นต้น ตรวจไว รู้ไว มะเร็งลำไส้รักษาได้ ในเบื้องต้น การตรวจวินิจฉัยมะเร็งลำไส้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การส่องกล้องตรวจลำไส้ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการตรวจอุจจาระ เป็นต้น โดยวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ การส่องกล้อง เพราะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงและให้ความแม่นยำได้ดี ทำให้แพทย์ทั่วโลกเลือกใช้วิธีนี้ การส่องกล้องยังสะดวกสบายกับตัวผู้ป่วย เพราะไม่ต้องตรวจบ่อยๆ ในกรณีที่ไม่พบความผิดปกติ สามารถตรวจในระยะ 5-10 ปีได้ และหากพบก้อนเนื้อ ก็สามารถเก็บชิ้นเนื้อได้ทันที โรคมะเร็งสำไส้ หากตรวจพบเร็ว โอกาสรักษาหายจะสูงมาก ดังนั้นเมื่อพบความผิดปกติหรือมีอาการน่าสงสัย ควรรีบพบแพทย์ ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

ลำไส้อักเสบ ไม่รักษาเสี่ยงมะเร็งลำไส้

ลำไส้อักเสบ ไม่รักษาเสี่ยงมะเร็งลำไส้

หนึ่งในปัจจัยการก่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ กว่า 20 เท่าคือ “โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง” ที่ส่วนมากผู้ป่วยมักไม่จริงจังกับการรักษาและปล่อยให้หายเองเนื่องจากอาการไม่รุนแรงกว่าจะรู้ตัวว่าเป็นมะเร็งแล้วก็สายเกินแก้ เช็ก 8 สัญญาณและอาการเรื้อรังก่อนลุกลามเป็นมะเร็งลำไส้ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease-IBD) เป็นกลุ่มโรคของการอักเสบในระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้เกิดแผลและมีเลือดออกบริเวณระบบทางเดินอาหาร รวมถึงทำให้ลำไส้บีบตัวเร็วขึ้น ผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้อง ท้องร่วงอย่างรุนแรง อ่อนเพลีย และน้ำหนักลด แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ จะจำกัดอยู่เพียงบริเวณลำไส้ใหญ่ มักเกิดกับผู้ที่มีอายุ 15-35 ปี โรคโครห์น อาจเกิดขึ้นกับระบบทางเดินอาหารส่วนใดก็ได้ ตั้งแต่ปากไปจนถึงทวารหนัก ปกติมักเกิดที่ลำไส้เล็กส่วนปลายและลำไส้ใหญ่ส่วนต้น มักพบในผู้ที่มีอายุระหว่าง 20 – 30 ปี สาเหตุของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แพทย์และผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าอาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายผิดปกติ มีการสร้างเม็ดเลือดขาวในเยื่อบุทางเดินอาหารมากเกินไป ส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและนำไปสู่การอุดตันของลำไส้ ขณะที่พันธุกรรมก็อาจเป็นอีกสาเหตุสำคัญเพิ่มมากขึ้นกว่าคนปกติถึง 20%ซึ่งโรคโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง มักมีแนวโน้มจะเกิดในชาวตะวันตกมากกว่าชาวตะวันออก แต่ปัจจุบันคนไทยและชาวเอเชียมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป มีการรับประทานอาหารแบบตะวันตกมากขึ้น จึงพบการเกิดโรคมากขึ้น อาการของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ปวดเกร็งช่องท้อง ท้องเสีย มีตั้งแต่ถ่ายเพียงไม่กี่ครั้งไปจนถึงถ่ายบ่อยมากตลอดทั้งวัน ส่วนใหญ่มีมูกเลือดปะปน เป็นไข้ คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย น้ำหนักลด โลหิตจาง อาจพบอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดตามข้อต่อ การมองเห็นผิดปกติ หรือมีแผลในปาก โดยอาการเหล่านี้มักเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรังเป็นปีและกลับมาเป็นซ้ำอีก โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังปล่อยไว้อาจกลายเป็นมะเร็งลำไส้ได้ ? เป็นเรื่องจริง เพราะ ลำไส้อักเสบอาจมีอาการไม่รุนแรง มักเป็นๆ หายๆ จนผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ใส่ใจ และปล่อยทิ้งไว้โดยไม่พบแพทย์ หากเกิดภาวะอักเสบต่อเนื่องและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เนื่องจากสูญเสียเกลือแร่ สารอาหาร และเลือดออกไปกับอุจจาระจำนวนมาก รวมถึงส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจางและอาการแทรกซ้อนอื่นๆ จนมีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ในที่สุดซึ่งเพิ่มมากกว่าคนปกติถึง 2-20 เท่า การวินิจฉัยโรคลำไส้อักเสบ เนื่องจากโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังมีอาการคล้ายโรคทางเดินอาหารอื่นๆ การวินิจฉัยที่ชัดเจนจำเป็นต้องมีการส่งตรวจเพิ่มเติม เพื่อช่วยในการแยกวินิจฉัยโรค ดังนี้การตรวจร่างกาย โดยเน้นการตรวจบริเวณช่องท้องและทวารหนักส่งตรวจตัวอย่างเลือดและอุจจาระตรวจนับเม็ดเลือด เพื่อช่วยให้ทราบว่าผู้ป่วยสูญเสียเลือดระหว่างการขับถ่าย หรือมีภาวะโลหิตจางเอกซเรย์ลำไส้เล็ก หลังจากดื่มแบเรียม ซึ่งเป็นสารละลายที่ช่วยให้มองเห็นความผิดปกติในลำไส้เล็ก การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) การรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ดูแลอาหารและโภชนาการ ยังไม่พบว่าอาหารชนิดใดที่สามารถรักษาหรือมีผลทำให้โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังแย่ลง แต่การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้ในช่วงที่มีอาการ แนะนำให้รับประทานอาหารปริมาณน้อยตลอดทั้งวัน ดื่มน้ำให้พอเพียง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง งดดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน รับประทานยา เพื่อให้เยื่อบุลำไส้คืนสู่สภาพปกติ ผู้ป่วยควรรับประทานยาสม่ำเสมอและพบแพทย์ตามนัด เพื่อควบคุมอาการไม่ให้กลับเป็นซ้ำ ผ่าตัด กรณีที่ใช้ยารักษาแล้วแต่ไม่สามารถควบคุมอาการได้ หรือผู้ป่วยที่มีเลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด ส่วนใหญ่ในผู้ป่วยลำไส้อักเสบสามารถรักษาหายขาด แต่ไม่แนะนำในผู้ป่วยโรคโครห์น เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทั้งในลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยเรื้อรังที่เกิดพังผืดในลำไส้ จนเกิดภาวะลำไส้ตีบ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะขาดอาหาร แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเป็นกรณีพิเศษ ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

พันธุกรรม กับ “มะเร็งลำไส้ใหญ่”

พันธุกรรม กับ “มะเร็งลำไส้ใหญ่”

นอกจากพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตที่ผิด พันธุกรรมก็เป็นหนึ่งปัจจัยการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นเหตุผลที่คนอายุน้อยต้องตรวจคัดกรองเพื่อเฝ้าระวังโรคมะเร็งร้าย! รู้จักขั้นตอนการตรวจส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) มะเร็งลำไส้ใหญ่ แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่มีบางปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ นั่นคือพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิ การหันมารับประทานอาหารแบบตะวันตกมากขึ้น เช่น เบเกอรี่ สเต็ก อาหารประเภทให้ความหวานมากๆ และรับประทานผัก ผลไม้น้อย อีกทั้งสภาวะแวดล้อมที่หลายๆ คนต้องเผชิญ เช่น ความรีบเร่งจากการทำงาน ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ อีกปัจจัยอีกหนึ่ง คือ พันธุกรรมที่มีการถ่ายทอดโดยยีน มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคมะเร็งที่สามารถป้องกันได้ และการตรวจคัดกรองเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และสามารถแยกเนื้องอกที่กำลังจะกลายเป็นมะเร็งได้ แนะนำให้เริ่มตรวจคัดกรองทั้งผู้ชายและผู้หญิงเมื่ออายุ 50 ปี การตรวจหาเลือดในอุจจาระ (fecal occult blood test: FOBT) สามารถตรวจได้ว่ามีเนื้องอกหรือเป็นมะเร็งหรือไม่ การตรวจด้วยวิธีนี้เป็นประจำทุกปีจะช่วยลดการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ การตรวจส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เป็นการตรวจคัดกรองแบบมาตรฐานสากล โดยเกณฑ์ของสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหาร ประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดไว้ เพศชายและหญิงอายุ 50 ปี ทุกคนต้องตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง แต่หากมีพ่อ แม่ ญาติสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ให้ใช้หลักโดยการนำอายุขณะที่ญาติเป็น ลบด้วย 10 เช่น แม่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่ออายุ 50-10 = 40 ปี ดังนั้นลูกต้องเข้ารับการส่องกล้องตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่ออายุ 40 ปี เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นและแนะนำตรวจ ทุก 5 ถึง 10 ปี การใช้สารทึบแสงเรียมร่วมกับการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซเรย์ CT scan (double contrast barium enema: DCBE) จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทนการตรวจด้วยวิธีส่องกล้องได้ วิธีการตรวจส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) จะช่วยให้เห็นภาพภายในลำไส้ใหญ่ทั้งหมดและสามารถเก็บชิ้นเนื้อที่สงสัยส่งตรวจ โดยให้ข้อมูลที่มีความแม่นยำ วิธีการคือแพทย์จะใช้กล้องพิเศษที่มีลักษณะเป็นท่อยาวเล็กๆ สอดผ่านทวารหนักเพื่อผ่านเข้าไปในลำไส้ใหญ่ ทำให้แพทย์สามารถเห็นรายละเอียดต่างๆ ตลอดทั้งลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กส่วนปลายได้ อีกทั้งแพทย์สามารถตัดชิ้นเนื้อนั้นออกมาตรวจได้โดยตรง สิ่งที่ตรวจพบได้จากการส่องกล้อง ริดสีดวงทวาร ลำไส้อักเสบ ติ่งเนื้อ เป็นเซลล์เนื้อที่ผิดปกติงอกจากผนังลำไส้ ซึ่งจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุ จะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อเยื่อที่มีความผิดปกติร้ายแรงมากขึ้น ถ้าทิ้งไว้นานขึ้น แต่หากตรวจพบแต่เนิ่นๆ และกำจัดออกได้ก่อนก็จะหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นเนื้อร้ายได้ ถุงโป่งจากลำไส้ใหญ่ (Diverticulum) เนื้องอก ใครบ้างที่ควรส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มีอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหารหรือมีอาการดังที่กล่าวไว้ข้างต้น อายุ 15-20 ปีขึ้นไป โดยมีประวัติญาติเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือไส้ตรง 3 คนขึ้นไป อายุ 40 ปีขึ้นไป โดยมีประวัติญาติสายตรงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือไส้ตรง 1 คนขึ้นไป อายุ 50 ปีขึ้นไป โดยไม่มีปัจจัยเสี่ยงและไม่มีอาการผิดปกติ 6 ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย ในช่วง 3 วันก่อนตรวจ งดรับประทานผัก ผลไม้ และอาหารที่มีเส้นใย รับประทานยาระบายให้ตรงตามจำนวน และเวลา ตามที่แพทย์สั่ง ควรดื่มน้ำ 1 แก้ว ทุกครั้งที่ถ่ายอุจจาระ คืนก่อนวันตรวจ งดอาหาร และน้ำดื่ม จนกว่าจะทำการตรวจ ควรมีญาติมาด้วย ในบางรายแพทย์อาจให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ เพื่อลดความรู้สึกตึงแน่นในท้องจากการเป่าลมเข้าไปเพื่อให้ลำไส้ขยายตัวออกเหมือนลูกโป่งที่พองตัว เพื่อให้แพทย์ได้เห็นความผิดปกติภายในได้อย่างละเอียด ใช้ระยะเวลาในการทำโดยเฉลี่ย 15 - 30 นาที ภายหลังการตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจเกิดอาการ แน่น อึดอัดท้อง จะทุเลาลง เมื่อได้ผายลม เจ็บบริเวณท้องน้อย หรือทวารหนัก อาการเหล่านี้จะค่อยๆ ทุเลาลงและหายไป ในช่วงระยะ 2-3 ชั่วโมงแรกหลังการส่องกล้อง ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถรับประทานอาหาร กลับบ้าน หรือปฏิบัติภารกิจได้ตามปกติ ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

“มะเร็งลำไส้” ทำไมชายวัย 50+ ควรคัดกรอง

“มะเร็งลำไส้” ทำไมชายวัย 50+ ควรคัดกรอง

“มะเร็งลำไส้” ชายวัย 50+ ควรคัดกรอง-ปัจจัยอะไรทำให้ยิ่งเสี่ยงมากขึ้น เพราะผู้ชายตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนที่อายุน้อย จึงไม่ควรมองข้ามการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer) ภัยร้ายที่มาจากพฤติกรรม มะเร็งลำไส้ คือ ก้อนเนื้องอกที่เกิดขึ้นบริเวณลำไส้ใหญ่ มักเกิดขึ้นจากติ่งเนื้อที่อยู่ที่ลำไส้ใหญ่มาก่อนสักระยะหนึ่ง ซึ่งหากติ่งเนื้อนั้นมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์จนโตขึ้นก็อาจจะกลายเป็นมะเร็งได้ในที่สุด เพราะสาเหตุสำคัญของโรคนี้ มักสืบเนื่องมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ผิด ๆ อาทิ การเลือกกินอาหารที่ปิ้งย่างที่มักมีสารก่อมะเร็ง การกินอาหารแปรรูปบางอย่างมากเกินไป การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ การขาดการออกกำลังกาย มีความเครียดสูง และเมื่อมีปัญหาระบบขับถ่ายแต่ไม่ยอมไปพบแพทย์เพื่อรักษา นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ อาทิ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป โดยเฉพาะเพศชายเนื่องจาก เป็นช่วงวัยที่ระบบทางเดินอาหารและระบบย่อยอาหารเริ่มเสื่อมประสิทธิภาพลง กว่าที่อาหารที่เข้าไปจะผ่านระบบย่อย และเดินทางมาถึงทวารหนักก็ต้องใช้เวลามากกว่าคนในวัยอื่นๆ พันธุกรรม การเลือกทานอาหารประเภทไขมันสูง ไม่มีใยอาหาร หรือทานผักผลไม้น้อย การสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น สุรา เป็นประจำ การไม่ออกกำลังกาย และมีภาวะโรคอ้วน พฤติกรรมการขับถ่ายและอาการผิดปกติที่ไม่ควรปล่อยผ่าน ขับถ่ายบ่อยครั้งขึ้น หรือท้องผูกมากขึ้น ขับถ่ายไม่สุด หรือปวดเบ่ง ท้องเสียสลับกับท้องผูก มีเลือดสดๆ หรือเลือดแดงคลํ้าปนออกมากับอุจจาระ อุจจาระมีลักษณะก้อนเปลี่ยนเป็นเส้นลีบแบน มีท้องอืด ปวดท้อง แน่นท้อง จุกเสียด มีลมในลำไส้มาก นํ้าหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ เหนื่อย อ่อนเพลียง่าย จนกระทบต่อการใช้ชีวิต ปัจจุบันการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีหลายวิธี โดยวิธีที่ง่าย รวดเร็ว และประหยัดที่สุด คือ “การตรวจเลือดที่มองไม่เห็นในอุจจาระ” หรือที่เรียกว่า “Fecal Occult Blood Test” ซึ่งสามารถทำได้โดย การเก็บตัวอย่างของอุจจาระไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ หากเป็นผลบวก แสดงว่าอาจมีเลือดปนอยู่ในอุจจาระ ซึ่งควรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไป การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถทำได้ร่วมกับเทคนิคการถ่ายภาพทางรังสีวิทยา เช่น การสวนแป้ง และการถ่ายภาพลำไส้ใหญ่ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Visual Colonoscopy) อย่างไรก็ตามวิธีการตรวจคัดกรองที่เป็นที่ยอมรับที่สุดในปัจจุบัน คือ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เนื่องจากการตรวจด้วยวิธีนี้นอกจากจะให้ข้อมูลที่มีความแม่นยำที่สุดแล้ว ยังสามารถทำการรักษาในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติในลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย กระบวนการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งลำไส้ใหญ่รักษาได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับขนาด จำนวนก้อนมะเร็ง และระยะของโรค รวมถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย เช่น การผ่าตัด การให้เคมีบำบัด (Chemotherapy) การฉายรังสี (radiotherapy) ซึ่งการผ่าตัดร่วมกับเคมีบำบัด เป็นวิธีการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่สำคัญที่สุด ส่วนการฉายแสงหรือการฉายรังสี มักจะรักษากับคนไข้ที่เป็นก้อนมะเร็งที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถที่จะผ่าตัดได้ ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยให้ได้สัปดาห์ละ 150 นาทีขึ้นไป เลือกทานอาหารที่มีกากใยสูงเพื่อช่วยในขับถ่าย ดื่มน้ำให้มาก และอย่าให้ท้องผูกเรื้อรัง เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หรือทานอาหารมากเกินไป งดการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ไม่ใช่แค่วัย 50+ ขึ้นที่ต้องใส่ใจเรื่องดังกล่าว หากอายุน้อยแต่มีพฤติกรรมเสี่ยงและมีอาการต้องสงสัยควรเข้ารับการคัดกรองด้วย เพราะหากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน เซลล์มะเร็งอาจลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย โอกาสในการรักษาหายก็จะลดน้อยลง ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

ไขมันพอกตับ

ไขมันพอกตับ

ไขมันพอกตับ จุดเริ่มต้นมะเร็งตับ-ตับแข็ง 8 สัญญาณ “ไขมันพอกตับ”ภัยพฤติกรรมเลี่ยงละเลยอาจพ่วงมะเร็งตับ-ตับแข็ง รู้หรือไม่? คนรุ่นใหม่ป่วยเป็น ไขมันพอกตับ โดยไม่รู้ตัวเพราะไลฟ์สไตล์ที่ง่ายๆ สะดวก รวดเร็ว และสังสรรค์บ่อย และหลายคนมองข้ามภาวะดังกล่าว เพราะคิดว่าที่ไม่อันตรายและปล่อยปะละเลย และบางทีอาจจะไม่รู้ตัวว่ากำลังประสบอยู่ ซึ่งหากปล่อยลุกลาม อาจต้องเผชิญกับโรคตับแข็งและมะเร็งตับในที่สุด ตับเป็นอวัยวะสำคัญ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในร่างกาย มีหน้าที่ทำลายสารพิษต่างๆ ที่เป็นอันตรายจากเลือด รวมถึงเป็นที่สำหรับกักเก็บพลังงานในรูปแบบของไขมันเพื่อใช้สร้างเป็นแหล่งพลังงาน แต่หากกินอาหารที่ให้พลังงานสูง หรือไขมันสูงมากจนเกินไป โดยไม่มีการใช้พลังงานออกไปอย่างเหมาะสม รวมไปถึงการดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้เกิดการสะสมไขมันในตับจำนวนมากกว่า 5-10% ของน้ำหนักตับ ถือว่าเริ่มมีภาวะไขมันพอกตับ(Fatty liver) ส่งผลให้เซลล์ตับเกิดการอักเสบ เมื่อเป็นเรื้อรังจะมีการสร้างพังผืดมากขึ้น จนกลายเป็นโรคตับแข็ง และเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับซึ่ง ผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันพอกตับจำนวนมากมักไม่แสดงอาการใดๆ จนกว่าตับจะถูกทำลายอย่างรุนแรง เช่น เมื่อมีภาวะตับแข็งในระยะแรก จะเริ่มแสดงอาการ เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ขาบวม ตัวตาเหลือง หรือจุกแน่นบริเวณท้องด้านขวาบน ควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย สาเหตุของการเกิดภาวะไขมันพอกตับ ภาวะไขมันพอกตับจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcohol-related Fatty Liver Disease) มีสาเหตุหลักจากการดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันในปริมาณมาก จนตับไม่สามารถทำงานได้ปกติ และเกิดการสะสมของไขมันที่ตับในที่สุด ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Non-alcoholic Fatty Liver Disease : NAFLD) หรือในปัจจุบันมีผู้พยายามเปลี่ยนชื่อเป็น Metabolic-associated Fatty Liver disease (MAFLD) เพื่อให้สอดคล้องกับกลไกการเกิดโรคมากขึ้น เป็นที่ชัดเจนว่าเกิดจากภาวะระบบการเผาผลาญผิดปกติ สัมพันธ์กับภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin resistance) เช่น โรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome), โรคเบาหวานชนิดที่ 2, โรคไขมันในเลือดสูง และโรคความดันโลหิตสูง จากข้อมูลในปัจจุบัน พบว่า ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง และโรคตับแข็ง ที่ได้รับการวินิจฉัยใหม่ มีสาเหตุมาจากภาวะนี้ถึงหนึ่งในสามของผู้ป่วยทั้งหมด อาการของไขมันพอกตับ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ มึนงง ผิวและตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม อ่อนเพลีย ไม่มีแรง รู้สึกเหนื่อย น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ขาบวม หรือมีน้ำในช่องท้อง ไม่สบายท้องหรือปวดบริเวณท้องด้านขวาบน ผิวหนังคัน ช้ำ หรือเลือดออก เนื่องจากภาวะไขมันพอกตับ มีสาเหตุจากการเผาผลาญพลังงานที่ไม่เหมาะสม มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบเมตาบอลิซึม จึงมักพบร่วมกับโรคต่างๆ ดังนี้ โรคเบาหวาน ทั้งชนิดที่ 2 และชนิดที่ 1 โรคอ้วนลงพุง ไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ การวินิจฉัยภาวะไขมันพอกตับ หากแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะไขมันพอกตับ หรือเป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย หาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ รวมถึงประวัติครอบครัว ประวัติการใช้ยาต่างๆ การดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้อาจส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมอาทิ การเจาะ การตรวจอัลตร้าซาวด์ตับ การตรวจวัดความยืดหยุ่นของตับ (Liver stiffness) ด้วยวิธีตรวจไฟโบรสแกน (FibroScan®) เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI scan) สามารถตรวจพบไขมันสะสมในตับได้ ตั้งแต่ 5-10% แต่ส่วนมากใช้เมื่อสงสัยว่าจะมีก้อนผิดปกติในตับมากกว่า แนวทางการรักษาภาวะไขมันพอกตับ ปัจจุบันยังไม่มียาสำหรับรักษาภาวะไขมันพอกตับโดยตรง การรักษาภาวะไขมันพอกตับยังมุ่งเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และดูแลสุขภาพในองค์รวม ดังนี้ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง ลดอาหารจำพวกแป้ง และคาร์โบไฮเดรต เพิ่มโปรตีนที่มีคุณภาพ และผักต่างๆ ให้มากขึ้น ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยครั้งละ 45 นาที 3-4 ครั้งขึ้นไปต่อสัปดาห์ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ ลดการดื่มแอลกอฮอล์ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยปริมาณแอลกอฮอล์ที่พอรับได้ สำหรับผู้ชาย คือไม่เกิน 2-3 แก้ว/วัน และ 1-2 แก้วต่อวัน สำหรับผู้หญิง ใช้ยาเท่าที่จำเป็น หลีกเลี่ยงการกินยาสมุนไพร หรือยาที่ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ลดหรือเลิกสูบบุหรี่ การป้องกันภาวะไขมันพอกตับ ไขมันพอกตับเป็นภาวะที่สามารถป้องกันเบื้องต้นได้ หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และมีการดูแลสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างหลากหลายและออกกำลังกายสม่ำเสมอ สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวควรพบแพทย์ตามนัด รับประทานยา และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์นอกจากนี้การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบหลายชนิดสามารถทำลายตับได้เช่นกัน เพื่อปกป้องสุขภาพตับ แพทย์อาจแนะนำให้รับวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเอ และไวรัสตับอักเสบบี ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ