3 ปัจจัยกระตุ้น “มะเร็งลำไส้ใหญ่” ในคนรุ่นใหม่ ยิ่งตามใจปากยิ่งเสี่ยง

มะเร็งลำไส้ มะเร็งชนิดที่คนรุ่นใหม่เป็นเยอะขึ้นและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ มีสถิติคร่าชีวิตคนไทยปีละกว่า 3,000 คน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 2.4 เท่าในอนาคตอันใกล้ ถึงแม้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงแต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์และวิถีชีวิตการกินที่เร่งรีบ โดยมีอาหารเป็นตัวกระตุ้น เช่น การทานอาหารจานด่วน เน้นกินเนื้อแดง อาหารแปรรูป กินอาหารปิ้งย่าง ไม่กินผัก-ผลไม้ อาหารที่มีกากใย ทุกอย่างล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ได้ทั้งสิ้น

 

3 ปัจจัยทำคนรุ่นใหม่เสี่ยงมะเร็งลำไส้มากขึ้น

  • กินอาหารปิ้งย่าง-แปรรูป

เชื่อว่าหลายคนคงทราบดีอยู่แล้วว่า การทานอาหารปิ้งย่าง หรืออาหารแปรรูปมากเกินไป เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง เพราะเมื่อย่างเนื้อสัตว์จนไหม้เกรียมหรือมีรอยดำจะทำให้เกิดสารก่อมะเร็งติดมากับอาหาร หากกินบ่อยๆ จะสะสมในร่างกายและเป็นมะเร็งได้ โดยเนื้อแดง-เนื้อแปรรูป มีไขมันเยอะ ย่อยยาก ทำให้อุจจาระค้างในลำไส้ เมื่อผ่านการแปรรูปและปิ้งย่าง ก็ยิ่งเพิ่มสารก่อมะเร็ง โดยการกินเนื้อแดง 1 ขีดต่อวัน เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ 17% ส่วนเนื้อแปรรูปแค่ครึ่งขีดต่อวัน ก็เพิ่มความเสี่ยงถึง 18%

โรคลำไส้อักเสบอาจมาจากพันธุกรรม ภูมิต้านทานผิดปกติ หรือพฤติกรรมการกินอาการ คือ ถ่ายวันละหลายรอบ ปวดเกร็งช่องท้อง ท้องเสีย ถ่ายเป็นมูกหรือเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบ มีแผล และมีเลือดออกในลำไส้รวมถึงอาจมีการติดเชื้อซ้ำเติม ภาวะโลหิตจาง หรือลำไส้ตีบตันเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ 2-20 เท่า

  • พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior)

ขาดการเคลื่อนไหว หรือมีกิจกรรมทางกายไม่ถึง 150 นาทีต่อสัปดาห์ ซึ่งจะทำให้ร่างกายเผาผลาญน้อยลง น้ำตาลและไขมันในเลือดสูงเสี่ยงเป็น “โรคอ้วน” ซึ่งเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้มากกว่าคนปกติ 30-70%

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น เช่น สูบบุหรี่จัด และต่อเนื่องยาวนาน ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประจำกรรมพันธุ์คนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ มะเร็งในส่วนอื่นๆ ลุกลามมา

 

อาการเตือนของโรคมะเร็งลำไส้

สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ ในระยะแรกจะยังไม่แสดงออกการมากนัก และอาการเริ่มแรกจะคล้ายกับโรคอื่นๆ เช่น

  • น้ำหนักลด
  • ท้องเสีย ท้องผูก ขับถ่ายผิดปกติ
  • มีเลือดออกทางทวาร หรืออุจจาระมีลักษณะเปลี่ยนไป
  • อุจจาระมีเลือดปน มีสีคล้ำ หรือกลิ่นเหม็นผิดปกติ
  • หากมีการปวดท้องร่วมด้วย ลักษณะการปวดขึ้นอยู่กับก้อนมะเร็งและตำแหน่งที่พบ เช่น ปวดบริเวณชายโครงด้านขวา หรือปวดบิดอย่างรุนแรง เป็นต้น

 

ตรวจไว รู้ไว มะเร็งลำไส้รักษาได้

ในเบื้องต้น การตรวจวินิจฉัยมะเร็งลำไส้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การส่องกล้องตรวจลำไส้ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการตรวจอุจจาระ เป็นต้น โดยวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ การส่องกล้อง เพราะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงและให้ความแม่นยำได้ดี ทำให้แพทย์ทั่วโลกเลือกใช้วิธีนี้
การส่องกล้องยังสะดวกสบายกับตัวผู้ป่วย เพราะไม่ต้องตรวจบ่อยๆ ในกรณีที่ไม่พบความผิดปกติ สามารถตรวจในระยะ 5-10 ปีได้ และหากพบก้อนเนื้อ ก็สามารถเก็บชิ้นเนื้อได้ทันที

โรคมะเร็งสำไส้ หากตรวจพบเร็ว โอกาสรักษาหายจะสูงมาก ดังนั้นเมื่อพบความผิดปกติหรือมีอาการน่าสงสัย ควรรีบพบแพทย์

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ