ไฟโบรสแกน คืออะไร?
เป็นเทคโนโลยีใหม่ลาสุดในการตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับ และตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ โดยไม่เกิดความเจ็บปวดใดๆ กับร่างกาย และลดอัตราความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน เมื่อเทียบจากการเจาะตับ (liver biopsy)

 

หลักการทำงานของเครื่อง ไฟโบรสแกน
เครื่อง ไฟโบรสแกน ใช้หลักการปล่อยคลื่นความถี่ต่ำที่ 50 เฮิรตซ์ ด้วยเทคนิค VCTETM (Vibration Controlled Transient Elastograply) เข้าไปในตับแล้ววัดคลื่นที่สะท้อนกลับมาด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงต่ำ จากนั้นเครื่องจะประมวลผลออกมา เป็นค่าความแข็งเนื้อตับ หากตับเริ่มแข็ง คลื่นเสียงสะท้อนกลับจะเดินทางเร็ว ค่าที่วัดได้ก็จะสูงตาม มีหน่วยวัดเป็น กิโลพาสคาล(kPa)

ส่วนการวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ สามารถวัดได้โดยมีชื่อเรียกวิธีนี้ว่า CAP(Controlled Attenuation Parameter) ใช้หลักการปล่อยคลื่นเสียงความถี่ต่ำเข้าไปในเนื้อตับ และวัดค่าความต้านทานนั้นๆ หากตับมีปริมาณไขมันสะสมมาก ก็จะมีแรงต้านทานมาก ค่าที่ใด้ก็จะสูงตามมีหน่วยวัดเป็น เดซิเบล/เมตร(dB/m)

 

ตับส่งสัญญาณว่าคุณควรพบแพทย์

  • ตาเหลือง ตัวเหลือง
  • อ่อนเพลีย อาหารไม่ย่อย
  • มีประวัติการดื่มสุราเรื้อรัง
  • มีประวัติว่าคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งตับ
  • เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อไวรัส ตับอักเสบ B และไวรัสตับอักเสบ C

 

ข้อดีของการตรวจไฟโบรสเกน 

  • ไม่เกิดความเจ็บปวด และไม่เป็นอันตรายใดๆ กับร่างกาย
  • ง่าย รวดเร็ว ใช้เวลาไม่เกิน 5-10 นาที ทราบผลทันที จะรู้สึกสั่นสะเทือนบริเวณผิวหนังที่ปลายหัวตรวจเล็กน้อย
  • ในกรณีที่ต้องติดตามผลอย่างใกล้ชิด สามารถตรวจซ้ำได้หลายครั้งและปลอดภัย

 

วิธีการตรวจไฟโบรสแกน

ให้นอนหงายโดยยกแขนทั้งสองข้างไว้เหนือศรีษะ ทาเจลที่หัวตรวจหรือผิวหนังคนไข้เพียงเล็กน้อย

ทำการตรวจวัดที่บริเวณตำแหน่งตรงกลางเนื้อตับทั้งหมด 10 ครั้งในจุดเดียวกัน

ผลที่ได้เป็น ค่าความแข็งของตับ เป็นตัวเลข ตั้งแต่ 1.5-75 กิโลพาสคาล และค่าปริมาณไขมันสะสมในตับเป็นตัวเลข ตั้งแต่ 100-400 เดซิเบล/เมตร ซึ่งแพทย์จะแปลผลที่ได้เพื่อใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคตับ

 

ตรวจ ไฟโบรสแกน เพื่ออะไร?
ผลตรวจไฟโบรสแกนสามารถช่วยในการติดตามผลการดำเนินโรค และประเมินระดับความรุ่นแรงของภาวะตับแข็ง เพื่อดูผลการตอบสนองการรักษาและวางแผนการรักษาต่อไป โดยอาจใช้แทนการเจาะเนื้อตับในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามหรือปฏิเสธการเจาะตับ

 

ใครเป็นผู้ตรวจ ไฟโบรสแกน?
แพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตับหรือบุคลากรที่ได้รับการอบรมจะเป็นผู้ตรวจไฟโบรสแกนได้ดีที่สุด

 

ข้อห้ามในการตรวจ ไฟโบรสแกน

ไม่ตรวจในอวัยวะอื่นๆ นอกจากตับ

ผู้ป่วยที่ติดอุปกรณ์ในร่างกาย เช่น pacemekers, defibrillators

ผู้ที่มีภาวะท้องมาน

หญิงตั้งครรภ์

 

ง่าย รวดเร็ว ปลอดภัย ไม่เจ็บ ทราบผลทันที!!

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โทร. 0-3931-9888