วิตามินซี คือ กรดแอสคอบิค (Ascobic Acid) เป็นวิตามินที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง แต่มีความสำคัญอย่างมากกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ด้วยความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ วิตามินซียังมีส่วนช่วยในการ ป้องกันหวัด เนื่องจากคุณสมบัติที่ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังช่วยในเรื่องของการป้องกันโรคอื่นๆ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคเลือดออกตามไรฟัน โรคที่มาจากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย เส้นเลือดอุดตันในหลอดลม เป็นต้น แหล่งวิตามินซีใกล้ตัวที่เราสามารถพบได้ตามผักและผลไม้ โดยหาซื้อง่ายและมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าผักและผลไม้บางชนิดก็มีวิตามินซีอยู่ในปริมาณที่ร่างกายต้องการใช้งานได้
ผัก 5 ชนิด วิตามินสูง
- พริกหวาน วิตามินซี 80.4 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
พริกหวานสามารถกินได้ทั้งแบบสดๆ และปรุงสุกในเมนูอาหาร โดยผลที่แก่แล้วไม่ว่าจะเป็นมีสีแดง เหลือง ส้ม หรือม่วงจะให้วิตามินซีเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าอีกทั้งยังเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เบต้าแคโรทีน วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 เหล็กและโพแทสเซียมด้วย
- บรอกโคลี วิตามินซี 89.2 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
บรอกโคลี อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารหลายชนิดซึ่งพบได้ทั้งส่วนดอกและลำต้น การกินควรกินทั้งส่วนดอกและลำต้นร่วมกันจะช่วยต้านโรคมะเร็งได้ บร็อคโคลีเป็นผักที่ไม่ควรนำไปปรุงอาหารด้วยความร้อนที่นานเกินไปเพราะจะทำให้เสียวิตามินและคุณค่าทางอาหาร
- ผักคะน้า วิตามินซี 147 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
ผักคะน้าสามารถกินได้ตั้งแต่ยังมีขนาดเล็กจนกระทั่งออกดอก กับคุณสมบัติที่ช่วยต้านการเกิดมะเร็ง ช่วยให้เซลล์ทำงานได้ดีและกำจัดสารพิษในร่างกาย ผักคะน้าสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิดแต่ควรล้างให้สะอาดเพื่อช่วยลดการตกค้างของสารเคมีก่อนทุกครั้ง
- ผักปวยเล้ง วิตามินซี 120 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
อุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ อย่าง เหล็ก แคลเซียม โพแทสเซียม และยังมีกรดโฟลิกที่เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นในการสร้างสารซีโรโทนินในระบบเซลล์ประสาท ซึ่งทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายและนอนหลับได้สนิท
- ใบมะรุม วิตามินซี 141 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
พืชพื้นบ้านที่นิยมนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง โดยทุกส่วนของต้นมะรุมสามารถกินได้ อีกทั้งใบของมะรุมมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ลดไข้ ช่วยให้นอนหลับสบาย ป้องกันแผลในกระเพราะอาหาร และช่วยต้านอนุมูลอิสระได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ