การรักษาด้วยคลื่นกระแทก

บทความที่เกี่ยวข้อง

รักษาอาการปวดด้วยคลื่นแม่เหล็ก

รักษาอาการปวดด้วยคลื่นแม่เหล็ก

ออกกำลังกายหนักเกินไปมีผลเสียอย่างไร

ออกกำลังกายหนักเกินไปมีผลเสียอย่างไร

ออกกำลังกายหนักเกินไปมีผลเสียอย่างไร การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมมีผลดีต่อสุขภาพในหลายด้าน แต่ในทางกลับกัน การออกกำลังกายมากเกินไปก็สามารถทำให้เกิดผลเสียต่อร่ายกายตามมาได้เช่นกัน โดยการออกกำลังกายมากขึ้นอาจทำให้เกิดผลต่อร่างกายดังต่อไปนี้ เกิดการบาดเจ็บของร่างกาย รบกวนการนอนหลับ ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ออกกำลังกายแค่ไหนจึงจะเหมาะสม โดยทั่วไปการออกกำลังกายที่เหมาะสม คือ ครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับประเภทและความหนักของการออกกำลังกายชนิดนั้น ๆ รวมถึงภาวะสุขภาพมีความแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล ดังนั้นแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เทรนเนอร์ และแพทย์ประจำตัว(กรณีมีโรคประจำตัว) เพื่อการวางแผนออกกำลังกายอย่างเหมาะสมกับตนเอง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ท่านั่งที่ควรเปลี่ยน ถ้าไม่อยากมีอาการปวดหลัง

ท่านั่งที่ควรเปลี่ยน ถ้าไม่อยากมีอาการปวดหลัง

การนั่งทำงาน อาจจะดูสบาย ๆ แต่ถ้าทำต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ อาจเป็นภัยเงียบที่คอยทำลายสุขภาพทีละนิดก็เป็นได้ การนั่งทำงานผิดท่าสามารถนำมาซึ่งผลกระทบต่อสุขภาพร้ายแรง บางคนต้องกินยาประจำ บางคนอาจต้องกายภาพบำบัด หรือบางคนอาจถึงขั้นต้องผ่าตัด แต่เพื่อไม่ให้ไปถึงขั้นนั้นควรรีบปรับตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีในวันข้างหน้า 4 ท่านั่งทำงาน ที่เสี่ยงทำลายสุขภาพระยะยาว 1.นั่งไขว่ห้าง 2.นั่งขัดสมาธิ 3.นั่งหลังงอ หลังค่อม 4.นั่งไม่เต็มก้น ทั้งนี้ควรปรับท่าทางการนั่งให้ถูกต้อง - ปรับเก้าอี้ให้ได้ระดับเดียวกับโต๊ะ - นั่งทำงานได้โดยที่ฝ่าเท้าแตะพื้นพอดี - ข้อศอกตั้งฉาก 90 องศา ขนานไปกับโต๊ะ - หลังต้องชิดติดกับพนักพิง - บริเวณก้นกบไม่ควรเหลือช่องว่าง - อาจหาหมอนเล็ก ๆ ม้วนผ้าขนหนู หรือใช้หมอนรองหลัง จะช่วยให้เรานั่งหลังตรงได้อัตโนมัติ ช่วยรับน้ำหนัก ทำให้แผ่นหลังไม่เกร็งตึง และนั่งทำงานนาน ๆ ได้สบายขึ้น นอกจากปรับท่านั่งแล้ว พื้นที่ทำงานควรมีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อลดความเสี่ยงของจอประสาทตาเสื่อมจากการจ้องจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ควรอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก และอย่าลืมขยับท่าทางเปลี่ยนอิริยาบถ ลุกขึ้นเดินยืดเส้นยืดสายอย่างน้อยทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง ให้เลือดได้ไหลเวียน และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ฝึกทำให้ชินจนเป็นนิสัย จะได้ไม่ปวดหลัง ปวดไหล่ ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS Wellness Clinic และ BDMS สถานีสุขภาพ

กายภาพบำบัด ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง

กายภาพบำบัด ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง

กายภาพบำบัดช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง กายภาพบำบัดอีกหนึ่งตัวช่วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ช่วยฟื้นฟูให้กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ โรคหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular disease หรือ Stroke) เป็นโรคที่ก่อให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์อัมพาต ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการบังคับอวัยวะต่างๆ รวมถึงไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติจนเกิดเป็นภาวะทุพลภาพหรือเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้ การเข้ารับการรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด ก็เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายให้กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติมากที่สุด เป้าหมายของการฟื้นฟูร่างกายจากโรคหลอดเลือดสมอง การเคลื่อนไหว ปัญหากล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อการนั่ง การยืน และการเดิน ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแขนขา เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความสมดุลในการทรงตัว การฝึกนั่ง ยืน และเดิน ตลอดจนการฝึกการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ เช่น การรับประทานอาหาร การใส่เสื้อผ้า การอาบน้ำ เป็นต้น การกลืน ในบางราย ในระยะแรกอาจมีปัญหาเรื่องการกินและการกลืน หรืออาจจำเป็นต้องใส่สายยางให้อาหาร ซึ่งผู้ป่วยต้องได้รับการประเมินเพื่อฝึกการกินและการกลืนน้ำ จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปดื่มน้ำและกินอาหารเมื่ออยู่ที่บ้านได้อย่างปลอดภัย การสื่อสาร ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากความผิดปกติจากสมองซีกซ้าย มักจะมีปัญหาเรื่องการควบคุมการพูด การเข้าใจและการรับรู้ภาษา ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารได้ จึงควรได้รับการฟื้นฟูด้วยการฝึกการพูด ฝึกการเข้าใจและการรับรู้ภาษา เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้องและมากที่สุด ปัญหาแทรกซ้อนอื่นๆ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มักมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เกิดขึ้น เช่น กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ข้อยึดติด ข้อไหล่เคลื่อนหลุด เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดเพื่อรักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะกล้ามเนื้อแข็งเกร็งอาจลดได้โดยการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด การนวดหรือยืดคลายกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ การจัดท่า หรือการใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยลดเกร็ง เป็นต้น กายภาพบำบัดช่วยฟื้นฟูสุขภาพได้อย่างไร ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย ช่วยลดปวดตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เป็นการเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหว เพิ่มความแข็งแรงของอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ ช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างเป็นปกติ ตลอดจนรู้จักป้องกันตนเองเพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ร่างกายเสื่อมสมรรถภาพในการเคลื่อนไหวต่อเนื่องไปอีก กลุ่มผู้ป่วยกับเป้าหมายในการทำกายภาพบำบัด ผู้ป่วยที่มีปัญหาบาดเจ็บ ทุพลภาพ เคลื่อนไหวลำบาก ควรเข้ารับการรักษาทางกายภาพบำบัดเพื่อรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ตลอดจนเพื่อส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น ร่วมกับป้องกันการบาดเจ็บซ้ำที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้ 1.กลุ่มผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ เป็นผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บและส่งผลให้เกิดอาการปวด รวมถึงการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายลดลง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อ เช่น กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ หรือเอ็นข้อต่อ ข้อต่อ และกระดูก เป้าหมายในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเน้นไปที่การบรรเทาอาการปวด โดยการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด การยืด การนวด หรือการดัดดึงเพื่อช่วยให้เนื้อเยื่อมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น ทำให้สามารถเคลื่อนไหวได้มากขึ้น รวมถึงการฝึกออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ ตลอดจนป้องกันการบาดเจ็บซ้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 2.กลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพที่เกิดจากระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบหายใจและอื่น ๆ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีปัญหาเรื่องอาการอ่อนแรง การหายใจลำบาก การทรงตัว การยืน หรือการเดินที่ผิดปกติ เป้าหมายในการรักษาจะเน้นไปที่การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายด้านความแข็งแรง การหายใจ การทรงตัว การยืนหรือการเดิน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันหรือเข้าสังคมได้อย่างเป็นปกติหรือใกล้เคียงปกติ หรือกลับไปใช้ชีวิตโดยมีอุปกรณ์ช่วยเหลือต่อไปได้ ซึ่งอาจจะต้องใช้บุคลาการทางการแพทย์หรือสหวิชาชีพเข้าร่วมวางแผนในการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายต่อไปด้วย ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม ออฟฟิศซินโดรมเป็นปัญหาที่พบบ่อยในวัยทำงาน ซึ่งก่อให้เกิดความไม่สุขสบาย ปวดคอ บ่า ไหล่ บางรายปวดร้าวตึงขึ้นขมับ หากปล่อยไว้ระยะยาวอาจมีอาการหนักขึ้นเรื่อย ๆ และส่งผลต่อสุขภาพเรื้อรังได้ สาเหตุการเกิดออฟฟิศซินโดรม สิ่งแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม ปัจจัยจากตัวบุคคล ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น อาการ ปวดกล้ามเนื้อ มักมีอาการปวดแบบเมื่อยล้าเป็นบริเวณกว้าง ที่พบบ่อยคือปวดบริเวณคอ บ่า ไหล่ มีอาการของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ชา ซ่า วูบเย็น ตรงบริเวณที่ปวด บางรายมีอาการมึนศีรษะ หูอื้อ ตาพร่า หากเป็นรุนแรงอาจมีอาการของระบบประสาทถูกกดทับ เช่น มีอาการชาหรืออ่อนแรงแขนและมือ การดูแลรักษา ปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสม รักษาด้วยยา ทำกายภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างเหมาะสม ปรับอริยาบถและพฤติกรรมการทำงานให้ถูกต้อง รักษาด้วยศาสตร์ทางเลือก เช่น ฝังเข็ม นวดแผนไทย การป้องกัน จัดสิ่งแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม ดูแลจัดการความเครียด การพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 3 มื้อ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร039-319888

การออกำลังกายเพื่อลดปวดคอ บ่า ไหล่

การออกำลังกายเพื่อลดปวดคอ บ่า ไหล่

การออกกำลังกายเพื่อลดอาการปวดคอ บ่า ไหล่

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง