กลืนลำบาก

กลืนลำบาก

กลืนลำบากไม่ใช่เรื่องเล็ก กลุ่มเสี่ยงควรดูแลอย่างใกล้ชิดและควรตรวจประเมินการกลืน เพื่อป้องกันกันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย

กลุ่มเสี่ยง

  • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต
  • ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางระบบประสาท เช่น พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคต่าง ๆ เช่น มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกล่องเสียง
  • ผู้ป่วยที่เคยใส่ท่อช่วยหายใจนาน ๆ

อาการ

  • สำลัก หรือเจ็บ ขณะกลืนอาหารหรือเคี้ยวอาหารลำบาก
  • รู้สึกอาหารติดในคอหรือมีอาหารออกทางจมูก
  • ไอ หรือ หอบ ขณะหรือหลังรับประทานอาหาร
  • เสียงเปลี่ยน เสียงแหบ หายใจไม่อิ่ม
  • รับประทานอาหารได้ช้า มีน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว

ประโยชน์ของการตรวจการกลืน

  • ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืน โดยเฉพาะเรื่องปอดอักเสบจากการสำลักอาหาร ซึ่งอาจก่อผลกระทบรุนแรงถึงชีวิตของผู้ป่วยได้
  • เพื่อวางแผนการถอดสายให้อาหารในผู้ป่วยรายที่แพทย์ประเมินแล้วว่ามีความสามารถในการกลืนด้วยตนเองได้อย่างปลอดภัย
  • ป้องกันอันตรายจากการสำลักอาหารโดยไม่แสดงอาการในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

สอบถามเพิ่มเติมที่ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการชามือจากอฟฟิศซินโดรม

อาการชามือจากอฟฟิศซินโดรม

อาการชามือจากอฟฟิศซินโดรม อาการชามือเป็นหนึ่งในอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม พบได้บ่อยในวัยทำงาน โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานใช้นิ้วมือมากเกินไปจนเกิดการเกร็ง การกดเบียด และสั่นสะเทือนถึงเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการชาขึ้นได้ ซึ่งมักจะเริ่มจากอาการชาที่ฝ่ามือและนิ้ว ในขณะที่ใช้งานอย่างต่อเนื่อง หากเป็นมากอาจมีอาการชาจนเหมือนเป็นเหน็บทั้งที่ไม่ได้ใช้งานอยู่ บางรายอาจปวดตอนกลางดึกจนต้องตื่นมาบวดฝ่ามือ ซึ่งอาการดังกล่าวหากปล่อยไว้นานจะทำให้เกิดอาการอ่อนกำลังของมือจนถึงเกิดอาการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อมือได้ สาเหตุของอาการมือชา อาการมือชาจากออฟฟิศซินโดรมส่วนมากเกิดจากหารหนาตัวของเอ็นกระดูกบริเวณข้อมือหรือที่บริเวณอุโมงค์ข้อมือจนกดรัดเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อฝ่ามือ และเส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกที่ฝ่ามือ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อมือมาก ๆ จึงทำให้เกิดการระคายมากขึ้น ผู้ที่มีควมเสี่ยงเกิดอาการมือชา พนักงานออฟฟิศ ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพทืเป็นเวลานาน กุ๊ก แม่ครัว ช่างทำผม แม่บ้าน-พนักงานทำความสะอาด ผู้ป่วยเบาหวาน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ สตรีตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีข้อต่อกระดูกคอเสื่อม รวมถึงการขาดวิตามินบี การป้องกันและรักษาอาการมือชา ลดการใช้งาน เปลี่ยนพฤติกรรม หรือจัดท่าการใช้งานให้เหมาะสม ไม่ควรงอข้อมือมากเกินไป ใช้อุปกรณ์ช่วยประคองข้อมือสำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้ข้อมือพัก การรัษาอาการมือชา รักษาด้วยยาต้านการอักเสบ กำจัดปัจจัยเสี่ยง เช่น หากเกิดจากการใช้งานเยอะ ให้พักใช้ชั่วคราว ลดการสั่นสะเทือน ปรับท่าการใช้งานแขนและมืออย่างเหมาะสม บริหารกล้ามเนื้อแขนและมือ ทำกายภาพหรือนวดอย่างถูกวิธี กรณีขาดวิตามินบี แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการให้วิตามินบี การผ่าตัดเอ็นที่ไปกดรัดเส้นประสาทนั้น ขอขอบคุณข้อมูลจาก : เว็บไซต์โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์

ท่านอนผิด...ทำลายสุขภาพ

ท่านอนผิด...ทำลายสุขภาพ

ท่านอนผิด...ทำลายสุขภาพ เคยสงสัยไหม ? ทำไมตื่นมาแล้วปวดหลัง ยิ่งนอนยิ่งเมื่อย อาจเป็นเพราะเราเรามีพฤติกรรมนอนผิดท่า หรือนอนในท่าที่ไม่ถูกต้อง เช็ก 4 ท่านอนแบบผิดๆที่ควรเลี่ยง เสี่ยงกล้ามเนื้ออักเสบกระดูกสันหลังมีการบิดโก่งงอ “การนอน” ถือเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุดและง่ายที่สุด เป็นเวลาทองให้ร่างกายได้ซ่อมแซมตัวเอง ซึ่งเราทุกคนล้วนใช้เวลาการนอนไปถึง 1 ใน 4 ส่วนของวันเลยทีเดียวการนอนในท่าทางที่ถูกต้องและเหมาะสมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้สุขภาพโดยรวมดี ไม่มีการบาดเจ็บของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อหรือระบบประสาทในส่วนต่างๆ ของร่างกายก่อนวัยอันควร 4 ท่านอนผิดๆ ที่ไม่ควรนอนเสี่ยงเสียสุขภาพ การนอนขดตัวคุดคู้ การนอนขดตัวคุดคู้ คือ เป็นท่านอนที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เนื่องจากมีลักษณะการก้มศีรษะ โก่งหลัง พับสะโพก งอเข่าก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายในหลากหลายแง่มุมการนอนท่านี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง ดังนี้ ปวดเข่า,กล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง,กระดูกสันหลังมีการบิดโก่งงอผิดรูปปวดคอจากกล้ามเนื้ออักเสบ การนอนคว่ำ การนอนคว่ำ ถือว่าเป็นท่านอนที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากการนอนคว่ำจะทำให้ผู้นอนหายใจไม่สะดวก กระดูกสันหลังแอ่นมากกว่าปกติ และขณะที่นอนก็ต้องมีการบิดคอไปทางซ้ายหรือทางขวารวมถึงมีการแอ่นไปข้างหลังอีกด้วย จึงอาจก่อให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อคอ เกิดอาการปวดคอ ปวดหลังได้ โดยแนะนำให้หาหมอนมารองช่วงหน้าอกหรือช่วงท้องก็จะทำให้นอนได้สบายยิ่งขึ้น การนอนแบบกึ่งนั่งกึ่งนอน ท่านอนแบบกึ่งนั่งกึ่งนอนโดยที่มีหมอนรองที่หลังเอาไว้ แล้วนอนเอนหลังและไถลตัวไปบนเตียงนอนหรือโซฟา พร้อมกับเล่นโทรศัพท์มือถือ อ่านหนังสือ หรือดูโทรทัศน์ไปเรื่อยๆ นั้น ทำให้ผู้ที่นอนท่านี้ต้องงอหรือก้มคอเป็นระยะเวลานาน อาจจะทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอและหลังทำงานมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบและปวดกล้ามเนื้อคอบ่าไหล่ขึ้นมาได้ รวมถึงสามารถทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างจากการที่มีการแอ่นของหลังขณะนั่งได้อีกด้วย การนอนทับต้นแขนตัวเอง การกดทับต้นแขนของตัวเองซึ่งเป็นบริเวณที่มีเส้นประสาท (Radial Nerve) อยู่ เป็นเวลานาน โดยอาจเกิดจากการทับของศีรษะหรือการพาดแขนบนพื้นผิวต่างๆ เช่น พนักเก้าอี้ พอเส้นประสาทถูกกดทับนานๆ แล้ว จึงก่อให้เกิดอาการทางระบบประสาทตามมาที่พบบ่อยที่สุด คือ อาการข้อมือตก ทำให้กระดกข้อมือไม่ขึ้น อาการข้อมือตกจากการถูกกดทับของเส้นประสาทเรเดียน (Radial Nerve) นี้ เรียกว่า Saturday night palsy หรือ Honeymoon palsy โดยส่วนใหญ่แล้วอาการมักไม่ร้ายแรงและสามารถหายเองได้ ซึ่งระยะเวลาจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ส่วนมากแล้วจะใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ นอนแบบไหนคุณภาพการนอนดีเยี่ยม ! ท่านอนหงาย เป็นท่านอนปกติที่คนส่วนใหญ่นิยมนอนกัน เนื่องจากการนอนหงายทำให้น้ำหนักตัวกระจายลงไปตามส่วนต่างๆ ของแผ่นหลัง จึงไม่มีน้ำหนักลงจุดใดจุดหนึ่งมากกว่าปกติ อีกทั้งกระดูกสันหลังก็อยู่ในแนวตรง ไม่มีการโค้งผิดรูป และหากมีหมอนรองใต้เข่าขณะนอนหงายก็จะทำให้นอนได้สบายยิ่งขึ้น เนื่องจากการรองหมอนไว้ใต้เข่าทำให้ข้อสะโพกมีการงอเล็กน้อย จึงช่วยลดการแอ่นของหลังส่วนล่างและป้องกันการปวดหลังได้ด้วย อย่างไรก็ตาม การนอนหงายอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคปวดหลัง มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับหรือนอนกรนเป็นประจำ เป็นต้น ท่านอนตะแคง เป็นท่านอนที่ดีอีกท่าหนึ่งที่คนนิยมกัน เป็นท่าที่นอนสบายและสามารถช่วยลดอาการปวดหลังได้ ควรนอนตะแคงโดยมีหมอนข้างไว้ให้กอดและพาดขา ส่วนหมอนหนุนที่ใช้ก็ไม่ควรเตี้ยจนเกินไปเพราะจะทำให้ปวดต้นคอได้ ควรใช้หมอนหนุนที่เมื่อนอนตะแคงแล้วศีรษะอยู่ระดับเดียวกับลำตัว หรือกระดูกสันหลังส่วนคออยู่ระดับเดียวกับกระดูกสันหลังส่วนอกและส่วนเอว เครื่องนอน เนื่องจากเครื่องนอนที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับสรีระของแต่ละบุคคล จึงแนะนำให้จัดเตรียมเครื่องนอนที่นอนแล้วสบายที่สุด หมอนสูงกำลังดี ฟูกที่นิ่มพอดีจะช่วยพยุงหลังของเรา มีหมอนข้างไว้กอดเมื่อต้องการนอนตะแคง นอนตื่นขึ้นมาแล้วไม่ปวดคอหรือปวดหลังก็ถือว่าเหมาะสมแล้ว อย่างไรก็ตาม ห้องนอนควรเป็นห้องที่มืดสนิท ไม่มีแสงและเสียงรบกวนขณะนอนหลับ หรืออาจหาอุปกรณ์ตัวช่วย เช่น ที่ปิดตา หรือที่อุดหู เพื่อให้เรานอนหลับได้สนิท ให้การนอนหลับเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนจริงๆ ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

ออกกำลังกายหนักเกินไปมีผลเสียอย่างไร

ออกกำลังกายหนักเกินไปมีผลเสียอย่างไร

ออกกำลังกายหนักเกินไปมีผลเสียอย่างไร การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมมีผลดีต่อสุขภาพในหลายด้าน แต่ในทางกลับกัน การออกกำลังกายมากเกินไปก็สามารถทำให้เกิดผลเสียต่อร่ายกายตามมาได้เช่นกัน โดยการออกกำลังกายมากขึ้นอาจทำให้เกิดผลต่อร่างกายดังต่อไปนี้ เกิดการบาดเจ็บของร่างกาย รบกวนการนอนหลับ ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ออกกำลังกายแค่ไหนจึงจะเหมาะสม โดยทั่วไปการออกกำลังกายที่เหมาะสม คือ ครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับประเภทและความหนักของการออกกำลังกายชนิดนั้น ๆ รวมถึงภาวะสุขภาพมีความแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล ดังนั้นแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เทรนเนอร์ และแพทย์ประจำตัว(กรณีมีโรคประจำตัว) เพื่อการวางแผนออกกำลังกายอย่างเหมาะสมกับตนเอง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

กายภาพบำบัด ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง

กายภาพบำบัด ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง

กายภาพบำบัดช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง กายภาพบำบัดอีกหนึ่งตัวช่วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ช่วยฟื้นฟูให้กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ โรคหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular disease หรือ Stroke) เป็นโรคที่ก่อให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์อัมพาต ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการบังคับอวัยวะต่างๆ รวมถึงไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติจนเกิดเป็นภาวะทุพลภาพหรือเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้ การเข้ารับการรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด ก็เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายให้กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติมากที่สุด เป้าหมายของการฟื้นฟูร่างกายจากโรคหลอดเลือดสมอง การเคลื่อนไหว ปัญหากล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อการนั่ง การยืน และการเดิน ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแขนขา เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความสมดุลในการทรงตัว การฝึกนั่ง ยืน และเดิน ตลอดจนการฝึกการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ เช่น การรับประทานอาหาร การใส่เสื้อผ้า การอาบน้ำ เป็นต้น การกลืน ในบางราย ในระยะแรกอาจมีปัญหาเรื่องการกินและการกลืน หรืออาจจำเป็นต้องใส่สายยางให้อาหาร ซึ่งผู้ป่วยต้องได้รับการประเมินเพื่อฝึกการกินและการกลืนน้ำ จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปดื่มน้ำและกินอาหารเมื่ออยู่ที่บ้านได้อย่างปลอดภัย การสื่อสาร ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากความผิดปกติจากสมองซีกซ้าย มักจะมีปัญหาเรื่องการควบคุมการพูด การเข้าใจและการรับรู้ภาษา ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารได้ จึงควรได้รับการฟื้นฟูด้วยการฝึกการพูด ฝึกการเข้าใจและการรับรู้ภาษา เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้องและมากที่สุด ปัญหาแทรกซ้อนอื่นๆ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มักมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เกิดขึ้น เช่น กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ข้อยึดติด ข้อไหล่เคลื่อนหลุด เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดเพื่อรักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะกล้ามเนื้อแข็งเกร็งอาจลดได้โดยการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด การนวดหรือยืดคลายกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ การจัดท่า หรือการใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยลดเกร็ง เป็นต้น กายภาพบำบัดช่วยฟื้นฟูสุขภาพได้อย่างไร ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย ช่วยลดปวดตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เป็นการเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหว เพิ่มความแข็งแรงของอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ ช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างเป็นปกติ ตลอดจนรู้จักป้องกันตนเองเพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ร่างกายเสื่อมสมรรถภาพในการเคลื่อนไหวต่อเนื่องไปอีก กลุ่มผู้ป่วยกับเป้าหมายในการทำกายภาพบำบัด ผู้ป่วยที่มีปัญหาบาดเจ็บ ทุพลภาพ เคลื่อนไหวลำบาก ควรเข้ารับการรักษาทางกายภาพบำบัดเพื่อรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ตลอดจนเพื่อส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น ร่วมกับป้องกันการบาดเจ็บซ้ำที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้ 1.กลุ่มผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ เป็นผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บและส่งผลให้เกิดอาการปวด รวมถึงการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายลดลง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อ เช่น กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ หรือเอ็นข้อต่อ ข้อต่อ และกระดูก เป้าหมายในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเน้นไปที่การบรรเทาอาการปวด โดยการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด การยืด การนวด หรือการดัดดึงเพื่อช่วยให้เนื้อเยื่อมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น ทำให้สามารถเคลื่อนไหวได้มากขึ้น รวมถึงการฝึกออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ ตลอดจนป้องกันการบาดเจ็บซ้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 2.กลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพที่เกิดจากระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบหายใจและอื่น ๆ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีปัญหาเรื่องอาการอ่อนแรง การหายใจลำบาก การทรงตัว การยืน หรือการเดินที่ผิดปกติ เป้าหมายในการรักษาจะเน้นไปที่การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายด้านความแข็งแรง การหายใจ การทรงตัว การยืนหรือการเดิน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันหรือเข้าสังคมได้อย่างเป็นปกติหรือใกล้เคียงปกติ หรือกลับไปใช้ชีวิตโดยมีอุปกรณ์ช่วยเหลือต่อไปได้ ซึ่งอาจจะต้องใช้บุคลาการทางการแพทย์หรือสหวิชาชีพเข้าร่วมวางแผนในการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายต่อไปด้วย ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

ท่านอนลดอาการปวดหลัง เสริมสร้างคุณภาพการนอนดีขึ้น

ท่านอนลดอาการปวดหลัง เสริมสร้างคุณภาพการนอนดีขึ้น

ท่านอนลดอาการปวดหลัง เสริมสร้างคุณภาพการนอนดีขึ้น เชื่อว่าหลายคนคงมีประสบการณ์ตื่นขึ้นมาแล้วปวดหลัง พาลทำให้คุณภาพการนอนของเราแย่ลงใช้ชีวิตลำบากขึ้น แก้ ด้วย 3 ท่านอนนี้! จะช่วยถนอมหลังของคุณได้! อาการปวดหลัง ส่วนใหญ่เกิดจาก ความเครียด น้ำหนักส่วนเกิน การยกของผิดวิธี การนั่งในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ หรือท่านอนที่ไม่เหมาะสม ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการปวดหลังได้นะคะ ซึ่งการทำกายภาพบำบัดเป็นอีกหนึ่งวิธีในการรักษา เช่นเดียวกับการปรับเปลี่ยนท่านอนที่เหมาะสม จะช่วยให้สามารถช่วยป้องกันและบรรเทาอาการปวดหลังได้ 3 ท่านอนลดอาการปวดหลัง นอนตะแคงข้างก่ายหมอน นอนตะแคงข้างที่ถนัด หนุนหมอนที่ศีรษะตามปกติ งอเข่าทั้งสองข้างและวางหมอนหนุนไว้ระหว่างขาทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เข่าแตะที่นอน เพราะกระดูกสันหลังส่วนล่างจะพลิก ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวดหลังและสะโพกได้ นอนหงายหนุนเข่า นอนหงายหนุนหมอนที่ศีรษะ ปล่อยตัวตามสบายโดยวางหมอนหนุนอีกใบไว้ใต้หัวเข่าทั้งสองข้าง เพื่อช่วยรักษาความโค้งของกระดูกสันหลังส่วนล่าง ท่านี้เหมาะสำหรับผู้มีอาการปวดหลังที่ไม่รุนแรงมากนัก นอนคว่ำหนุนหน้าท้อง หากคุณไม่สามารถนอนท่าอื่นๆ ได้ และจำเป็นต้องนอนคว่ำ ให้นอนหนุนหมอนบริเวณช่วงคอและหน้าอกส่วนบน โดยหันใบหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง และนำหมอนหนุนอีกใบวางไว้ใต้บริเวณสะโพก เพื่อผ่อนคลายความตึงของแผ่นหลัง และหากยังรู้สึกตึงหรือเจ็บปวดอยู่ให้นำหมอนหนุนที่ศีรษะออก ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

การรักษาด้วยคลื่นกระแทก

การรักษาด้วยคลื่นกระแทก

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง