อาการชามือจากอฟฟิศซินโดรม

อาการชามือเป็นหนึ่งในอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม พบได้บ่อยในวัยทำงาน โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานใช้นิ้วมือมากเกินไปจนเกิดการเกร็ง การกดเบียด และสั่นสะเทือนถึงเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการชาขึ้นได้ ซึ่งมักจะเริ่มจากอาการชาที่ฝ่ามือและนิ้ว ในขณะที่ใช้งานอย่างต่อเนื่อง หากเป็นมากอาจมีอาการชาจนเหมือนเป็นเหน็บทั้งที่ไม่ได้ใช้งานอยู่ บางรายอาจปวดตอนกลางดึกจนต้องตื่นมาบวดฝ่ามือ ซึ่งอาการดังกล่าวหากปล่อยไว้นานจะทำให้เกิดอาการอ่อนกำลังของมือจนถึงเกิดอาการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อมือได้

 

สาเหตุของอาการมือชา

อาการมือชาจากออฟฟิศซินโดรมส่วนมากเกิดจากหารหนาตัวของเอ็นกระดูกบริเวณข้อมือหรือที่บริเวณอุโมงค์ข้อมือจนกดรัดเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อฝ่ามือ และเส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกที่ฝ่ามือ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อมือมาก ๆ จึงทำให้เกิดการระคายมากขึ้น

 

ผู้ที่มีควมเสี่ยงเกิดอาการมือชา

  • พนักงานออฟฟิศ ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพทืเป็นเวลานาน
  • กุ๊ก แม่ครัว 
  • ช่างทำผม
  • แม่บ้าน-พนักงานทำความสะอาด
  • ผู้ป่วยเบาหวาน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • สตรีตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
  • ผู้ป่วยที่มีข้อต่อกระดูกคอเสื่อม รวมถึงการขาดวิตามินบี

 

การป้องกันและรักษาอาการมือชา

  • ลดการใช้งาน
  • เปลี่ยนพฤติกรรม หรือจัดท่าการใช้งานให้เหมาะสม ไม่ควรงอข้อมือมากเกินไป
  • ใช้อุปกรณ์ช่วยประคองข้อมือสำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้ข้อมือพัก 

 

การรัษาอาการมือชา

  • รักษาด้วยยาต้านการอักเสบ
  • กำจัดปัจจัยเสี่ยง เช่น หากเกิดจากการใช้งานเยอะ ให้พักใช้ชั่วคราว ลดการสั่นสะเทือน
  • ปรับท่าการใช้งานแขนและมืออย่างเหมาะสม
  • บริหารกล้ามเนื้อแขนและมือ
  • ทำกายภาพหรือนวดอย่างถูกวิธี 
  • กรณีขาดวิตามินบี แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการให้วิตามินบี
  • การผ่าตัดเอ็นที่ไปกดรัดเส้นประสาทนั้น

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : เว็บไซต์โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์