การออกกำลังกายหลังผ่าตัดเต้านม

ข้อควรปฏิบัติหลังผ่าตัดเต้านม

  1. ควรสังเกตลักษณะผิวหนังว่า มีการเปลี่ยนแปลงของสีผิว หรือมีอาการปวดหรือบวมมากขึ่นหรือไม่
  2. ดูแลผิวหนังให้ชุ่มชื้และสะอาดอยู่เสมอ และดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ (6 แก้ว / วัน)
  3. เมื่อต้องออกนอกบ้านหรืออยู่กลางแจ้ง ควรสวมใส่เสื้อแขนยาว เพื่อป้องกันการขีดข่วนหรือการเกิดบาดแผล แมลงสัตว์กัดต่อย และแสงแดดที่ทำให้เกิดผิวไหม้จากแสงแดดได้
  4. ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้า ยกทรง และเครื่องประดับที่รัดแน่นเกินไป
  5. หลีกเลี่ยงการถือกระเป๋าหรือของหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม หรือการทํากิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวซ้า ๆ ของแขนข้างที่ผ่าตัด เช่น การถูบ้าน รีดผ้าหรือซักผ้า ในปริมาณมากๆ เป็นต้น
  6. หากต้องนั่งเป็นเวลานานมากกว่า 1 ชั่วโมง ควรยกแขนข้างที่ผ่าตัดให้สูงกว่าระดับหัวใจ ร่วมกับมีการเคลื่อนไหวของแขนข้างนั้นเป็นครั้งคราว เพื่อลดการบวมของแผลผ่าตัด
  7. หลีกเลี่ยงการอบซาวน่า หรือประคบร้อนบริเวณแผลผ่าตัดที่ยังไม่หายดี
  8. ไม่ควรนอนตะแคงทับข้างที่ผ่าตัด

ข้อห้ามในการออกกําลังกาย

  1. มีอาการอ่อนล้า และกล้ามเนื้ออ่อนแรงผิดปกติ
  2. มีอาการปวดแผล หรือปวดกล้ามเนื้อมากๆ หรือเป็นตะคริว
  3. ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ และ มีอาการเจ็บหน้าอก
  4. มีอาการคลื่นไส้ ความดันโลหิตลดลง หัวใจเต้นช้าลงหรือเร็วมากผิดปกติ ขณะออกกําลังกาย
  5. มีอาเจียนหรือท้องเสีย ในช่วง 24-36 ชั่วโมง ก่อนออกกําลังกาย
  6. มีอาการสับสน มึนงง มองภาพไม่ชัด เวียนศีรษะ หน้าซีด เป็นลม
  7. หลังการทําเคมีบําบัด 24 ชั่วโมง ควรงดออกกําลังกาย

ประโยชน์ของการออกกําลังกาย

  1. ป้องกันการติดแข็งของข้อต่อต่างๆ โดยเฉพาะข้างที่ผ่าตัด
  2. ช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหว และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเอ็น
  3. ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  4. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด และระบบน้ำเหลือง
  5. ช่วยทําให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจําวัน และทํากิจกรรมต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น

การออกกำลังกาย ท่าละ 10 ครั้ง วันละ 2-3 รอบ

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการชามือจากอฟฟิศซินโดรม

อาการชามือจากอฟฟิศซินโดรม

อาการชามือจากอฟฟิศซินโดรม อาการชามือเป็นหนึ่งในอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม พบได้บ่อยในวัยทำงาน โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานใช้นิ้วมือมากเกินไปจนเกิดการเกร็ง การกดเบียด และสั่นสะเทือนถึงเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการชาขึ้นได้ ซึ่งมักจะเริ่มจากอาการชาที่ฝ่ามือและนิ้ว ในขณะที่ใช้งานอย่างต่อเนื่อง หากเป็นมากอาจมีอาการชาจนเหมือนเป็นเหน็บทั้งที่ไม่ได้ใช้งานอยู่ บางรายอาจปวดตอนกลางดึกจนต้องตื่นมาบวดฝ่ามือ ซึ่งอาการดังกล่าวหากปล่อยไว้นานจะทำให้เกิดอาการอ่อนกำลังของมือจนถึงเกิดอาการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อมือได้ สาเหตุของอาการมือชา อาการมือชาจากออฟฟิศซินโดรมส่วนมากเกิดจากหารหนาตัวของเอ็นกระดูกบริเวณข้อมือหรือที่บริเวณอุโมงค์ข้อมือจนกดรัดเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อฝ่ามือ และเส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกที่ฝ่ามือ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อมือมาก ๆ จึงทำให้เกิดการระคายมากขึ้น ผู้ที่มีควมเสี่ยงเกิดอาการมือชา พนักงานออฟฟิศ ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพทืเป็นเวลานาน กุ๊ก แม่ครัว ช่างทำผม แม่บ้าน-พนักงานทำความสะอาด ผู้ป่วยเบาหวาน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ สตรีตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีข้อต่อกระดูกคอเสื่อม รวมถึงการขาดวิตามินบี การป้องกันและรักษาอาการมือชา ลดการใช้งาน เปลี่ยนพฤติกรรม หรือจัดท่าการใช้งานให้เหมาะสม ไม่ควรงอข้อมือมากเกินไป ใช้อุปกรณ์ช่วยประคองข้อมือสำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้ข้อมือพัก การรัษาอาการมือชา รักษาด้วยยาต้านการอักเสบ กำจัดปัจจัยเสี่ยง เช่น หากเกิดจากการใช้งานเยอะ ให้พักใช้ชั่วคราว ลดการสั่นสะเทือน ปรับท่าการใช้งานแขนและมืออย่างเหมาะสม บริหารกล้ามเนื้อแขนและมือ ทำกายภาพหรือนวดอย่างถูกวิธี กรณีขาดวิตามินบี แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการให้วิตามินบี การผ่าตัดเอ็นที่ไปกดรัดเส้นประสาทนั้น ขอขอบคุณข้อมูลจาก : เว็บไซต์โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์

การรักษาด้วยคลื่นกระแทก

การรักษาด้วยคลื่นกระแทก

ท่านั่งที่ควรเปลี่ยน ถ้าไม่อยากมีอาการปวดหลัง

ท่านั่งที่ควรเปลี่ยน ถ้าไม่อยากมีอาการปวดหลัง

การนั่งทำงาน อาจจะดูสบาย ๆ แต่ถ้าทำต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ อาจเป็นภัยเงียบที่คอยทำลายสุขภาพทีละนิดก็เป็นได้ การนั่งทำงานผิดท่าสามารถนำมาซึ่งผลกระทบต่อสุขภาพร้ายแรง บางคนต้องกินยาประจำ บางคนอาจต้องกายภาพบำบัด หรือบางคนอาจถึงขั้นต้องผ่าตัด แต่เพื่อไม่ให้ไปถึงขั้นนั้นควรรีบปรับตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีในวันข้างหน้า 4 ท่านั่งทำงาน ที่เสี่ยงทำลายสุขภาพระยะยาว 1.นั่งไขว่ห้าง 2.นั่งขัดสมาธิ 3.นั่งหลังงอ หลังค่อม 4.นั่งไม่เต็มก้น ทั้งนี้ควรปรับท่าทางการนั่งให้ถูกต้อง - ปรับเก้าอี้ให้ได้ระดับเดียวกับโต๊ะ - นั่งทำงานได้โดยที่ฝ่าเท้าแตะพื้นพอดี - ข้อศอกตั้งฉาก 90 องศา ขนานไปกับโต๊ะ - หลังต้องชิดติดกับพนักพิง - บริเวณก้นกบไม่ควรเหลือช่องว่าง - อาจหาหมอนเล็ก ๆ ม้วนผ้าขนหนู หรือใช้หมอนรองหลัง จะช่วยให้เรานั่งหลังตรงได้อัตโนมัติ ช่วยรับน้ำหนัก ทำให้แผ่นหลังไม่เกร็งตึง และนั่งทำงานนาน ๆ ได้สบายขึ้น นอกจากปรับท่านั่งแล้ว พื้นที่ทำงานควรมีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อลดความเสี่ยงของจอประสาทตาเสื่อมจากการจ้องจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ควรอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก และอย่าลืมขยับท่าทางเปลี่ยนอิริยาบถ ลุกขึ้นเดินยืดเส้นยืดสายอย่างน้อยทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง ให้เลือดได้ไหลเวียน และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ฝึกทำให้ชินจนเป็นนิสัย จะได้ไม่ปวดหลัง ปวดไหล่ ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS Wellness Clinic และ BDMS สถานีสุขภาพ

รักษาอาการปวดด้วยคลื่นแม่เหล็ก

รักษาอาการปวดด้วยคลื่นแม่เหล็ก

ออกกำลังกายหนักเกินไปมีผลเสียอย่างไร

ออกกำลังกายหนักเกินไปมีผลเสียอย่างไร

ออกกำลังกายหนักเกินไปมีผลเสียอย่างไร การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมมีผลดีต่อสุขภาพในหลายด้าน แต่ในทางกลับกัน การออกกำลังกายมากเกินไปก็สามารถทำให้เกิดผลเสียต่อร่ายกายตามมาได้เช่นกัน โดยการออกกำลังกายมากขึ้นอาจทำให้เกิดผลต่อร่างกายดังต่อไปนี้ เกิดการบาดเจ็บของร่างกาย รบกวนการนอนหลับ ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ออกกำลังกายแค่ไหนจึงจะเหมาะสม โดยทั่วไปการออกกำลังกายที่เหมาะสม คือ ครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับประเภทและความหนักของการออกกำลังกายชนิดนั้น ๆ รวมถึงภาวะสุขภาพมีความแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล ดังนั้นแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เทรนเนอร์ และแพทย์ประจำตัว(กรณีมีโรคประจำตัว) เพื่อการวางแผนออกกำลังกายอย่างเหมาะสมกับตนเอง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

การออกำลังกายเพื่อลดปวดคอ บ่า ไหล่

การออกำลังกายเพื่อลดปวดคอ บ่า ไหล่

การออกกำลังกายเพื่อลดอาการปวดคอ บ่า ไหล่