ภาวะเท้าแบนในเด็กวัยรุ่น
เท้าแบน คือภาวะผิดปกติของอุ้งเท้าบริเวณกลางเท้ามีลักษณะแบน มีอุ้งเท้าด้านในราบไปกับพื้น ซึ่งจะเห็นชัดเมื่อมีการลงน้ำหนัก หากมองจากด้านหลังจะพบเส้นเท้ามีลักษณะบิดออกด้านนอก ภาวะดังกล่าวทำให้กลไกการทำงานของเท้าและข้อเท้าผิดปกติ ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดและอาจนำไปสู่ความผิดรูปของข้อเท้าและนิ้วเท้าตามมาได้
อาการภาวะเท้าแบน
ภาวะเท้าแบน ในระยะเริ่มต้นมักไม่มีอาการหรือมีอาการเฉพาะหลังเดินหรือเป็นเวลานาน แต่เมื่อการดำเนินโรคมีความรุนแรงมากขึ้น อาการเจ็บมักมากขึ้นรอบ ๆ ข้อเท้าและอุ้งเท้า หรือมีภาวะเท้าแบนที่เห็นชัดมากขึ้น จึงแนะนำให้พบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
- เจ็บอุ้งเท้าและส้นเท้า แม้สวมใส่รองเท้าได้ดีและนุ่มสบายแล้ว
- ฝ่าเท้าด้านในบวมขึ้น มีการอักเสบบวมแดงตามเส้นเอ็นรอบ ๆ ข้อเท้า
- ทรงตัวลำบาก ยืนเขย่งขาไม่ได้ หรือเดินขึ้นลงบันไดลำบาก
- ไม่สามารถสวมใส่รองเท้าที่เคยใส่ได้ หรือรู้สึกอุ้งเท้าแบนมากยิ่งขึ้น
- รู้สึกชาฝ่าเท้า หรือเส้นเอ็นนิ้วเท้าอ่อนแรงหรือผิดรูปมากขึ้น
การรักษาภาวะแท้าแบน
การรักษาภาวะเท้าแบนส่วนใหญ่สามารถรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด เช่น ใช้แผ่นรองเท้า กายอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงอุปกรณ์พยุงข้อเท้าต่าง ๆ ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงและสาเหตุของโรค ร่วมกับการทำกายภาพที่เน้นการยืดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะเอ็นร้อยหวาย และการลดการอักเสบของเส้นเอ็นด้วยเครื่องเลเซอร์หรืออัลตราซาวนด์ ร่วมกับการรับประทานยาแก้อักเสบ ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองการรักษาด้วยวิธีข้างต้น การผ่าตัดอาจมีความจำเป็นเพื่อจัดแนวกระดูกหรือเพิ่มความแข็งแรงของเส้นเอ็นพยุงอุ้งเท้าเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาเดิน วิ่ง รวมถึงออกกำลังกายได้ตามปกติ แต่ในผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีข้างต้นไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดต่อไป
ตัวอย่างเคส
ผู้ป่วยรายนี้เป็นเด็กมาปรึกษาด้วยภาวะเท้าแบน ตรวจร่างกายจึงพบว่าเป็นภาวะเท้าแบนแบบยืดหยุ่น หลังจากได้ลองทำการรักษาด้วยการทำกายภาพ ร่วมกับการใส่แผ่นรองเท้าแต่อาการยังไม่ดีขึ้น เนื่องจากความผิดรูปค่อนข้างเยอะ แพทย์จึงได้ทำการผ่าตัดใส่สกรู (HyProCure® Titanium Stent) เพื่อปรับแนวรูปเท้าแบน
เป้าหมายการผ่าตัดรักษา ได้แก่
- แก้ไขความผิดรูปของเท้า ป้องกันการผิดรูปที่มากขึ้น
- คงสภาพเท้าที่มีความยืดหยุ่นที่ดี
- ผ่าตัดแบบแผลเล็ก ฟื้นตัวไว
เนื่องจากเคสนี้เป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก นอน รพ. 2 คืน ก็สามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้ โดยใช้เวลาทำกายภาพและพักฟื้นต่อ 2-4 สัปดาห์ ก็สามารถกลับมาเดินได้เป็นปกติ
ผ่าตัดรักษาโดย นพ.ปริญญา มณีประสพโชค