การผ่าตัดรักษานิ้วหัวแม่เท้าเกรุนแรง (Hallux Valg)
1. ผ่าตัดเชื่อมข้อโคนกระดูกนิ้วโป้งเท้า เพื่อปรับแนวกระดูกให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
-(24-01-2023)-(11-25-37).png)
กระดูกงอกบริเวณเท้าและข้อเท้า
" กระดูกงอกบริเวณเท้าและข้อเท้า 5 ตำแหน่งยอดนิยม " #ปวดข้อเท้าเรื้อรัง การปวดเท้าหรือข้อเท้าเรื้อรังไม่หาย บางครั้งเมื่อตรวจด้วยภาพรังสีวินิจฉัย #อาจจะพบกระดูกงอกได้ โดยที่กระดูกงอกนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การบาดเจ็บและความเสื่อมของเส้นเอ็น การใช้ข้อเท้าหนักๆจากการเล่นกีฬา กระดูกข้อเสื่อม หรือเป็นตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งจากการที่ ปุ่มกระดูกมีการเชื่อมตัวผิดปกติ วันนี้หมอจะพามารู้จักกับ 5 ตำแหน่งยอดนิยมของการเกิดกระดูกงอกบริเวณเท้าและข้อเท้า 1.กระดูกงอกบริเวณส้นเท้าด้านหลัง (Haglund’s deformity) กระดูกงอกบริเวณนี้มักสัมพันธ์กับโรคจุดเกาะเอ็นร้อยหวายเสื่อมและอักเสบ เจ็บส้นเท้าด้านหลังเรื้อรัง กล้ามเนื้อน่องตึง ใส่รองเท้าได้ลำบาก 2.กระดูกงอกบริเวณส้นเท้าด้านล่าง (Calcaneal spur) พบได้ในผู้ป่วยโรครองช้ำ มีอาการเจ็บแปล๊บๆบริเวณส้นเท้าโดยเฉพาะช่วงตื่นนอนตอนเช้า 3.กระดูกงอกบริเวณอุ้งเท้าด้านใน (Accessory navicular) เกิดจากการไม่เชื่อมกันของปุ่มกระดูกตั้งแต่แรกเกิด (ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 25-30 ในประชากร) ส่งผลให้เส้นเอ็นพยุงอุ้งเท้าที่มาเกาะกระดูกบริเวณนี้เกิดการอักเสบ เกิดอาการปวดข้อเท้าด้านในเรื้อรัง มักพบสัมพันธ์กับภาวะเท้าแบน 4.กระดูกงอกบริเวณข้อเท้าด้านหน้า (Anterior ankle impingement) กระดูกงอกชนิดนี้มักพบใน ผู้เล่นกีฬาเป็นประจำ เช่น ฟุตบอล มีอาการปวดข้อเท้าบวมๆยุบๆเป็นๆหาย ปวดมากขึ้นเวลากระดกข้อเท้าขึ้นสุด หรือนั่งยองๆ 5.กระดูกงอกบริเวณข้อเท้าด้านหลัง (Posterior ankle impingement) สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากไม่เชื่อมกันของปุ่มกระดูกบริเวณข้อเท้าด้านหลัง(Os trigonum) ทำให้เกิดกระดูกงอกไปกดเส้นเอ็นและเกิดการอักเสบตามมมา ผู้ป่วยจะมีมีอาการมากขึ้น ในท่าจิกข้อเท้าลงสุด หรือทำกิจกรรมที่ต้อง เขย่งเท้า การรักษาภาวะกระดูกงอกเริ่มด้วยวิธีการอนุรักษ์นิยมก่อน ได้แก่ พักการใช้งาน การประคบเย็น กินยาต้านการอักเสบระยะสั้น การปรับเปลี่ยนรองเท้า การบริหารยืดเส้นเอ็นร้อยหวาย แต่ถ้าหากอาการปวดเรื้อรัง ไม่ดีขึ้นแนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจภาพถ่ายรังสีวินิจฉัย( X-ray) เพื่อประเมินขนาดและการกดทับเนื้อเยื่อโดยรอบ รวมถึงพิจารณาทางเลือก การผ่าตัดนำกระดูกงอกออก โดยวิธีการแบบเปิดหรือส่องกล้อง ที่ให้ผลการรักษาที่ดีเช่นกัน บทความโดย นพ.ปริญญา มณีประสพโชค เพราะเราอยากให้ทุกคนมีสุขภาพเท้าที่ดี #คลินิกศัลยกรรมเท้าและข้อเท้า #ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
-(05-08-2024)-(16-05-12).png)
ภาวะเท้าแบนในเด็กและวัยรุ่น
ภาวะเท้าแบนในเด็กวัยรุ่น เท้าแบน คือภาวะผิดปกติของอุ้งเท้าบริเวณกลางเท้ามีลักษณะแบน มีอุ้งเท้าด้านในราบไปกับพื้น ซึ่งจะเห็นชัดเมื่อมีการลงน้ำหนัก หากมองจากด้านหลังจะพบเส้นเท้ามีลักษณะบิดออกด้านนอก ภาวะดังกล่าวทำให้กลไกการทำงานของเท้าและข้อเท้าผิดปกติ ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดและอาจนำไปสู่ความผิดรูปของข้อเท้าและนิ้วเท้าตามมาได้ อาการภาวะเท้าแบน ภาวะเท้าแบน ในระยะเริ่มต้นมักไม่มีอาการหรือมีอาการเฉพาะหลังเดินหรือเป็นเวลานาน แต่เมื่อการดำเนินโรคมีความรุนแรงมากขึ้น อาการเจ็บมักมากขึ้นรอบ ๆ ข้อเท้าและอุ้งเท้า หรือมีภาวะเท้าแบนที่เห็นชัดมากขึ้น จึงแนะนำให้พบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้ เจ็บอุ้งเท้าและส้นเท้า แม้สวมใส่รองเท้าได้ดีและนุ่มสบายแล้ว ฝ่าเท้าด้านในบวมขึ้น มีการอักเสบบวมแดงตามเส้นเอ็นรอบ ๆ ข้อเท้า ทรงตัวลำบาก ยืนเขย่งขาไม่ได้ หรือเดินขึ้นลงบันไดลำบาก ไม่สามารถสวมใส่รองเท้าที่เคยใส่ได้ หรือรู้สึกอุ้งเท้าแบนมากยิ่งขึ้น รู้สึกชาฝ่าเท้า หรือเส้นเอ็นนิ้วเท้าอ่อนแรงหรือผิดรูปมากขึ้น การรักษาภาวะแท้าแบน การรักษาภาวะเท้าแบนส่วนใหญ่สามารถรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด เช่น ใช้แผ่นรองเท้า กายอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงอุปกรณ์พยุงข้อเท้าต่าง ๆ ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงและสาเหตุของโรค ร่วมกับการทำกายภาพที่เน้นการยืดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะเอ็นร้อยหวาย และการลดการอักเสบของเส้นเอ็นด้วยเครื่องเลเซอร์หรืออัลตราซาวนด์ ร่วมกับการรับประทานยาแก้อักเสบ ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองการรักษาด้วยวิธีข้างต้น การผ่าตัดอาจมีความจำเป็นเพื่อจัดแนวกระดูกหรือเพิ่มความแข็งแรงของเส้นเอ็นพยุงอุ้งเท้าเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาเดิน วิ่ง รวมถึงออกกำลังกายได้ตามปกติ แต่ในผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีข้างต้นไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดต่อไป ตัวอย่างเคส ผู้ป่วยรายนี้เป็นเด็กมาปรึกษาด้วยภาวะเท้าแบน ตรวจร่างกายจึงพบว่าเป็นภาวะเท้าแบนแบบยืดหยุ่น หลังจากได้ลองทำการรักษาด้วยการทำกายภาพ ร่วมกับการใส่แผ่นรองเท้าแต่อาการยังไม่ดีขึ้น เนื่องจากความผิดรูปค่อนข้างเยอะ แพทย์จึงได้ทำการผ่าตัดใส่สกรู (HyProCure® Titanium Stent) เพื่อปรับแนวรูปเท้าแบน เป้าหมายการผ่าตัดรักษา ได้แก่ แก้ไขความผิดรูปของเท้า ป้องกันการผิดรูปที่มากขึ้น คงสภาพเท้าที่มีความยืดหยุ่นที่ดี ผ่าตัดแบบแผลเล็ก ฟื้นตัวไว เนื่องจากเคสนี้เป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก นอน รพ. 2 คืน ก็สามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้ โดยใช้เวลาทำกายภาพและพักฟื้นต่อ 2-4 สัปดาห์ ก็สามารถกลับมาเดินได้เป็นปกติ ผ่าตัดรักษาโดย นพ.ปริญญา มณีประสพโชค
-(16-08-2023)-(09-04-40).jpg)
ปวดส้นเท้ารองช้ำเรื้อรัง
เรื่องเล่าจากห้องผ่าตัดกระดูก ปวดส้นเท้ารองช้ำเรื้อรัง… ระวังเสี่ยงกระดูกงอกใต้ส้นเท้า หากใครมีอาการปวดส้นเท้า ปวดคล้ายถูกมีดทิ่มส้นเท้า โดยเฉพาะช่วงก้าวแรกหลังตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังการยืนเป็นระยะเวลานาน… คุณอาจจะกำลังเป็นโรครองช้ำเรื้อรัง ที่มีกระดูกงอกร่วมด้วย ดังเช่นคนไข้รายนี้ จากภาพ รังสีวินิจฉัย พบกระดูกงอกส้นเท้า ความยาว 8 มิลลิเมตร คนไข้ได้รับการรักษาด้วยวิธีการอนุรักษ์นิยมแล้วอาการปวดยังไม่ดีขึ้น ปวดทุกก้าวที่เดิน หมอจึงพิจารณาทำการรักษาโดยการผ่าตัดส่องกล้อง ยืดเอ็นร้อยหวาย ยืดพัดผืดฝ่าเท้า และ เอากระดูกงอกส้นเท้าออก ( Endoscopic gastrocnemius recession, Endoscopic plantar fascia release, Endoscopic heel spur removal) โดยแผลผ่าตัดผ่านกล้องมีขนาดเล็ก ฟื้นตัวได้ไว ประมาณ 4-6สัปดาห์ ก็สามารถกลับมาเดินได้เป็นปกติ โดย นพ.ปริญญา มณีประสพโชค ศัลยแพทย์ ออร์โธปิดิกส์ เฉพาะทางกระดูกเท้าและข้อเท้า สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกศัลยกรรมเท้าและข้อเท้า โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888