การเตรียมตัวตรวจ Skin Test

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะฉุกเฉินในเด็ก

ภาวะฉุกเฉินในเด็ก

วัยเด็กเป็นวัยที่เปราะบาง และต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใหญ่ โดยผู้ใหญ่จะต้องเป็นผู้ที่คอยสังเกตความผิดปกติ โดยหากมีอาการดังต่ไปนี้ ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินและควรนำบุตรหลานส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน เมื่อเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง เช่น กินสารพิษ กินยาเกินขนาด หรือเลือดออกไม่หยุด หลังจากที่พยายามห้ามเลือดแล้ว เช่น การกด ฯลฯ หมดสติ เรียกไม่รู้สึกตัว ถูกงกัดู สัตว์มีพิษหรือแมลงต่อยแล้วเกิดอันตรายรุนแรงใน 30 นาที เช่น มีไข้ ปวดข้อ ปวดศีรษะ ลมพิษขึ้นทั้งตัว แน่นในคอ บวมมาก หมดสติ หายใจไม่ออก หายใจลําบาก กระวนกระวายหรือหน้าเขียว เด็กอาจชักเมื่อไข้สูงหรือลมบ้าหมู ให้เด็กนอนเอียงหน้า เอาเศษอาหาร ในปากหรือจมูกออก ห้ามเอาของแข็งหรือช้อนงัดปาก ถ้ามีไข้เช็ดตัวด้วย น้ำธรรมดา แล้วรีบพาเด็กไปห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด อย่าพยายามกรอกยาขณะเด็กชัก ปวดท้องรุนแรง งดอาหารและเครื่องดื่ม ห้ามกินยาถ่าย ถ้ามีไข้และ อาเจียนด้วย อาจเป็นไส้ติ่งอักเสบหรือโรคร้ายอื่นๆ อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด หรือเป็นสีดําจํานวนมาก อาจเป็นเพราะมีเลือดออกในกระเพาะหรือลําไส้ ท้องเสียในเด็กอ่อน เด็กเล็กๆ ถ่ายเพียง 3 - 4 ครั้ง ก็เสียน้ำได้มากๆ ถ้าเด็กมีอาการกระวนกระวาย ตัวร้อน ผิวแห้ง ปัสสาวะน้อยแสดงว่าขาดน้ำมาก สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ไวรัส hMPV อาการคล้ายหวัด ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

ไวรัส hMPV อาการคล้ายหวัด ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

เตือนผู้ปกครอง ระวังบุตรหลาน! ไวรัส hMPV (Human metapneumovirus) เริ่มระบาดสูงขึ้นช่วงปลายฝนต้นหนาวอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ยังไม่มีวัคซีนรักษา บางรายอาจเสี่ยงปอดอักเสบร่วม! Human metapneumovirus (hMPV) หรือเชื้อไวรัสฮิวแมนเมตะนิวโม เป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจ มีไข้ ไอ น้ำมูก คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ แต่ไม่ได้เป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่แต่อย่างใด ฤดูกาลที่พบการติดเชื้อมาก จะมี 2 ช่วง คือ ช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กๆมักมีอาการหวัด ติดเชื้อทางเดินหายใจได้บ่อย ซึ่งการตรวจหาเชื้อนั้นทำได้โดยมีทีการเดียวกับไข้หวัดใหญ่และ RSVโดยวิธีการ swab โดยมักพบอาการในกลุ่มเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ อาการผู้ที่ติดเชื้อไวรัส hMPV ผู้ป่วยมักมีอาการของระบบทางเดินหายใจ คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ คือ มีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ซึ่งพบมากในเด็กเล็กแต่ในผู้ใหญ่และเด็กโต ที่มีภูมิต้านทานดีหากติดเชื้อนี้ อาจจะมีอาการเหมือนแค่เป็นหวัดธรรมดา หรือไม่มีอาการก็ได้ อย่างไรก็ตามไวรัส hMPVเป็นกลุ่มโรคเดียวกันกับเชื้อไวรัส RSV เป็นสาเหตุหนึ่งของปอดอักเสบในเด็กเล็กและผู้สูงอายุด้วย การป้องกันโรคไวรัส hMPV เนื่องจาก ยังไม่มีวัคซีน หรือยาต้านไวรัสที่ใช้รักษาเชื้อนี้โดยตรงจึงเป็นการรักษาแบบประคับประคองเหมือนไข้หวัดใหญ่และ RSV ทั่วไป ขณะที่การป้องกันโรค จึงใช้หลักการเดียวกับการป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอื่นๆ คือล้างมือให้สะอาด ไม่เอามือไปแคะจมูกหรือเอามือเข้าปาก ไม่คลุกคลีกับคนที่ป่วย ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อไปในที่ชุมชนคนเยอะๆเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อทางเดินหายใจ รู้จักโรคปอดบวมจากไวรัส โรคปอดบวม มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ หรือโรคนิวโมเนีย (pneumonia) เป็นโรคติดเชื้อที่ปอด ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังเกิดจากการติดเชื้อโรคชนิดอื่นๆ ได้ เช่น เชื้อไมโคพลาสมา (mycloplasma) และเชื้อรา ซึ่งทำให้เกิดอาการไอ หายใจลำบาก และหอบเหนื่อย อาการโรคปอดบวมที่ควรสังเกต อาการปอดบวมอาจสังเกตได้จากการมีไข้ ไอ หายใจเร็ว หอบเหนื่อย หายใจลำบาก หายใจแรงจนรูจมูกบาน หายใจแรงมากจนหน้าอกบุ๋ม เกิดหลอดลมภายในปอดตีบก็อาจได้เกิดเสียงหายใจวี๊ด (wheeze) รายที่มีอาการรุนแรงมากอาจทำให้ภาวะหัวใจล้มเหลว และถ้าหายใจลำบากอยู่นาน จะทำให้ขาดออกซิเจน ผู้ป่วยอาจซึมลง หรือหมดสติในที่สุด การรักษาโรคปอดบวมโดยทั่วไปจะรักษาด้วยวิธีใด? แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ ในรายที่หอบมากจนรับประทานอาหารไม่ได้ ควรให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และงดรับประทานอาหารทางปากเพื่อป้องกันการสำลัก ให้ออกซิเจน เพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณออกซิเจนที่เพียงพอ ให้ยาขยายหลอดลมสำหรับรายที่หลอดลมตีบจนเกิดเสียงหายใจวี๊ด พิจารณาให้ยาขับเสมหะ หรือยาละลายเสมหะในกรณีที่ให้สารน้ำเต็มที่แล้วแต่เสมหะยังเหนียวอยู่ ไม่ควรให้ยาที่ออกฤทธิ์กดการไอ โดยเฉพาะในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี เพราะยาที่กดการไอจะทำให้มีเสมหะคั่งค้างอยู่ภายในถุงลมปอดมากขึ้น ควรให้ผู้ป่วยไออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เสมหะออกมามากที่สุด การรักษาอาการปอดบวมตามชนิดของเชื้อโรค ถ้าเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยทั่วไปไม่มียารักษาที่เฉพาะ การรักษาส่วนใหญ่จึงเป็นการรักษาตามอาการ รวมถึงการบำบัดรักษาทางระบบหายใจที่เหมาะสม เช่น การเคาะปอด การดูดเสมหะ ในกรณีที่ตรวจพบว่าเกิดจากเชื้อไวรัสที่มียารักษาเฉพาะ เช่น เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ร่วมด้วยถ้าเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ควรรักษาด้วยยาปฏิชีวนะให้เร็วที่สุด และเลือกยาปฏิชีวนะที่เหมาะกับเชื้อแบคทีเรียแต่ละชนิด โดยใช้ข้อมูลทางระบาดวิทยาคลินิกในการตัดสินใจเลือกยาปฏิชีวนะนั้น ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

โรคปอดอักเสบในเด็ก

โรคปอดอักเสบในเด็ก

โรคปอดอักเสบในเด็ก สาเหตุที่ทําให้เด็กป่วยเป็นโรคปอดบวมเกิดจากการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ช่วงแรกอาจเป็นแค่หวัด มีไข้ธรรมดา ต่อมาอาจลุกลามเป็นปอดอักเสบได้ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปอดบวมคือ เด็กที่อายุน้อยมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย มีภาวะทุพโภชนาการ มีโรคหัวใจพิการแต่กําเนิดหรือมีโรคปอดร่วมด้วย เด็กที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำหรืออยู่ในชุมชนแออัด สุขาภิบาลไม่ดี อยู่ในที่ ๆ มีควันพิษมากจะมีโอกาสเป็นโรคปอดบวมได้มากกว่าเด็กปกติ เชื้อที่ทําให้เกิดโรคปอดอักเสบส่วนมากเป็นเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย มีส่วนน้อยที่เกิดจากเชื้ออื่น เช่น เชื้อรา Preumocyshic Carinii เป็นต้น ผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสส่วนมากอาการไม่รุนแรง อาจดีขึ้นได้เองและมีอัตราการเสียชีวิตต่ำ เมื่อเทียบกับเชื้อแบคทีเรีย เชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธี เช่น การสูดหายใจเข้าไป การสําลัก การกระจายของเชื้อตามกระแสเลือดไปสู่ปอด ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่ติดเชื้อโดยการสูดสําลักเอาเชื้อก่อโรคที่อยู่บริเวณคอเข้าไปในหลอดลมส่วนปลาย หรือถุงลมปอด หากจํานวนเชื้อที่สูดสําลักเข้าไปที่ถุงลมมมากเกินกว่าร่างกายจะกําจัดออกได้ เชื้อเหล่านี้จะแบ่งตัวและก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบตามมา อาการของเด็กที่ปอดบวมแบ่งออกได้เป็น อาการไม่เฉพาะเจาะจง คือผู้ป่วยจะมีไข้อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย ร้องกวนและงอแง ผู้ป่วยบางรายจะมีหนาวสั่นได้ ในเด็กทารกอาการแสดงของโรคปอดอักเสบส่วนมากจะไม่มีลักษณะเฉพาะ ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้ อาจมี อาการซึม อาเจียน และไม่ยอมดูดนม ผู้ป่วยปอดอักเสบส่วนใหญ่จะมีอาการไอ หายใจเร็ว บางรายอาจมีอาการหายใจลําบาก หายใจตื้นและเร็ว จมูก บานเวลาหายใจ ในเด็กอายุต่ำกว่า 3 เดือน แพทย์จะไม่พบอาการไอเป็นอาการสําคัญ ในผู้ป่วยเด็กโตนอกจากจะมีอาการไข้ หนาวสั่น ไอและหายใจเร็วแล้วบางรายจะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด หรือมีอาการเขียวได้ เมื่อผู้ป่วยหายจากปอดอักเสบแล้ว ส่วนใหญ่แล้วหน้าที่ของปอดจะกลับมาเป็นปกติ ความผิดปกติของภาพรังสีทรวงอกจะหายไปประมาณ 6-8 สัปดาห์ บางรายงานพบว่าผู้ป่วยปอดอักเสบในวัยเด็กจะมีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดที่ลดลงกว่าปกติ เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ผู้ป่วยที่เป็นปอดอักเสบจากเชื้อที่รุนแรง เช่น เชื้อหัด เชื้อไข้หวัดใหญ่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนคือ หลอดลมบางส่วนเสียแบบถาวร ฯลฯ ดังนั้นหากบุตรหลานของท่านมีอาการไข้ ไอ หอบ ควรรีบพามาพบแพทย์โดยเร็วเพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

การเตรียมตัวทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Test)

การเตรียมตัวทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Test)

ปกป้องลูกน้อยจากภูมิแพ้ ต้องแก้ที่ต้นเหตุ

ปกป้องลูกน้อยจากภูมิแพ้ ต้องแก้ที่ต้นเหตุ

#โรคภูมิแพ้ เป็น โรคที่พบได้บ่อยในเด็ก และพบได้ในเด็กตั้งแต่วัยแรกเกิดเป็นต้นมา พ่อแม่หลาย ๆ คนคิดว่า เพราะลูกยังเล็กจึงเป็นภูมิแพ้เมื่อโตขึ้นไปอาการของโรคอาจจะหายไปเอง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่ควรจะทำคือการพบแพทย์เพื่อหาแนวทางแก้ไข และเพื่อเป็นการรับมือกับโรคภูมิแพ้ที่จะเกิดขึ้นกับลูกน้อยของคุณ วันนี้จะพาไปรู้จักกับภูมิแพ้ในเด็ก 2 กลุ่ม คือ 1.ภูมิแพ้ในเด็กแรกเกิด และวัยเตาะแตะ ซึ่งในกลุ่มนี้มักจะพบปัญหาผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการแพ้นมวัว ไข่ แป้งสาลี ที่โดยมากแล้วมักจะเกิดขึ้นบ่อยที่บริเวณใบหน้า ข้อพับแขนขา และข้อศอกของเด็กเป็นต้น และภูมิแพ้อีกกลุ่มหนึ่งที่พบได้มากในช่วงวัยนี้ก็คือ ภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมักจะแสดงออกด้วยอาการหอบหืด ไอมาก 2.ภูมิแพ้ในเด็กก่อนวัยเรียนถึงเด็กโต เด็กในช่วงวัยนี้มักจะพบปัญหาสุขภาพเรื่องของการแพ้อากาศ จาม คัดจมูกได้บ่อย โดยเฉพาะเด็กที่เพิ่งเข้าชั้นอนุบาลใหม่ ๆ ซึ่งเป็นช่วงที่น้อง ๆ ยังไม่มีภูมิคุ้มกันที่ดี อย่างไรก็ตามช่วงนี้เด็กจะเป็นหวัดได้บ่อย จึงทำให้อาจแยกไม่ออกระหว่างโรคภูมิแพ้กับเชื้อหวัด ซึ่งหากเป็นเช่นนี้อาจจะต้องต้องพบแพทย์เพื่อทำการซักประวัติทำการรักษาเพิ่มเติม #แนะนำแพทย์เฉพาะทาง พญ.ภัทรดา ธานี แพทย์ชำนาญการ สาขา กุมารเวชศาสตร์ อนุสาขา กุมารเวชศาสตร์ #โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ในเด็ก เช็กเวลาออกตรวจ และนัดหมายแพทย์ https://doctor.bangkokhospitalchanthaburi.com/alldoctor...

โรต้าไวรัส

โรต้าไวรัส

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง