ภาวะชักจากไข้สูง

เมื่อเด็กมีไข้และชักควรปฏิบัติอย่างไร

ภาวะชักจากไข้มีพยากรณ์โรคที่ดีไม่ทําให้สติปัญญาถดถอยหรือมีการทําลายของเนื้อสมองอย่างถาวร
ดังนั้นไม่ต้องตกใจควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

  1. ป้องกันการอุดตันของเสมหะโดยจับเด็กนอนหงายหันศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือนอนตะแคงศีรษะต่ำเล็กน้อย ดูดเสมหะเพื่อให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวก
  2. ห้ามใช้สิ่งของเพื่องัดฟัน เช่น ด้ามช้อนหรือนิ้ว จะทําให้เกิดอันตรายต่อเด็กและยังจะทําให้ผู้พยาบาลเด็กได้รับบาดเจ็บไปด้วย
  3. คลายเสื้อผ้าออกเพื่อสะดวกต่อการปฐมพยาบาล
  4. เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำก๊อกเพื่อคลายความร้อน
  5. ไม่พยายามเขย่าหรือตีเด็ก
  6. ถ้าชักเกิน 10 นาทีหรือชักซ้ำ ขณะที่ยังไม่ฟื้นเป็นปกติ ต้องรีบนําเด็กส่งโรงพยาบาลพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและการรักษาที่ถูกต้อง

ข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันชักเมื่อเด็กมีไข้

  1. ให้ยาลดไข้ เมื่อเริ่มมีไข้ทุก 4-6 ชั่วโมง
  2. เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น หรือน้ำธรรมดา
  3. การให้ยากันชักมีข้อบ่งชี้คือ คนไข้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการกลายเป็นโรคลมชัก มีประวัติชักโดยไม่มีไข้ในครอบครัว และมีการพัฒนาที่ผิดปกติก่อนชัก หรือชักเฉพาะที่

เด็กที่ชักจากไข้ไม่ต้องให้ยาป้องกันชัก ในบางกรณีที่ผู้ปกครองกังวลมากอาจเลือกใช้ยาป้องกันอาการชักเฉพาะ เมื่อเด็กมีไข้เท่านั้น แต่ยาดังกล่าวจะมีผลข้างเคียงทําให้เด็กง่วงซึมและมีความเสี่ยงต่อการบดบังอาการของการติดเชื้อขึ้นไปบนสมองได้

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

ท้องเสียจากโนโรไวรัส

ท้องเสียจากโนโรไวรัส

โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก

โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก

โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก หูของมนุษย์จะประกอบด้วยสามส่วนหลัก ได้แก่ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน หูชั้นกลางของเราจะมีการเชื่อมต่อกับช่องปากด้านหลังผ่านทางท่อเล็กๆ เรียกว่าท่อ ยูสเตเชี่ยนเมื่อเราเป็นหวัดมีการติดเชื้อบริเวณคอหรือจมูก หรือเป็นจมูกอักเสบ จากภูมิแพ้ ท่อยูสเตเชี่ยนจะบวมและตัน ทําให้เกิดการสะสมของน้ำในหูชั้นกลาง หากมีเชื้อในน้ำก็จะเกิดการอักเสบ ทําให้แก้วหูมีการบวมและปวดหูได้อย่างมากเกิดเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบขึ้นมา โรคหูชั้นกลางอักเสบพบได้ทุกวัย แต่มักพบบ่อยในเด็กอายุระหว่าง 3 เดือน ถึง 3 ปี ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคนี้ ได้แก่ อายุ : เนื่องจากเด็กเล็กจะมีโอกาสเกิดการอุดตันของท่อยูสเตเชี่ยน ได้มากกว่าเด็กโต เพศ : พบได้เพศชาย ได้มากกว่าเพศหญิง กรรมพันธุ์ : หากมีพ่อแม่พี่น้องที่เป็นหูอักเสบบ่อยๆ มักพบว่าเด็กจะมีโอกาสมากขึ้นที่จะเป็นหูอักเสบซ้ำซ้อน หวัดและภูมิแพ้ : ทั้งสองภาวะจะทําให้เกิดการอุดตันของท่อยูสเตเชี่ยน และนําไปสู่ภาวะติดเชื้อได้ง่ายๆ บุหรี่ : พบว่าการสูบบุหรี่ของบุคคลในบ้านเดียวกัน หรือในยานพาหนะที่เด็กเดินทาง ทําให้เด็กมีปัญหาสุขภาพได้หลายประการ รวมทั้งการติดเชื้อของหูชั้นกลางด้วย การดูดขวดนม : โดยเฉพาะการนอนดูดนมจะทําให้หูอักเสบได้บ่อยกว่าเด็กที่ทานนมแม่ หากจําเป็นต้องให้นมขวด ควรให้ในท่าที่ศีรษะเด็กอยู่สูงกว่ากระเพาะ เพื่อลดการสําลักและอุดตันของท่อยูสเตเชี่ยน ในเด็กที่มีอาการปวดหู แพทย์มักจะสั่งยาแก้ปวดลดไข้จําพวกพาราเซตามอล หรือไอบูโพรเพนให้รับประทานเมื่อมีอาการปวด ไม่ควรซื้อยาแก้ปวดลดไข้ แอสไพรินให้เด็กรับประทานเอง เนื่องจากอาจทําให้เกิดอันตรายเสียชีวิตได้ ใน บางครั้งการประคบน้ำอุ่นที่หู อาจช่วยลดอาการปวดได้แต่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในเด็กเล็กกว่า 1 ปี เพราะอาจเกิดอาการบวมพองได้ การนอนยกศีรษะให้สูงขึ้นก็จะช่วยลดอาการปวดหูได้ในเด็กโตอาจให้เคี้ยวหมากฝรั่ง หากสามารถเคี้ยวโดยไม่กลืนได้ ส่วนในเด็กเล็กอาจให้ดูดน้ำอุ่นหรือนมบ่อยขึ้น ก็จะช่วยให้ท่อยูสเตเชี่ยนเปิดและลดอาการปวดหูได้บ้าง ในบางครั้งหูชั้นกลางอักเสบอาจไม่ดีขึ้นได้ แม้จะได้ยาปฏิชีวนะไปแล้ว ในกรณีที่เด็กยังมีอาการไข้หรือปวดหูอยู่หลังเริ่มรับประทานยาแล้ว 2 – 3 วัน ให้นําเด็กกลับมาตรวจซ้ำอีกครั้งกับกุมารแพทย์ ทั้งนี้แพทย์อาจพิจารณาเปลี่ยนยาปฏิชีวนะเป็นตัวอื่นที่เหมาะสม เนื่องจากบางครั้งเชื้ออาจไม่ได้ตอบสนองดีกับยาที่ใช้เดิมเสมอไป สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

สมาธิสั้น

สมาธิสั้น

สมาธิสั้นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก ( ก่อนอายุ 7 ขวบ ) ที่เป็นผลจากความผิดปกติของสมองส่วนหน้า ทําให้มีผลกระทบต่อพฤติกรรม สมาธิ การจดจ่อ ใส่ใจ ทําให้มีปัญหาการเรียนรู้ การควบคุมอารมณ์ และการเข้าสังคมตามมา กลุ่มอาการที่พบ อาการขาดสมาธิ (Attention deficit ) : วอกแวกง่าย เหม่อลอย ไม่ตัองใจทํางาน ขี้ลืม ไม่รอบคอบ อาการหุนหัน พลันแล่น วู่วาม (Impulsive ) : ใจร้อน ทําอะไรไม่คิด พูดโพล่ง / พูดแทรก รอคอยไม่ได้ อาการซน อยู่ไม่นิ่ง (hyperactivity) : ยุกยิก อยู่ไม่นิ่ง ขยับตัวไปมา พูดมาก ชอบแกล้งเพื่อน เด็กบางคนอาจมีแค่อาการซน หุนหันเป็นอาการเด่น ( พบมากในเด็กผู้ชาย ) บางคนอาจมีแค่อาการขาดสมาธิเป็นอาการ เด่น หรืออาจพบทั้งสามกลุ่มอาการเลยก็ได้ เด็กคนอื่นเป็นกันเยอะไหม ในประเทศไทยประมาณกันว่าทุกๆเด็ก 100 คน จะมี 5 คน ที่มีอาการสมาธิสั้น ทําไมเป็นสมาธิสั้น เป็นผลจากพันธุกรรมหรือมารดาได้รับสารพิษระหว่างตั้งครรภ์ มีความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ( โดพามีน , นอร์อิพิเนพฟิน ) ส่งเสริมให้อาการรุนแรงมากขึ้นด้วยการเลี้ยงดูที่ไม่มีระเบียบวินัย เรารักษากันอย่างไร การกินยากลุ่ม Psychostimulant เพื่อกระตุ้นปรับสมดุลเคมีในสมอง ไม่ได้มีฤทธิ์กดประสาท ซึ่งพบว่ามีประสิทธิภาพดี แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หงุดหงิดง่าย อาการเหล่านี้สามารถหายได้เองเมื่อกินยาติดต่อกัน การกินยา ต่อเนื่องนี้ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตในระยะยาวของเด็ก การฝึกวินัยและการปรับพฤติกรรม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ไวรัส hMPV อาการคล้ายหวัด ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

ไวรัส hMPV อาการคล้ายหวัด ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

เตือนผู้ปกครอง ระวังบุตรหลาน! ไวรัส hMPV (Human metapneumovirus) เริ่มระบาดสูงขึ้นช่วงปลายฝนต้นหนาวอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ยังไม่มีวัคซีนรักษา บางรายอาจเสี่ยงปอดอักเสบร่วม! Human metapneumovirus (hMPV) หรือเชื้อไวรัสฮิวแมนเมตะนิวโม เป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจ มีไข้ ไอ น้ำมูก คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ แต่ไม่ได้เป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่แต่อย่างใด ฤดูกาลที่พบการติดเชื้อมาก จะมี 2 ช่วง คือ ช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กๆมักมีอาการหวัด ติดเชื้อทางเดินหายใจได้บ่อย ซึ่งการตรวจหาเชื้อนั้นทำได้โดยมีทีการเดียวกับไข้หวัดใหญ่และ RSVโดยวิธีการ swab โดยมักพบอาการในกลุ่มเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ อาการผู้ที่ติดเชื้อไวรัส hMPV ผู้ป่วยมักมีอาการของระบบทางเดินหายใจ คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ คือ มีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ซึ่งพบมากในเด็กเล็กแต่ในผู้ใหญ่และเด็กโต ที่มีภูมิต้านทานดีหากติดเชื้อนี้ อาจจะมีอาการเหมือนแค่เป็นหวัดธรรมดา หรือไม่มีอาการก็ได้ อย่างไรก็ตามไวรัส hMPVเป็นกลุ่มโรคเดียวกันกับเชื้อไวรัส RSV เป็นสาเหตุหนึ่งของปอดอักเสบในเด็กเล็กและผู้สูงอายุด้วย การป้องกันโรคไวรัส hMPV เนื่องจาก ยังไม่มีวัคซีน หรือยาต้านไวรัสที่ใช้รักษาเชื้อนี้โดยตรงจึงเป็นการรักษาแบบประคับประคองเหมือนไข้หวัดใหญ่และ RSV ทั่วไป ขณะที่การป้องกันโรค จึงใช้หลักการเดียวกับการป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอื่นๆ คือล้างมือให้สะอาด ไม่เอามือไปแคะจมูกหรือเอามือเข้าปาก ไม่คลุกคลีกับคนที่ป่วย ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อไปในที่ชุมชนคนเยอะๆเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อทางเดินหายใจ รู้จักโรคปอดบวมจากไวรัส โรคปอดบวม มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ หรือโรคนิวโมเนีย (pneumonia) เป็นโรคติดเชื้อที่ปอด ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังเกิดจากการติดเชื้อโรคชนิดอื่นๆ ได้ เช่น เชื้อไมโคพลาสมา (mycloplasma) และเชื้อรา ซึ่งทำให้เกิดอาการไอ หายใจลำบาก และหอบเหนื่อย อาการโรคปอดบวมที่ควรสังเกต อาการปอดบวมอาจสังเกตได้จากการมีไข้ ไอ หายใจเร็ว หอบเหนื่อย หายใจลำบาก หายใจแรงจนรูจมูกบาน หายใจแรงมากจนหน้าอกบุ๋ม เกิดหลอดลมภายในปอดตีบก็อาจได้เกิดเสียงหายใจวี๊ด (wheeze) รายที่มีอาการรุนแรงมากอาจทำให้ภาวะหัวใจล้มเหลว และถ้าหายใจลำบากอยู่นาน จะทำให้ขาดออกซิเจน ผู้ป่วยอาจซึมลง หรือหมดสติในที่สุด การรักษาโรคปอดบวมโดยทั่วไปจะรักษาด้วยวิธีใด? แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ ในรายที่หอบมากจนรับประทานอาหารไม่ได้ ควรให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และงดรับประทานอาหารทางปากเพื่อป้องกันการสำลัก ให้ออกซิเจน เพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณออกซิเจนที่เพียงพอ ให้ยาขยายหลอดลมสำหรับรายที่หลอดลมตีบจนเกิดเสียงหายใจวี๊ด พิจารณาให้ยาขับเสมหะ หรือยาละลายเสมหะในกรณีที่ให้สารน้ำเต็มที่แล้วแต่เสมหะยังเหนียวอยู่ ไม่ควรให้ยาที่ออกฤทธิ์กดการไอ โดยเฉพาะในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี เพราะยาที่กดการไอจะทำให้มีเสมหะคั่งค้างอยู่ภายในถุงลมปอดมากขึ้น ควรให้ผู้ป่วยไออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เสมหะออกมามากที่สุด การรักษาอาการปอดบวมตามชนิดของเชื้อโรค ถ้าเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยทั่วไปไม่มียารักษาที่เฉพาะ การรักษาส่วนใหญ่จึงเป็นการรักษาตามอาการ รวมถึงการบำบัดรักษาทางระบบหายใจที่เหมาะสม เช่น การเคาะปอด การดูดเสมหะ ในกรณีที่ตรวจพบว่าเกิดจากเชื้อไวรัสที่มียารักษาเฉพาะ เช่น เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ร่วมด้วยถ้าเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ควรรักษาด้วยยาปฏิชีวนะให้เร็วที่สุด และเลือกยาปฏิชีวนะที่เหมาะกับเชื้อแบคทีเรียแต่ละชนิด โดยใช้ข้อมูลทางระบาดวิทยาคลินิกในการตัดสินใจเลือกยาปฏิชีวนะนั้น ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

การดูแลเด็กสมาธิสั้นสำหรับคุณครู

การดูแลเด็กสมาธิสั้นสำหรับคุณครู

การรักษาเด็กสมาธิสั้นประกอบด้วยการรักษาด้วยยา และการฝึกวินัย การปรับพฤติกรรม ดังนั้นครูจึงนับมีบทบาทสำคัญไม่แพ้คนในครอบครัวในการดูแลเด็กกลุ่มนี้ สำหรับคำแนะนำการดูแลเด็กกลุ่มนี้เมื่ออยู่โรงเรียน ได้แก่ จัดให้เด็กนั่งหน้าชั้น หรือใกล้ครูให้มากที่สุด เพื่อให้ง่ายในการเตือนเด็ก ให้กลับมาตั้งใจเรียนเมื่อเด็กขาดสมาธิให้นั่งอยู่ท่ามกลางเด็กเรียบร้อยที่ไม่คุยในระหว่างเรียน จัดให้นั่งกลางห้อง หรือไกลจากประตูหน้าต่าง เพื่อลดโอกาสวอกแวก โดยสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกห้องเรียน เมื่อหมดสมาธิจริงๆ ควรจัดกิจกรรมที่เปลี่ยนอิริยาบถ และเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ให้เด็กทํา เช่น ให้ช่วยครูแจกสมุดให้เพื่อน ๆ ในห้อง ลบกระดานดํา เติมน้ำใส่แจกัน เป็นต้น ให้คําชมเชย หรือรางวัล เมื่อเด็กปฏิบัติตัวดีหรือทําสิ่งที่เป็นประโยชน์ คิดรูปแบบวิธีตักเตือน หรือเรียกให้เด็กกลับมาสนใจบทเรียนโดยไม่ทําให้เด็กเสียหน้า เขียนการบ้าน หรืองานที่เด็กต้องทําในชั้นเรียนให้ชัดเจนบนกระดานดํา พยายามสั่งงานด้วยวาจาให้สั้นที่สุด ถ้าต้องสั่งงานด้วยวาจา ควรสั่งตามขั้นตอน หลีกเลี่ยงการสั่งพร้อมกันทีเดียวหลาย ๆ คําสั่ง ให้เวลาทําให้เสร็จทีละอย่าง ก่อนให้คําสั่งต่อไป หลังจากสั่งเด็ก ควรถามกลับว่าสั่งอะไรเพื่อตรวจสอบความเข้าใจและยืนยันในคําสั่ง ตรวจสมุดงานสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กจดงานได้ครบถ้วนและฝึกฝนให้เด็กตรวจทานงาน ถ้าสมาธิสั้นมาก ควรลดเวลางานให้สั้นลง เพื่อให้เกิดความพยายามทํางานให้เสร็จทีละอย่าง ซึ่งใช้เวลาไม่นาน ให้เน้นความรับผิดชอบที่จะต้องทํางานให้เสร็จ หลีกเลี่ยงการใช้วาจาตําหนิ ประจาน ประณาม หรือทําให้เด็กอับอายขายหน้าและไม่ลงโทษเด็กด้วยความรุนแรง เช่น การตี หากเป็นพฤติกรรมจากโรคสมาธิสั้น เช่น ซุ่มซ่าม ทําของเสียหาย หุนหันพลันแล่น ใช้การตัดคะแนน งดเวลาพัก ทําเวรหรืออยู่ต่อหลังเลิกเรียน ( เพื่อทํางานที่ค้างอยู่ให้เสร็จ ) เมื่อเด็กทําความผิด มองหาจุดดีของเด็ก และสนับสนุนให้เด็กได้แสดงออกถึงข้อดี หรือความสามารถของตัวเอง พยายามสร้างบรรยากาศที่เข้าใจ และเป็นกําลังใจให้เด็กพยายามปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น ให้ความช่วยเหลือด้านการเรียนเป็นพิเศษ ถ้ามีความบกพร่องด้านการเรียนร่วมด้วย ควรให้เด็กได้รับการสอนแบบตัวต่อตัว เพราะทําให้เรียนรู้ได้ดีที่สุด ครูสามารถคุมให้เด็กมีสมาธิ และยืดหยุ่นการเรียนการสอนให้เข้ากับความพร้อมของเด็กได้ดีกว่า ครูควรให้เวลาที่ใช้ในการสอนสําหรับเด็กที่เป็นสมาธิสั้น นานกว่าเด็กปกติ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

โรต้าไวรัส

โรต้าไวรัส

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888