ต้อเนื้อ (pterygium)

ต้อเนื้อ (pterygium)

ต้อเนื้อ คือ ภาวะที่พังผืดของเยื่อบุตายื่นเข้าไปสู่ตาดำ มักพบบริเวณหัวบ่อยครั้งกว่าหางตา โดยจะค่อย ๆ ลุกลามเข้าตาดำจนปิดรูม่านตาในที่สุด ส่งผลต่อการมองเห็นทำให้ตามัว

สาเหตุต้อเนื้อยังไม่ทราบชัดเจน แต่พบว่ามีความสัมพันธ์กับสาเหตุ ดังนี้

  • สิ่งแวดล้อม กล่าวคือ การถูกลม แสงแดด (รังสีอัลตร้าไวโอเลต) ฝุ่น ความร้อน เป็นเวลานาน ๆ

  • กรรมพันธุ์

อาการต้อเนื้อ อาการส่วนใหญ่ที่พบ ได้แก่

  • ตาแดง

  • ระคายเคืองตา

  • คันตา

  • เห็นภาพไม่ชัด

การรักษาต้อเนื้อ

  • รักษาด้วยยาหยอดตา

  • รักษาด้วยการผ่าตัด

การผ่าตัดต้อเนื้อมี 2 วิธี คือ

  1. การลอกต้อเนื้อ เป็นการลอกเนื้อที่ตาขาวและส่วนที่คลุมตาดำออก ซึ่งการลอกวิธีนี้จะทำให้การกลับมาเป็นซ้ำได้สูง

  2. การลอกต้อเนื้อและปลูกเนื้อเยื่อบริเวณที่ลอกเนื้ออกไป เนื้อเยื่อที่นำมาปลูก อาจเป็นเนื้อเยื่อจากรก หรือเยื่อบุตาของคนไข้เอง อาจใช้เวลานานขึ้น แต่การกลับเป็นซ้ำค่อนข้างน้อย

ป้องกันต้อเนื้อ

หลีกเลี่ยงการถูกลม ฝุ่น แดดจัด ความร้อนติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ หากจำเป็นต้องออกกลางแจ้งในเวลากลางวันมีแดดจัดแนะนำให้สวมแว่นกันแดดทุกครั้ง

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกจักษุ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319896

บทความที่เกี่ยวข้อง

การตรวจลาสายตา (Visual filed exam)

การตรวจลาสายตา (Visual filed exam)

ลานสายตา คือ ขอบเขตการมองเห็นทั้งหมดเมื่อเรามองตรงไปข้างหน้าโดยไม่กรอกตาไปมา การตรวจลานสายตาช่วยหาสาเหตุของการสูญเสียลานสายตา หรือ Visual field defect ซึ่งเกิดได้จากทั้งความผิดปกติของตา เช่น ต้อหิน จอประสาทตาลอกหลุด ขั้วประสาทตาอักเสบ การรับประทานยาคลอโรควิน หรืออาจเกิดจากการมีพยาธิสภาพที่ระบบประสาทและสมอง เช่น การที่มีเลือดออกหรือเนื้องอกไปกดสมองส่วนการมองเห็น การตรวจลานสายตานอกจากสามารถช่วยวินิจฉัยความผิดปกติแล้วยังสามารถช่วยพยากรณ์ความรุนแรงของโรคที่เป็นได้อีกด้วย การตรวจลานสายตาเหมาะกับใครบ้าง ผู้ป่วยโรคต้อหิน หรือผู้ที่มีความเสี่ยง/สงสัยเป็นต้อหิน ผู้ที่มีโรคของระบบประสาทและสมอง ผู้ที่ใช้ยาคลอโรควิน ขั้นตอนการตรวจลานสายตา ตรวจการมองเห็นเบื้องต้น จัดท่านั่งหน้าเครื่องตรวจ และทำตามคำแนะนำของผู้ตรวจ ตรวจลานสายตาทีละข้างด้วยเครื่องตรวจลานสายตาตามขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่แนะนำ คำแนะนำก่อนการตรวจตา การตรวจลานสายตาโดยทั่วไปใช้เวลาข้างละประมาณ 6-10 นาที และต้องอาศัยความร่วมมือและสมาธิในการตรวจค่อนข้างมาก จึงแนะนำนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำจิตใจให้สบาย เนื่องจากการตรวจลานควรมีความผ่อนคลายไม่วิตกกังวล หากมีข้อกังวลสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ก่อนการตรวจได้เสมอเพื่อให้การตรวจราบรื่น ไม่เกิดผลการตรวจที่คลาดเคลื่อน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

โรคจอประสาทตาเสื่อม

โรคจอประสาทตาเสื่อม

โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคจอประสาทตาเสื่อมเป็นโรคตาที่พบบ่อยในผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป เกิดจากจุดรับภาพตรงกลางของจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งโรคจอประสาทตาเสื่อมเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและประเภท สาเหตุของจอประสาทตาเสื่อม อายุ มักพบในผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป เพศ มักพบในเพศหญิงมากกว่าชาย เชื้อชาติ มักพบในคนผิวขาวมากกว่าผิวสี พันธุกรรม หากท่านมีญาติสายตรงเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม ท่าควรตรวจเช็คจอประสาทตาทุก 2 ปี วัยหมดประจำเดือน จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมมากขึ้นจากระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจน โรคเบาหวาน หากผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนถึงขั้นทำให้เกิดจอประสาทตาเสื่อมได้ บุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมมากขึ้น ต้องเผชิญแสงแดดหรือแสงอัลตราไวโอเลตเป็นประจำเป็นเวลานาน อาการจอประสาทตาเสื่อม อาการจอประสาทเสื่อมชนิดแห้ง อาการในช่วงแรก ผู้ป่วยอาจมองเห็นภาพเบลอและจุดดำหรือจุดบอดตรงกลางภาพ เมื่อเวลาผ่านไป จุดดำในภาพจะเริ่มขยายใหญ่ซึ่งส่งผลต่อการมองเห็น ทำให้อ่านหนังสือลำบากหรือมองเห็นรายละเอียดไม่ชัด อาการจอประสาทเสื่อมชนิดเปียก ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นภาพบิดเบี้ยว พร่ามัว เห็นจุดดำขนาดใหญ่ในภาพซึ่งเป็นผลมาจากการที่เลือดไหลไปอยู่ในจุดรับภาพ วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคจอประสาทตาเสื่อม การตรวจดวงตาเบื้องต้นโดยจักษุแพทย์ ใช้เครื่องมือพิเศษ ได้แก่ กล้องส่องสภาพจอประสาทตา และกล้องจุลทัศน์สำหรับตา โดยแยกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ดังนี้ ตรวจพิเศษด้วยเครื่องถ่ายภาพ ( Fluorescein angiography ) การฉีดสาร Fluorescein เข้าเส้นเลือดดำเพื่อตรวจดูจอประสาทตา ตรวจวิเคราะห์ภาพตัดขวางจอประสาทตาด้วยเลเซอร์ ( Optical coherence tomography ) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะและขอบเขตความผิดปกติที่เกิดขึ้นเพื่อกำหนดแนวทางรักษา และพยากรณ์การดำเนินโรค ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล่าสุดในการตรวจจอประสาทตา การรักษาจอประสาทเสื่อม ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้ให้หายขาด แต่สามารถให้การดูแลรักษา เพื่อหยุดหรือชะลอการดำเนินโรคให้จอประสาทตาเกิดการภาวะเสื่อมช้าที่สุด การป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อม ตรวจเช็คสุขภาพตาเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หรือมีประวัติญาติสายตรงเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม หลีกเลี่ยงการได้รับแสง หรือรังสีอัลตราไวโอเลต เป็นระยะเวลานาน เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อร่างกายโดยเฉพาะอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ได้แก่ ผักใบเขียว ผลไม้ และกินวิตามินเสริม งดสูบบุหรี่ หากเป็นโรคเบาหวานจะต้องปฏิบัติตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกโรคตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319896

ภาวะตาแห้ง จากโรคต่อมไขมันที่เปลือกตาอุดตัน

ภาวะตาแห้ง จากโรคต่อมไขมันที่เปลือกตาอุดตัน

ภาวะตาแห้ง จากโรคต่อมไขมันที่เปลือกตาอุดตัน (Meibomian Gland Dysfunction, MGD) ต่อมไขมันที่เปลือกตาทำหน้าที่สร้างน้ำมันซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของน้ำตา ถ้าต่อมไขมันที่เปลือกตาอุดตัน น้ำตาก็จะแห้งเร็ว มีอาการแสบตาเวลาใช้สายตานานๆ น้ำตาไหล มองเห็นมัวลง คันเปลือกตา เป็นกุ้งยิงได้บ่อยๆ ผู้มีปัจจัยเสี่ยงโรคตาแห้ง โรคเปลือกตาอักเสบ (Blepharitis) จากเชื้อแบคทีเรีย, ตัวไรขนตา โรคตากุ้งยิงบ่อยๆ โรคภูมิแพ้ขึ้นตา ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ เป็นระยะเวลานาน ผู้ที่มีโรคทางตา เช่น โรคต้อหินที่ต้องหยอดยา เคยได้รับการผ่าตัดตา ผู้ที่ต้องใช้สายตากับหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน เป็นเวลานาน (Computer vision syndrome) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกจักษุ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319896

ต้อกระจก (Cataract)

ต้อกระจก (Cataract)

ต้อกระจก (Cataract) ต้อกระจกเป็นภาวะที่เลนส์ตาหรือแก้วตามีลักษณะเปลี่ยนเเปลงจากโปร่งใสเหมือนกระจกเป็นขาวขุ่นมากขึ้น เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการตามัวในผู้สูงวัย สาเหตุสำคัญของโรคต้อกระจก คือ เกิดจากความเสื่อมตามวัย ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดต้อกระจก มีดังนี้ การได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานาน ๆ มีโรคประจำตัวที่ส่งเสริมให้เกิดต้อกระจกได้ เช่น เบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โรคทางตา เช่น ม่านตาอักเสบ ตาติดเชื้อ สายตาสั้นมากๆ เคยผ่าตัดตามาก่อน ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์เป็นเวลานาน เคยมีอุบัติเหตุที่ดวงตา หรือดวงตาได้รับการกระทบกระเทือนบ่อยๆ การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ เคยโดนฉายรังสีในส่วนบนร่างกาย ศีรษะ อาการต้อกระจก มองไม่ชัดอย่างช้า ๆ ไม่มีการอักเสบหรือปวด เห็นภาพมัวเหมือนมีฝ้าหรือหมอกบัง มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับและตำแหน่งของความขุ่นในเนื้อเลนส์ ภาพซ้อน สายตาพร่า เกิดจากความขุ่นของเลนส์แก้วตาไม่เท่ากัน การหักเหของแสงไปที่จอประสาทตา จึงไม่รวมเป็นจุดเดียว ในผู้ป่วยบางรายจะมีสายตาสั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ต้องเปลี่ยนแว่นตาบ่อย ๆ บางรายสายตาสั้นขึ้น จนกลับมาอ่านหนังสือได้โดยไม่ต้องใส่แว่น สู้แสงสว่างไม่ได้ มองเห็นแสงไฟกระจาย โดยเฉพาะขณะขับรถในตอนกลางคืน มองเห็นสีต่าง ๆ ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ต้องการแสงสว่างมากขึ้นในการมอง เมื่อต้อกระจกสุก อาจสังเกตเห็นเป็นสีขาวตรงรูม่านตา ซึ่งปกติเห็นเป็นสีดำ หากละเลยทิ้งไว้จนต้อกระจกสุกเกินไป อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคต้อหิน การอักเสบภายในตา ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดตา ตาแดง และอาจถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้ การรักษาต้อกระจก ในระยะแรกที่เริ่มเป็นน้อย ๆ แพทย์อาจยังไม่ได้ทำการรักษา แต่เมื่อต้อสุกแพทย์จะพิจารณาผ่าตัด ซึ่งนับเป็นวิธีรักษาที่ได้ผลดีที่สุดในปัจจุบัน การผ่าตัดต้อกระจก วิธีสลายต้อกระจกด้วยเครื่องสลายต้อ (Phacoemulsification with Intraocular Lens) วิธีที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน แผลที่กระจกตาเล็กเพียง 3 มม. แพทย์จะสอดเครื่องมือสลายต้อเข้าไปที่ตัวต้อกระจก ใช้พลังงานความถี่สูงเท่าระดับอัลตราซาวด์ เข้าสลายต้อกระจกจนหมดจึงใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ แผลมีขนาดเล็กมาก ไม่ต้องเย็บแผลในคนไข้ส่วนใหญ่ วิธีผ่าตัดต้อกระจกแบบเปิดแผลกว้าง (Extracapsular Cateract Extraction with Intraocular Lens) วิธีผ่าตัดดั้งเดิมที่ใช้ในกรณีที่ต้อกระจกสุกและแข็งมาก ๆ จนไม่เหมาะกับการสลายด้วยเครื่อง จักษุแพทย์จะเปิดแผลบริเวณครึ่งบนของลูกตายาวประมาณ 10 มม. เพื่อเอาตัวเลนส์แก้วตาที่เป็นต้อกระจกออก แล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่แล้วจึงเย็บปิดแผลด้วยไหมเย็บแผล ป้องกันการเกิดต้อกระจก สวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินเอ อี และซี ช่วยบำรุงสายตา อย่างไรก็ดี การรับประทานวิตามินเสริม ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าลดความเสี่ยงการเกิดต้อกระจกได้ แนะนำควรตรวจสายตาเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกจักษุ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319896

ม่านตาอักเสบ (Iritis / Anterior uveitis)

ม่านตาอักเสบ (Iritis / Anterior uveitis)

ม่านตาอักเสบ (Iritis / Anterior uveitis) ม่านตาอักเสบ เป็นโรคที่พบได้น้อย พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในวัยหนุ่มสาว อาจมีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา หรือพยาธิ หรืออาจเกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้หรือออโตอิมมูน (autoimmune) ก็ได้ สาเหตุม่านตาอักเสบ การลุกลามของโรคติดเชื้อภายนอกลูกตา เช่น แผลที่กระจกตา กระจกตาอักเสบ เยื่อตาขาวอักเสบ การกระทบกระเทือน เช่น ถูกแรงกระแทกที่บริเวณกระบอกตา อาจพบร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น วัณโรค ซิฟิลิส โรคเรื้อน สมองอักเสบ ไซนัสอักเสบ ปวดข้อรูมาตอยด์ **การเกิดม่านตาอักเสบในบางครั้ง อาจไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน อาการม่านตาอักเสบ ปวดตา บางคนอาจปวดมากเมื่ออยู่ที่แจ้ง แต่จะดีขึ้นเมื่ออยู่ในที่ร่ม เคืองตา น้ำตาไหล ตามัว ตาขาวแดงเรื่อ ๆ โดยเฉพาะบริเวณที่ใกล้กับตาดำ โดยไม่มีขี้ตา อาการแทรกซ้อน ในรายที่เป็นรุนแรง ถ้าหากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้มีเม็ดขาว (หนอง) ที่เกิดจากการอักเสบไปอุดกั้นทางระบายของน้ำเลี้ยงลูกตา ทำให้กลายเป็นต้อหินได้ ในรายที่เป็นนาน ๆ อาจทำให้เป็นต้อกระจกได้เช่นกัน การรักษา โรคนี้ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อย มักจะค่อย ๆ หายไปได้เอง ถึงแม้ไม่ได้รับการรักษา แต่ถ้ามีการอักเสบรุนแรง การรักษาแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้ป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ บางคนอาจเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง แต่ในที่สุด มักจะหายขาดได้เป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล เพื่อตรวจหาสาเหตุและให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ และให้ยาหยอดตาที่ทำให้รูม่านตาขยาย เช่น ยาหยอดตาอะโทรฟีน (Atropine eye drop) หรือยาสเตียรอยด์หยอดตา เป็นต้น ข้อแนะนำ : หากมีอาการปวดตา ตาแดง ร่วมกับตามัว รูม่านตาไม่เท่ากัน หรือกระจกตาขุ่น ควรปรึกษาแพทย์ด่วน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกจักษุ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319896

ต้อหิน (glaucoma)

ต้อหิน (glaucoma)

ต้อหิน (glaucoma) ต้อหินคือ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลานสายตา เกิดจากการสูญเสียใยประสาทตาของขั้วประสาทตาซึ่งเกี่ยวข้องกับความดันตาและการสูญเสียลานสายตา การวินิจฉัยโรคต้อหินจึงทำได้ด้วยการตรวจขั้วประสาทตา การวัดความดันตา และการตรวจลานสายตาโดยจักษุแพทย์ ชนิดของต้อหิน 1 แบ่งตามลักษณะของมุมตา ประกอบด้วยต้อหินชนิดมุมตาเปิด และต้อหินมุมตาปิด 2. แบ่งตามสาเหตุ ประกอบด้วยต้อหินชนิดปฐมภูมิที่ไม่มีสาเหตุ และต้อหินชนิดทุติยภูมิที่มีสาเหตุจากโรคตาอื่นๆ เช่น เบาหวานขึ้นตา ต้อกระจก เป็นต้น 3. แบ่งตามลักษณะอาการ ได้แก่ ต้อหินเรื้อรังที่มักไม่มีอาการอะไร และต้อหินเฉียบพลัน ที่มีอาการปวดตา ตาแดง ตามัวทันที การรักษาโรคต้อหิน การรักษาจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ดังนี้ 1. การรักษาต้อหินโดยการใช้ยา 2. การรักษาต้อหินโดยการใช้แสงเลเซอร์ 3. การรักษาต้อหินโดยการผ่าตัด ต้อหินเมื่อได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกสามารถช่วยป้องกันภาวะตาบอดได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็อาจทำให้เกิดการสูญเสียสายตาแบบถาวรได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกโรคตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง