ต้อกระจก (Cataract)

ต้อกระจก (Cataract)

ต้อกระจกเป็นภาวะที่เลนส์ตาหรือแก้วตามีลักษณะเปลี่ยนเเปลงจากโปร่งใสเหมือนกระจกเป็นขาวขุ่นมากขึ้น เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการตามัวในผู้สูงวัย

สาเหตุสำคัญของโรคต้อกระจก คือ เกิดจากความเสื่อมตามวัย ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดต้อกระจก มีดังนี้

  • การได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานาน ๆ

  • มีโรคประจำตัวที่ส่งเสริมให้เกิดต้อกระจกได้ เช่น เบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ

  • โรคทางตา เช่น ม่านตาอักเสบ ตาติดเชื้อ สายตาสั้นมากๆ เคยผ่าตัดตามาก่อน

  • ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์เป็นเวลานาน

  • เคยมีอุบัติเหตุที่ดวงตา หรือดวงตาได้รับการกระทบกระเทือนบ่อยๆ

  • การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์

  • เคยโดนฉายรังสีในส่วนบนร่างกาย ศีรษะ

อาการต้อกระจก

  • มองไม่ชัดอย่างช้า ๆ ไม่มีการอักเสบหรือปวด เห็นภาพมัวเหมือนมีฝ้าหรือหมอกบัง มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับและตำแหน่งของความขุ่นในเนื้อเลนส์

  • ภาพซ้อน สายตาพร่า เกิดจากความขุ่นของเลนส์แก้วตาไม่เท่ากัน การหักเหของแสงไปที่จอประสาทตา จึงไม่รวมเป็นจุดเดียว ในผู้ป่วยบางรายจะมีสายตาสั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ต้องเปลี่ยนแว่นตาบ่อย ๆ บางรายสายตาสั้นขึ้น จนกลับมาอ่านหนังสือได้โดยไม่ต้องใส่แว่น

  • สู้แสงสว่างไม่ได้ มองเห็นแสงไฟกระจาย โดยเฉพาะขณะขับรถในตอนกลางคืน

  • มองเห็นสีต่าง ๆ ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ต้องการแสงสว่างมากขึ้นในการมอง

  • เมื่อต้อกระจกสุก อาจสังเกตเห็นเป็นสีขาวตรงรูม่านตา ซึ่งปกติเห็นเป็นสีดำ หากละเลยทิ้งไว้จนต้อกระจกสุกเกินไป อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคต้อหิน การอักเสบภายในตา ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดตา ตาแดง และอาจถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้

การรักษาต้อกระจก

ในระยะแรกที่เริ่มเป็นน้อย ๆ แพทย์อาจยังไม่ได้ทำการรักษา แต่เมื่อต้อสุกแพทย์จะพิจารณาผ่าตัด ซึ่งนับเป็นวิธีรักษาที่ได้ผลดีที่สุดในปัจจุบัน

การผ่าตัดต้อกระจก

  1. วิธีสลายต้อกระจกด้วยเครื่องสลายต้อ (Phacoemulsification with Intraocular Lens) วิธีที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน แผลที่กระจกตาเล็กเพียง 3 มม. แพทย์จะสอดเครื่องมือสลายต้อเข้าไปที่ตัวต้อกระจก ใช้พลังงานความถี่สูงเท่าระดับอัลตราซาวด์ เข้าสลายต้อกระจกจนหมดจึงใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ แผลมีขนาดเล็กมาก ไม่ต้องเย็บแผลในคนไข้ส่วนใหญ่

  2. วิธีผ่าตัดต้อกระจกแบบเปิดแผลกว้าง (Extracapsular Cateract Extraction with Intraocular Lens) วิธีผ่าตัดดั้งเดิมที่ใช้ในกรณีที่ต้อกระจกสุกและแข็งมาก ๆ จนไม่เหมาะกับการสลายด้วยเครื่อง จักษุแพทย์จะเปิดแผลบริเวณครึ่งบนของลูกตายาวประมาณ 10 มม. เพื่อเอาตัวเลนส์แก้วตาที่เป็นต้อกระจกออก แล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่แล้วจึงเย็บปิดแผลด้วยไหมเย็บแผล

ป้องกันการเกิดต้อกระจก

  • สวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินเอ อี และซี ช่วยบำรุงสายตา อย่างไรก็ดี การรับประทานวิตามินเสริม ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าลดความเสี่ยงการเกิดต้อกระจกได้

  • แนะนำควรตรวจสายตาเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกจักษุ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319896

บทความที่เกี่ยวข้อง

การตรวจลาสายตา (Visual filed exam)

การตรวจลาสายตา (Visual filed exam)

ลานสายตา คือ ขอบเขตการมองเห็นทั้งหมดเมื่อเรามองตรงไปข้างหน้าโดยไม่กรอกตาไปมา การตรวจลานสายตาช่วยหาสาเหตุของการสูญเสียลานสายตา หรือ Visual field defect ซึ่งเกิดได้จากทั้งความผิดปกติของตา เช่น ต้อหิน จอประสาทตาลอกหลุด ขั้วประสาทตาอักเสบ การรับประทานยาคลอโรควิน หรืออาจเกิดจากการมีพยาธิสภาพที่ระบบประสาทและสมอง เช่น การที่มีเลือดออกหรือเนื้องอกไปกดสมองส่วนการมองเห็น การตรวจลานสายตานอกจากสามารถช่วยวินิจฉัยความผิดปกติแล้วยังสามารถช่วยพยากรณ์ความรุนแรงของโรคที่เป็นได้อีกด้วย การตรวจลานสายตาเหมาะกับใครบ้าง ผู้ป่วยโรคต้อหิน หรือผู้ที่มีความเสี่ยง/สงสัยเป็นต้อหิน ผู้ที่มีโรคของระบบประสาทและสมอง ผู้ที่ใช้ยาคลอโรควิน ขั้นตอนการตรวจลานสายตา ตรวจการมองเห็นเบื้องต้น จัดท่านั่งหน้าเครื่องตรวจ และทำตามคำแนะนำของผู้ตรวจ ตรวจลานสายตาทีละข้างด้วยเครื่องตรวจลานสายตาตามขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่แนะนำ คำแนะนำก่อนการตรวจตา การตรวจลานสายตาโดยทั่วไปใช้เวลาข้างละประมาณ 6-10 นาที และต้องอาศัยความร่วมมือและสมาธิในการตรวจค่อนข้างมาก จึงแนะนำนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำจิตใจให้สบาย เนื่องจากการตรวจลานควรมีความผ่อนคลายไม่วิตกกังวล หากมีข้อกังวลสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ก่อนการตรวจได้เสมอเพื่อให้การตรวจราบรื่น ไม่เกิดผลการตรวจที่คลาดเคลื่อน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ต้อหิน (glaucoma)

ต้อหิน (glaucoma)

ต้อหิน (glaucoma) ต้อหินคือ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลานสายตา เกิดจากการสูญเสียใยประสาทตาของขั้วประสาทตาซึ่งเกี่ยวข้องกับความดันตาและการสูญเสียลานสายตา การวินิจฉัยโรคต้อหินจึงทำได้ด้วยการตรวจขั้วประสาทตา การวัดความดันตา และการตรวจลานสายตาโดยจักษุแพทย์ ชนิดของต้อหิน 1 แบ่งตามลักษณะของมุมตา ประกอบด้วยต้อหินชนิดมุมตาเปิด และต้อหินมุมตาปิด 2. แบ่งตามสาเหตุ ประกอบด้วยต้อหินชนิดปฐมภูมิที่ไม่มีสาเหตุ และต้อหินชนิดทุติยภูมิที่มีสาเหตุจากโรคตาอื่นๆ เช่น เบาหวานขึ้นตา ต้อกระจก เป็นต้น 3. แบ่งตามลักษณะอาการ ได้แก่ ต้อหินเรื้อรังที่มักไม่มีอาการอะไร และต้อหินเฉียบพลัน ที่มีอาการปวดตา ตาแดง ตามัวทันที การรักษาโรคต้อหิน การรักษาจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ดังนี้ 1. การรักษาต้อหินโดยการใช้ยา 2. การรักษาต้อหินโดยการใช้แสงเลเซอร์ 3. การรักษาต้อหินโดยการผ่าตัด ต้อหินเมื่อได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกสามารถช่วยป้องกันภาวะตาบอดได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็อาจทำให้เกิดการสูญเสียสายตาแบบถาวรได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกโรคตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

สิ่งแปลกปลอมเข้าตา

สิ่งแปลกปลอมเข้าตา

สิ่งแปลกปลอมเข้าตา สิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่น ผลดิน ทราย เศษเหล็ก สะเก็ดหิน ปูนซีเมนต์ เศษไม้เล็ก ๆ แมลง เป็นต้น เมื่อเข้าตา จะทำให้มีอาการเคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล ตาแดง และอาจติดเชื้ออักเสบเป็นหนองใน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้กลายเป็นแผลที่กระจกตา หรือเชื้อโรค อาจลุกลามเข้าไปในลูกตา ทำให้ลูกตาอักเสบทั่วไป (panophthalmitis) ทำให้ลูกตาอักเสบทั่วไป (panophthalmitis) ตาเสียได้ การรักษา ถ้ามีเศษผงเล็ก ๆ ไม่ฝังอยู่ในเนื้อตา อย่าขยี้ตา ให้ลืมตาในน้ำสะอาด หรือล้างตาด้วยน้ำอุ่น หรือน้ำยาบอริก 3 % ถ้าผงติดอยู่ในเปลือกตาบน ให้ปลิ้นเปลือกตา แล้วใช้สำลี ผ้าก๊อซ หรือผ้าเช็ดหน้าบิดปลายให้แหลม เขี่ยผงออก ถ้าตาแดงอักเสบให้หยอดหรือป้ายยาที่เข้าปฏิชีวนะ ถ้าไม่ดีขึ้นหรือมีเศษผงฝังในกระจกตาหรือเยื่อตาขาว ให้ป้ายยาปฏิชีวนะ แล้วให้ผู้ป่วยหลับตา ใช้ผ้าก๊อซหรือก้อนสำลีวางบนเปลือกตาที่หลับ ปิดพลาสเตอร์เพื่อกันไม่ให้กระพริบตาหรือเคลื่อนไหวลูกตา แล้วส่งโรงพยาบาล อาจต้องหยอดยาชาที่ตา แล้วใช้ปลายเข็มฉีดยาหรืเครื่องมือทางตาเขี่ยเอาผงออก แล้วป้ายยาปฏิชีวนะและปิดตาไว้ อาการเคืองตา ตาอักเสบ มักจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกจักษุ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319896

ผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียง สิทธิข้าราชการ

ผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียง สิทธิข้าราชการ

“ต้อกระจก เป็นแล้วเสี่ยง ตาบอด” คืนความชัดเจนให้ดวงตา ด้วยเทคโนโลยีสลายต้อ #ฟื้นตัวเร็ว พิเศษ #สำหรับข้าราชการและครอบครัว จ่ายในราคา 25,000 บาท รวมค่าบริการและนอนพักฟื้น 1 คืน (จากราคาปกติ 36,000 บาท) #โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี เปิดรับสิทธิ์การรักษาทางการแพทย์กรณีนัดผ่าตัดล่วงหน้า สำหรับข้าราชการและครอบครัว #ผู้มีสิทธิ - ข้าราชการ - ลูกจ้างประจำ - ผู้รับเบี้ยหวัด - ผู้รับบำนาญ #บุคคลในครอบครัวผู้มีสิทธิ - บิดา - มารดา - คู่สมรส - บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ขั้นตอนการรับบริการ 1. ตรวจสอบสิทธิ 2. พบแพทย์เฉพาะทาง 3. ประเมินค่าใช้จ่าย 4. นัดผ่าตัด 5. แจ้งลงทะเบียนกับกรมบัญชีกลางก่อนการผ่าตัด สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 039 319 888 #โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี #BangkokHospitalChanthaburi #สิทธิข้าราชการ #สิทธิ์ข้าราชการ #ข้าราชการ

ต้อเนื้อ (pterygium)

ต้อเนื้อ (pterygium)

ต้อเนื้อ (pterygium) ต้อเนื้อ คือ ภาวะที่พังผืดของเยื่อบุตายื่นเข้าไปสู่ตาดำ มักพบบริเวณหัวบ่อยครั้งกว่าหางตา โดยจะค่อย ๆ ลุกลามเข้าตาดำจนปิดรูม่านตาในที่สุด ส่งผลต่อการมองเห็นทำให้ตามัว สาเหตุต้อเนื้อยังไม่ทราบชัดเจน แต่พบว่ามีความสัมพันธ์กับสาเหตุ ดังนี้ สิ่งแวดล้อม กล่าวคือ การถูกลม แสงแดด (รังสีอัลตร้าไวโอเลต) ฝุ่น ความร้อน เป็นเวลานาน ๆ กรรมพันธุ์ อาการต้อเนื้อ อาการส่วนใหญ่ที่พบ ได้แก่ ตาแดง ระคายเคืองตา คันตา เห็นภาพไม่ชัด การรักษาต้อเนื้อ รักษาด้วยยาหยอดตา รักษาด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดต้อเนื้อมี 2 วิธี คือ การลอกต้อเนื้อ เป็นการลอกเนื้อที่ตาขาวและส่วนที่คลุมตาดำออก ซึ่งการลอกวิธีนี้จะทำให้การกลับมาเป็นซ้ำได้สูง การลอกต้อเนื้อและปลูกเนื้อเยื่อบริเวณที่ลอกเนื้ออกไป เนื้อเยื่อที่นำมาปลูก อาจเป็นเนื้อเยื่อจากรก หรือเยื่อบุตาของคนไข้เอง อาจใช้เวลานานขึ้น แต่การกลับเป็นซ้ำค่อนข้างน้อย ป้องกันต้อเนื้อ หลีกเลี่ยงการถูกลม ฝุ่น แดดจัด ความร้อนติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ หากจำเป็นต้องออกกลางแจ้งในเวลากลางวันมีแดดจัดแนะนำให้สวมแว่นกันแดดทุกครั้ง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกจักษุ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319896

ม่านตาอักเสบ (Iritis / Anterior uveitis)

ม่านตาอักเสบ (Iritis / Anterior uveitis)

ม่านตาอักเสบ (Iritis / Anterior uveitis) ม่านตาอักเสบ เป็นโรคที่พบได้น้อย พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในวัยหนุ่มสาว อาจมีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา หรือพยาธิ หรืออาจเกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้หรือออโตอิมมูน (autoimmune) ก็ได้ สาเหตุม่านตาอักเสบ การลุกลามของโรคติดเชื้อภายนอกลูกตา เช่น แผลที่กระจกตา กระจกตาอักเสบ เยื่อตาขาวอักเสบ การกระทบกระเทือน เช่น ถูกแรงกระแทกที่บริเวณกระบอกตา อาจพบร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น วัณโรค ซิฟิลิส โรคเรื้อน สมองอักเสบ ไซนัสอักเสบ ปวดข้อรูมาตอยด์ **การเกิดม่านตาอักเสบในบางครั้ง อาจไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน อาการม่านตาอักเสบ ปวดตา บางคนอาจปวดมากเมื่ออยู่ที่แจ้ง แต่จะดีขึ้นเมื่ออยู่ในที่ร่ม เคืองตา น้ำตาไหล ตามัว ตาขาวแดงเรื่อ ๆ โดยเฉพาะบริเวณที่ใกล้กับตาดำ โดยไม่มีขี้ตา อาการแทรกซ้อน ในรายที่เป็นรุนแรง ถ้าหากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้มีเม็ดขาว (หนอง) ที่เกิดจากการอักเสบไปอุดกั้นทางระบายของน้ำเลี้ยงลูกตา ทำให้กลายเป็นต้อหินได้ ในรายที่เป็นนาน ๆ อาจทำให้เป็นต้อกระจกได้เช่นกัน การรักษา โรคนี้ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อย มักจะค่อย ๆ หายไปได้เอง ถึงแม้ไม่ได้รับการรักษา แต่ถ้ามีการอักเสบรุนแรง การรักษาแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้ป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ บางคนอาจเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง แต่ในที่สุด มักจะหายขาดได้เป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล เพื่อตรวจหาสาเหตุและให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ และให้ยาหยอดตาที่ทำให้รูม่านตาขยาย เช่น ยาหยอดตาอะโทรฟีน (Atropine eye drop) หรือยาสเตียรอยด์หยอดตา เป็นต้น ข้อแนะนำ : หากมีอาการปวดตา ตาแดง ร่วมกับตามัว รูม่านตาไม่เท่ากัน หรือกระจกตาขุ่น ควรปรึกษาแพทย์ด่วน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกจักษุ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319896

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง