ภาวะประจำเดือนไม่มา

ภาวะประจำเดือนขาด

ภาวะประจำเดือนขาด (Secondary amenorrhea)เป็นภาวะที่สตรีรายนั้นเคยมีประจำเดือนมาประจำแล้วไม่มา หรือขาดหายไป เป็นภาวะที่พบบ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งมีสาเหตุต่าง ๆ ได้แก่

  • สาเหตุที่พบบ่อย เช่น การตั้งครรภ์ ฉีดยาคุมกำเนิด หลังคลอดบุตรหรือขณะให้นมบุตร และความเครียดทางจิตใจ เป็นต้น

  • สาเหตุที่พบได้น้อย เช่น เนื้องอกของต่อมใต้สมองหรือต่อมหมวกไตหรือรังไข่ โรคชีแฮน การผ่าตัดมดลูกหรือรังไข่ทั้ง 2 ข้าง เป็นต้น

อาการ

ผู้ที่มีภาวะประจำเดือนขาด บางกลุ่มมักไม่มีอาการใด ๆ ผิดปกติ ส่วนกลุ่มที่มีอาการจะมีความแตกต่างกันขึ้นกับสาเหตุของการขาดประจำเดือน ได้แก่

  • การตั้งครรภ์ อาจจะมีอาการแพ้ท้องตามมาได้

  • เนื้องอกรังไข่ ต่อมหมวกไตหรือต่อมใต้สมอง อาจมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะเรื้อรัง การมองเห็นเปลี่ยนแปลง มีหนวดหรือขนขึ้นผิดปกติ น้ำนมออกโดยไม่สัมพันธ์กับช่วงการให้นมบุตร เป็นต้น

  • โรคชีเเฮน อาจอ่อนเพลีย เฉื่อยชา เต้านมแฟบ ขนรักแร้และขนเพชรร่วง

  • ความเครียดทางจิตใจ หรือซึมเศร้า มักมีอาการวิตกกังวล นอนไม่หลับ เบื่อหน่าย ท้อแท้สิ้นหวัง

การรักษา แพทย์จะเป็นผู้ตรวจประเมินอาการหรือส่งตรวจพิเศษเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด เพื่อวางแผนการรักษาตามความเหมาะสมต่อไป

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดประจำเดือน

ปวดประจำเดือน

ปวดท้องประจำเดือน อาการปวดท้องประจำเดือนเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก บางรายมีอาการปวดรุนแรงจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อีกทัั้งบางรายมักมีอาการร่วมอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ ปวดหลัง เป็นต้น การรักษา สำหรับการรักษากรณีปวดประจำเดือนมาก แพทย์มักพิจารณาให้ยาเพื่อบรรเทาอาการ โดยหากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาตรวจเศษอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุและวางแผนการรักษาต่อไป การดูแลบรรเทาอาการและการป้องกัน ประคบอุ่นบริเวณท้องเมื่อมีอาการปวด อาบน้ำอุ่น จะช่วยให้ผ่อนคลายมากกว่าการอาบน้ำเย็น ดูแลจิตใจให้มีความผ่อนคลาย ลดความเครียด เช่น การนั่งสมาธิ โยคะ พักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำงานอดิเรกที่ชอบ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยอาหารหวาน-เค็ม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอาหารที่มีไขมันสูง รับประทานยาแก้ปวดตามคำแนะนำของแพทย์เมื่อมีอาการปวด

รวมเรื่องอาหารของผู้ป่วย “มะเร็ง” ฉายแสง-เคมีบำบัด

รวมเรื่องอาหารของผู้ป่วย “มะเร็ง” ฉายแสง-เคมีบำบัด

รวมเรื่องอาหารของผู้ป่วย “มะเร็ง” ฉายแสง-เคมีบำบัดแล้วกินอะไรได้บ้าง การรักษามะเร็ง มีทั้งการผ่าตัด การฉายแสง หรือการใช้ยา ส่งผลให้มักมีอาการอักเสบ หรือการสูญเสียเนื้อเยื่อ ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและเพียงพอเพื่อซ่อมแซมร่างกาย เพราะถ้าได้รับสารอาหารไม่เพียงพอแล้วล่ะก็ อาจทำให้ร่างกายฟื้นตัวช้า และการรักษาอาจไม่ได้ประสิทธิผลดีเท่าที่ควร อาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษามะเร็งจนครบได้ อาหารที่ควรกิน ผู้ป่วยมะเร็งจำเป็นต้องได้รับพลังงานจากอาหารต่อวันมากขึ้นกว่าคนทั่วไป เพื่อให้ผู้ป่วยแข็งแรงพอที่จะรับการรักษาตามกระบวนการทางการแพทย์ โดยผู้ป่วยควรได้รับพลังงานประมาณ 1,600 -2,000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน จากอาหารที่มีลักษณะ ดังนี้ สุก สะอาด มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ (โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ วิตามิน ไขมัน) โดยให้เน้นโปรตีนจากพืชและสัตว์เป็นส่วนใหญ่ เพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกาย ผัก ผลไม้ ที่ปลอกและล้างสะอาด ดื่มน้ำให้เพียงพอ ประมาณวันละ 8-10 แก้ว หรือประมาณ 2-2.5 ลิตร อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง อาหารหมักดอง อาหารไม่สด อาหารไม่สะอาด อาหารทิ้งไว้ข้ามคืน อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก อาหารรมควัน แฮม ของปิ้งย่าง งดกินผักสด ผลไม้เปลือกบาง หรือผลไม้ที่กินทั้งเปลือกได้ เช่น องุ่น ชมพู่ ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามสูบบุหรี่ ทำอย่างไรเมื่อเจอผลข้างเคียงการรักษาที่ทำให้กินไม่ลง เบื่ออาหาร เลือกกินอาหารที่พอกินได้ กลิ่นและรสไม่จัด โดยอาจแบ่งออกเป็นมื้อย่อยๆ 4-6 มื้อต่อวัน หรือกินขนมเสริมที่กินได้ง่ายๆ เช่น ไอศกรีม ขนมต่างๆ อาหารทางการแพทย์ หรือ นม คลื่นไส้อาเจียน ให้กินอาหารก่อนให้ยาเคมีบำบัด หลีกเลี่ยงอาหาร หวานมัน มีกลิ่นฉุน หรือรสเผ็ดร้อน และเลือกกินอาหารที่มีลักษณะแห้งกรอบ เช่น ขนมปังกรอบ ทองม้วน เพื่อลดอาหารคลื่นไส้อาเจียน นอกจากนี้ควรจิบน้ำสะอาดๆ หรือเครื่องดื่มรสไม่จัดบ่อยๆ หลังอาเจียน เช่น น้ำหวาน น้ำผลไม้ การรับรสเปลี่ยน กลั้วปากน้ำสะอาด ก่อนกินอาหาร และให้ใช้ช้อนส้อมและอุปกรณ์ที่เป็นแก้วพลาสติก ปรุงอาหารด้วยเครื่องเทศเล็กน้อย หรือเครื่องปรุงรสเปรี้ยว โดยอาจใช้น้ำตาลปรุงอาหารเล็กน้อย เพื่อช่วยกลบการรับรสที่ผิดเพี้ยนไปได้ นอกจากนี้ยังสามารถอบลูกอมรสเปรี้ยวหรือมินต์ไว้ช่วยกระตุ้นการรับรสก็ได้ ปากแห้ง มีแผลในช่องปาก กินอาหารอ่อนนิ่ม รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ก๋วยเตี๋ยว หรือบะหมี่เกี๊ยว กินอาหารเย็น ไม่ร้อนจัดจนเกินไป และจิบน้ำเปล่าให้บ่อยขึ้น หลีกเลี่ยงการกินผลไม้ที่มีกรด เช่น มะนาว น้ำผลไม้กล่องที่มีสีเข้ม นอกจากนี้ควรบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนและหลังกินอาหาร ท้องเสีย ดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ หรือดื่มน้ำเปล่าบ่อย ๆ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำ ลดอาหารรสจัด อาหารไขมันสูง งดผลิตภัณฑ์จากนมจนกว่าอาการจะดีขึ้น และงดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น เนย ถั่ว ผักดิบ เม็ดเลือดขาวต่ำ การฉายแสงเคมีบำบัด และจากตัวโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ควรระวังเรื่องวันหมดอายุของอาหาร เลือกกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ และระวังผักผลไม้ที่ต้องกินทั้งเปลือก มีรอยช้ำ มีเชื้อรา รวมถึงควรงดเครื่องปรุงรสที่เป็นอาหารแห้งทั้งหมด เช่น พริกไทย พริกป่น ถั่วลิสงป่น และควรล้างมือให้สะอาดเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ น้ำหนักลด กินอาหารให้พลังงานสูง แต่เลี่ยงไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานซ์ กินอาหารหลาย ๆ มื้อ กระจายตลอดทั้งวัน เติมนมผงหรืออาหารทางการแพทย์ใส่เครื่องดื่ม หากน้ำหนักลดลงมาก อาจต้องพบนักกำหนดอาหาร เพื่อจัดการการรับประทานอาหารที่เหมาะสม ท้องผูก แนะนำให้กินอาหารที่่มีกากใยมากขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่วเม็ดแห้ง ถั่งเขียว ถั่วแดง และดื่มน้ำสะอาด 8 -10 แก้วต่อวัน กินเนื้อสัตว์ได้หรือไม่ มีหลายคนเชื่อว่าการกินเนื้อสัตว์ ทำให้มะเร็งโตเร็วขึ้น ขอยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง เพราะมะเร็งไม่สามารถเลือกได้ว่าจะใช้พลังงานจากอาหารประเภทใดโดยเฉพาะ ที่จริงแล้วควรกินเนื้อสัตว์ด้วยซ้ำ เพราะเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงและครบถ้วน ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญมากสำหรับผู้ป่วย เนื่องจากจะช่วยในการซ่อมแซมร่างกายระหว่างการรักษา และบำรุงเม็ดเลือดขาวได้ ผู้ป่วยมะเร็งจึงควรเลือกกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อผ่านทางอาหารเพิ่มเติม ไม่กินเนื้อติดมัน และกินให้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ หรืออาหารทะเล แต่สำหรับผู้ป่วยที่อยากกินมังสวิรัติ แนะนำว่า ควรกินโปรตีนจากไข่ หรือ นมเพิ่มเติม จริงไหมกินเต้าหู้ น้ำมะพร้าว ทำให้มะเร็งเต้านมโตเร็ว การกินน้ำเต้าหู้ และน้ำมะพร้าว มีสาร Phytoestrogen ในปริมาณน้อย จึงไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ สุดท้ายนี้หากปรับเปลี่ยนวิธีการกินอาหารแล้ว อย่าลืมเช็กน้ำหนักตัวกันด้วย เพราะน้ำหนักตัวที่คงที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า เรามาได้ถูกทางแล้ว! หากร่างกายได้รับพลังงานและโปรตีนไม่เพียงพอ น้ำหนักตัวของผู้ป่วยจะลดลง ซึ่งมีผลการศึกษาพบว่าจะส่งผลเสียต่อการรักษาได้ ดังนั้นจึงควรกินอาหารอย่างเพียงพอ หรือกินอาหารทางการแพทย์เพิ่มเติมเพื่อทดแทนหรือเสริมจากอาหารมื้อหลัก ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

ประจำเดือนไม่มา

ประจำเดือนไม่มา

ประจำเดือนไม่เคยมา ประจำเดือนไม่เคยมา (Primary amenorrhea) หมายถึง สตรีเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์หรืออายุ 14 ปี แล้ว แต่ยังไม่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก ซึ่งมีสาเหตุต่าง ๆ เช่น ความผิดปกติของรังไข่หรือฮอร์โมนในร่างกาย ความผิดปกติของโครงสร้างของมดลูกหรือช่องคลอด เป็นต้น อาการ ภาวะประจำเดือนไม่เคยมาอาจไม่มีอาการใด ๆ แต่ในรายที่มีอาการจะเกิดขึ้นตามสาเหตุ เช่น หากมีสาเหตุจากฮอร์โมน อาจพบว่าการเจริญโตทางเพศไม่สมวัย เช้น ไม่มีหน้าอก ไม่มีขนเพชรหรือขนรักแร้ขึ้น เป็นต้น หากเกิดจากเยื่อพรหมจรรย์ไม่เปิด อาจมีอาการปวดท้อง หรือมีเยื่อพรหมจรรย์โป่งพอง การรักษา สำหรับการรักษาภาวะประจำเดือนไม่เคยมาแนะนำพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินรักษา โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวางแผนการรักษาตามความเหมาะสมเป็นรายกรณีไป สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

เดอร์มอยซีสต์

เดอร์มอยซีสต์

เดอร์มอยซีสต์ เชื่อว่าหลายคน เคยได้ยินโรคซีสต์หรือถุงน้ำที่รังไข่ แต่ไม่คุ้นเคยกับโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ (Dermoid Cyst) ที่เกิดจากเซลล์ที่มีความสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดต่าง ๆ มาอยู่ที่บริเวณรังไข่ตั้งแต่แรกเกิด แล้วมีการพัฒนาหรือถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยบางอย่างให้เจริญไปเป็นเซลล์ไขมัน เส้นผม กระดูกอ่อน หรือฟัน จนคิดว่าโดนของหรือคุณไสยฯ ทั้งที่ความจริง ทางการแพทย์ได้มีการอธิบายเอาไว้ โรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ เป็นโรคที่พบได้บ่อย ๆ ในคุณผู้หญิง ที่น่าสนใจคือ มักจะไม่มีอาการใด ๆ เลย และพบได้แม้อายุยังน้อย ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งโอกาสกลายเป็นมะเร็งมีน้อยมาก ภาวะแทรกซ้อนของโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ บิดขั้ว เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้มากที่สุดในโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ คนไข้จะมีอาการปวดบริเวณท้องน้อยด้านซ้ายหรือขวา กดเจ็บบริเวณท้องน้อย คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาจมีไข้ต่ำ ๆ ได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดฉุกเฉินจะทำให้รังไข่ข้างนั้น ๆ ขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นเวลานาน ส่งผลให้รังไข่เน่า ทำให้จำเป็นต้องตัดรังไข่ข้างนั้นทิ้งในที่สุด แตกหรือรั่ว เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้กับโรคถุงน้ำรังไข่ทุกชนิด รวมทั้งโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ คนไข้จะมีอาการปวดท้องน้อยฉับพลัน และปวดตลอดเวลา ซึ่งถ้ามีเลือดออกในช่องท้องจำนวนมาก จะทำให้เกิดภาวะช็อกได้ ติดเชื้อ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็ทำให้เกิดอาการรุนแรงได้ คนไข้จะมีอาการไข้สูง ร่วมกับการปวดท้องน้อยที่รุนแรง มะเร็ง แม้จะมีโอกาสน้อยแต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ ทางการแพทย์พบโอกาสเป็นมะเร็งได้ประมาณ 1% ถุงน้ำเดอร์มอยด์ เป็นโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น ไม่สามารถทำให้เล็กลงด้วยยาหรือฮอร์โมน ซึ่งต่างจากช็อกโกแลตซีสต์ ผ่าตัดเลาะเฉพาะถุงน้ำ (Ovarian Cystectomy) โดยจะทำในกรณีที่ยังไม่มีรังไข่เน่า จากภาวะแทรกซ้อนจากรังไข่บิดขั้ว และถุงน้ำมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ดังนั้นการตรวจพบถุงน้ำรังไข่ก่อนที่จะมีขนาดใหญ่จนเกิดภาวะแทรกซ้อนจึงเป็นการดีที่สุด เพราะการผ่าตัดในขณะที่ขนาดถุงน้ำรังไข่มีขนาดเล็กนั้นทำได้ง่ายกว่า และสูญเสียเนื้อรังไข่น้อยกว่า ส่งผลดีในกรณีที่คนไข้อายุยังน้อย และมีความต้องการมีบุตรในอนาคต ผ่าตัดรังไข่ข้างนั้น ๆ (Unilateral Oophorectomy) จะทำในกรณีที่มีภาวะรังไข่เน่าจากการที่รังไข่บิดขั้ว ทำให้รังไข่ขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นเวลานานจนรังไข่เน่า กรณีที่ถุงน้ำมีขนาดใหญ่มาก ๆ ไม่มีเนื้อรังไข่ส่วนที่ดีเหลืออยู่ และรังไข่อีกข้างดูปกติดี เพราะการเหลือรังไข่ 1 ข้าง เพียงพอสำหรับการผลิตฮอร์โมนเพศหญิงได้ หรือกรณีที่อายุมาก ๆ สงสัยว่าอาจมีเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตาม คุณผู้หญิงทุกเดอร์มอยด์ซีสต์ เป็นโรคถุงน้ำรังไข่ชนิดหนึ่ง ไม่ใช่โรคจากการถูกทำไสยศาสตร์ตามที่เข้าใจกัน หากผู้ป่วยมีอาการ เช่น ปวดท้องน้อยฉับพลัน หรือรุนแรง ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที ขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ

เลเซอร์ รีเเพร์

เลเซอร์ รีเเพร์

💕👩🏻ฟื้นฟูความมั่นใจให้คุณผู้หญิง ด้วยเลเซอร์ฟื้นฟูจุดซ่อนเร้น ปัญหาช่องคลอดที่เกิดขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นช่องคลอดแห้ง ช่องคลอดหลวม อาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือปัญหาปัสสาวะเล็ดจากการไอหรือจาม และอวัยวะเพศคล้ำ หย่อนคล้อย สิ่งเหล่านี้อาจทำให้คุณขาดความมั่นใจในชีวิตประจำวัน 👩🏻เลเซอร์ฟื้นฟูจุดซ่อนเร้น เทคโนโลยีเลเซอร์ 360 องศาที่ออกแบบมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาภายในให้คุณผู้หญิงโดยเฉพาะ โดยไม่ต้องผ่าตัด แสงเลเซอร์จะช่วยกระตุ้นการสร้างและจัดเรียงเส้นคอลลาเจนในบริเวณผนังช่องคลอด ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น และปรับสมดุล ทำให้ช่องคลอดชุ่มชื้น ลดอาการปัสสาวะเล็ด อีกทั้งยังสามารถทำให้ผิวภายนอกอวัยวะเพศกลับมาขาวกระจ่างใสได้ภายใน 1 สัปดาห์ ขั้นตอนการรักษาง่ายและรวดเร็ว ใช้เวลาไม่นานและเห็นผลทันทีหลังจากการทำครั้งแรก ควรทำต่อเนื่องเพียง 3 ครั้ง โดยเว้นระยะ 1-2 เดือน ทำให้คุณไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการใช้เวลาในขั้นตอนนี้ เตรียมพร้อมสำหรับการทำเลเซอร์ฟื้นฟูจุดซ่อนเร้น : - ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเข้ารับบริการ - ควรทำหลังจากมีรอบเดือน - หากมีประวัติเป็นเริมหรือใช้ยาลดการแข็งตัวของเลือด ควรแจ้งแพทย์ล่วงหน้า เปลี่ยนปัญหาที่คุณกังวลให้เป็นเรื่องเล็ก ๆ ด้วยเลเซอร์ฟื้นฟูจุดซ่อนเร้น ฟื้นฟูความมั่นใจ และพร้อมใช้ชีวิตอย่างมั่นใจอีกครั้งกับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช็กตารางออกตรวจแพทย์ ศูนย์สุขภาพสตรี คลิก https://doctor.bangkokhospitalchanthaburi.com/alldoctor.php สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ตกขาว

ตกขาว

ตกขาว(ปกติ) ตกขาวปกติมักมีลักษณะเป็นมูกใสหรือคล้ายเเป้งเปียก แต่ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ไม่คัน โดยทั่วไปแล้ว สตรีอาจมีการตกขาวบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะช่วงของการตกไข่ ช่วงของการตั้งครรภ์ หรือช่วงที่รับประทานยาคุมกำเนิด ก็อาจจะยิ่งทำให้มีการตกขาวได้ชัดเจนขึ้น หากตกขาวมีลักษณะดังกล่าวข้างต้นก็ไม่มีข้อบ่งชี้ที่จะต้องรักษาแต่อย่างใด เว้นแต่การตกขาวนั้นเป็นอยู่นานเกิน 2 สัปดาห์ มีสีที่เปลี่ยนแปลง มีกลิ่น สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888