ภาวะในเด็กหลังหายป่วยจากโควิด-19

ภาวะในเด็กหลังหายป่วยจากโควิด-19

โรค Multisystem Inflammatory Syndrome in Children (MIS-C) ก่อให้เกิดการอักเสบในอวัยวะทั่วทั้งร่างกายมักพบในเด็กที่มีประวัติการติดเชื้อโรคโควิด-19 นำมาก่อนถึง 2-4 สัปดาห์ โดยเกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 แล้วก่อให้เกิดอาการของโรค MIS-C เด็กที่ป่วยด้วยโรค MIS-C อาจเกิดอาการช็อกหรือเสียชีวิตได้แม้จะมีสุขภาพแข็งแรง และไม่มีโรคประจำตัว ผู้ปกครองจึงควรเฝ้าระวังอาการของเด็กหลังหายป่วยจากโรคโควิด-19 อย่างใกล้ชิด หากเด็กมีอาการคล้ายกับโรค MIS-C หรือโรคคาวาซากิ ผู้ปกครองควรพามาพบแพทย์ทันที

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคท้องเสีย หรือโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

โรคท้องเสีย หรือโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

โรคท้องเสีย หรือโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก ก็ได้ให้คำนิยามเอาไว้ว่า หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลว หรือ มีน้ำมากกว่าปกติ 3 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ำ 1 ครั้ง หรือถ่ายมีมูกเลือด 1 ครั้งในเวลา 1 วัน กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นโรคท้องเสีย ซึ่งจะต้องทำการรักาาให้ถูกวิธี สาเหตุ สาเหตุของโรคท้องเสียส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนเข้าไป หรือคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสม แล้วผสมนมไม่ถูกส่วนหรือล้างภาชนะไม่สะอาด อาหารไม่สะอาด นอกจากนี้เด็กที่ชอบดูดนิ้วหรืออมมือ และชอบหยิบของหล่นจากพื้นเข้าปากก็อาจท้องเสียจากการติดเชื้อได้ง่าย อาการที่ควรมาพบแพทย์ทันที อาเจียนมาก ทานไม่ได้ มีไข้สูง ปวดท้อง กระสับกระส่าย ชีพจรเต้นเบา อ่อนเพลียมาก ในเด็กสังเกต กระหม่อมหนานุ่ม ตาลึกโหล หายใจหอบ ปัสสาวะน้อยลง การป้องกันโรคท้องเสียในเด็กทำได้โดยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ล้างมือให้สะอาดก่อนปรุงอาหารและรับประทานอาหารทุกครั้ง รับประทานอาหารและดื่มน้ำที่สะอาด ตลอดจนดูแลสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้าน ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน เพียงเท่านี้ทุกคนในบ้านก็จะมีสุขภาพดีกันทุกคน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

การดูแลเด็กสมาธิสั้นสำหรับคุณครู

การดูแลเด็กสมาธิสั้นสำหรับคุณครู

การรักษาเด็กสมาธิสั้นประกอบด้วยการรักษาด้วยยา และการฝึกวินัย การปรับพฤติกรรม ดังนั้นครูจึงนับมีบทบาทสำคัญไม่แพ้คนในครอบครัวในการดูแลเด็กกลุ่มนี้ สำหรับคำแนะนำการดูแลเด็กกลุ่มนี้เมื่ออยู่โรงเรียน ได้แก่ จัดให้เด็กนั่งหน้าชั้น หรือใกล้ครูให้มากที่สุด เพื่อให้ง่ายในการเตือนเด็ก ให้กลับมาตั้งใจเรียนเมื่อเด็กขาดสมาธิให้นั่งอยู่ท่ามกลางเด็กเรียบร้อยที่ไม่คุยในระหว่างเรียน จัดให้นั่งกลางห้อง หรือไกลจากประตูหน้าต่าง เพื่อลดโอกาสวอกแวก โดยสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกห้องเรียน เมื่อหมดสมาธิจริงๆ ควรจัดกิจกรรมที่เปลี่ยนอิริยาบถ และเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ให้เด็กทํา เช่น ให้ช่วยครูแจกสมุดให้เพื่อน ๆ ในห้อง ลบกระดานดํา เติมน้ำใส่แจกัน เป็นต้น ให้คําชมเชย หรือรางวัล เมื่อเด็กปฏิบัติตัวดีหรือทําสิ่งที่เป็นประโยชน์ คิดรูปแบบวิธีตักเตือน หรือเรียกให้เด็กกลับมาสนใจบทเรียนโดยไม่ทําให้เด็กเสียหน้า เขียนการบ้าน หรืองานที่เด็กต้องทําในชั้นเรียนให้ชัดเจนบนกระดานดํา พยายามสั่งงานด้วยวาจาให้สั้นที่สุด ถ้าต้องสั่งงานด้วยวาจา ควรสั่งตามขั้นตอน หลีกเลี่ยงการสั่งพร้อมกันทีเดียวหลาย ๆ คําสั่ง ให้เวลาทําให้เสร็จทีละอย่าง ก่อนให้คําสั่งต่อไป หลังจากสั่งเด็ก ควรถามกลับว่าสั่งอะไรเพื่อตรวจสอบความเข้าใจและยืนยันในคําสั่ง ตรวจสมุดงานสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กจดงานได้ครบถ้วนและฝึกฝนให้เด็กตรวจทานงาน ถ้าสมาธิสั้นมาก ควรลดเวลางานให้สั้นลง เพื่อให้เกิดความพยายามทํางานให้เสร็จทีละอย่าง ซึ่งใช้เวลาไม่นาน ให้เน้นความรับผิดชอบที่จะต้องทํางานให้เสร็จ หลีกเลี่ยงการใช้วาจาตําหนิ ประจาน ประณาม หรือทําให้เด็กอับอายขายหน้าและไม่ลงโทษเด็กด้วยความรุนแรง เช่น การตี หากเป็นพฤติกรรมจากโรคสมาธิสั้น เช่น ซุ่มซ่าม ทําของเสียหาย หุนหันพลันแล่น ใช้การตัดคะแนน งดเวลาพัก ทําเวรหรืออยู่ต่อหลังเลิกเรียน ( เพื่อทํางานที่ค้างอยู่ให้เสร็จ ) เมื่อเด็กทําความผิด มองหาจุดดีของเด็ก และสนับสนุนให้เด็กได้แสดงออกถึงข้อดี หรือความสามารถของตัวเอง พยายามสร้างบรรยากาศที่เข้าใจ และเป็นกําลังใจให้เด็กพยายามปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น ให้ความช่วยเหลือด้านการเรียนเป็นพิเศษ ถ้ามีความบกพร่องด้านการเรียนร่วมด้วย ควรให้เด็กได้รับการสอนแบบตัวต่อตัว เพราะทําให้เรียนรู้ได้ดีที่สุด ครูสามารถคุมให้เด็กมีสมาธิ และยืดหยุ่นการเรียนการสอนให้เข้ากับความพร้อมของเด็กได้ดีกว่า ครูควรให้เวลาที่ใช้ในการสอนสําหรับเด็กที่เป็นสมาธิสั้น นานกว่าเด็กปกติ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ผื่นผ้าอ้อม

ผื่นผ้าอ้อม

สาเหตุของผื่นผ้าอ้อม สาเหตุมักเกิดจากผิวหนังของเด็กทารกซึ่งบอบบางมาก สัมผัสอยู่กับปัสสาวะอุจจาระ ทําให้เกิดปฏิกิริยาเป็นผื่นแพ้ขึ้นมา ตําแหน่งที่พบ มักจะพบบริเวณที่ใส่ผ้าอ้อม บริเวณขาหนีบ ก้น ต้นขา ลักษณะผื่น เป็นผื่นสีแดงชัดเจน ลามออกมา ไม่มีตุ่มหนองหรือสะเก็ดลอก ข้อสังเกต จะพบเด็กทารกมักจะร้องให้กวนบ่อยกว่าปกติ ร้องกระจองอแง ทั้งนี้เป็นเพราะไม่ค่อยสบายตัว ไม่สบายก้นนั้นเอง เนื่องจากมีผื่นแดงระคายเคืองอยู่ ปัญหาแทรกซ้อน ถ้าเด็กทารกเป็นผื่นมานานมากกว่า 72 ชั่วโมง อาจจะพบเชื้อยีสต์แคนดิดา (Candida albicans) ร่วมด้วย ข้อแนะนํา ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ และทาแป้งเด็กทําให้ผิวหนังบริเวณนี้แห้งไม่อับชื้น การรักษา ควรพามาพบปรึกษาแพทย์ เพราะถ้าเป็นผื่นแพ้ผ้าอ้อมจริง แพทย์จะให้ใช้ยาทากลุ่ม สเตียรอยด์อย่างอ่อนทา ผื่น แดงจะลดลง แต่ถ้าในทางตรงกันข้าม ผื่นนี้เกิดจากเชื้อยีสต์แคนดิดา ถ้าใช้ยาทากลุ่มสเตียรอยด์ ผื่นจะยิ่งลุกลาม เป็นมากขึ้นนกว่าเดิม จึงควรจะให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยดู จะดีกว่า ซื้อยามาทาเอง ติต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ภาวะฉุกเฉินในเด็ก

ภาวะฉุกเฉินในเด็ก

วัยเด็กเป็นวัยที่เปราะบาง และต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใหญ่ โดยผู้ใหญ่จะต้องเป็นผู้ที่คอยสังเกตความผิดปกติ โดยหากมีอาการดังต่ไปนี้ ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินและควรนำบุตรหลานส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน เมื่อเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง เช่น กินสารพิษ กินยาเกินขนาด หรือเลือดออกไม่หยุด หลังจากที่พยายามห้ามเลือดแล้ว เช่น การกด ฯลฯ หมดสติ เรียกไม่รู้สึกตัว ถูกงกัดู สัตว์มีพิษหรือแมลงต่อยแล้วเกิดอันตรายรุนแรงใน 30 นาที เช่น มีไข้ ปวดข้อ ปวดศีรษะ ลมพิษขึ้นทั้งตัว แน่นในคอ บวมมาก หมดสติ หายใจไม่ออก หายใจลําบาก กระวนกระวายหรือหน้าเขียว เด็กอาจชักเมื่อไข้สูงหรือลมบ้าหมู ให้เด็กนอนเอียงหน้า เอาเศษอาหาร ในปากหรือจมูกออก ห้ามเอาของแข็งหรือช้อนงัดปาก ถ้ามีไข้เช็ดตัวด้วย น้ำธรรมดา แล้วรีบพาเด็กไปห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด อย่าพยายามกรอกยาขณะเด็กชัก ปวดท้องรุนแรง งดอาหารและเครื่องดื่ม ห้ามกินยาถ่าย ถ้ามีไข้และ อาเจียนด้วย อาจเป็นไส้ติ่งอักเสบหรือโรคร้ายอื่นๆ อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด หรือเป็นสีดําจํานวนมาก อาจเป็นเพราะมีเลือดออกในกระเพาะหรือลําไส้ ท้องเสียในเด็กอ่อน เด็กเล็กๆ ถ่ายเพียง 3 - 4 ครั้ง ก็เสียน้ำได้มากๆ ถ้าเด็กมีอาการกระวนกระวาย ตัวร้อน ผิวแห้ง ปัสสาวะน้อยแสดงว่าขาดน้ำมาก สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

การเตรียมตัวทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Test)

การเตรียมตัวทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Test)

ไข้เลือดออก...ติดซ้ำร้ายแรงกว่าเดิม

ไข้เลือดออก...ติดซ้ำร้ายแรงกว่าเดิม

ไข้เลือดออก...ติดซ้ำร้ายแรงกว่าเดิม โรคไข้เลือดออกเด็งกี่ เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มียุงลายเป็นแมลงนำโรค โรคนี้ได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากโรคได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมากใน 30 ปีที่ผ่านมา มากกว่า 100 ประเทศที่โรคนี้กลายเป็นโรคประจำถิ่น และโรคนี้ยังคุกคามต่อสุขภาพของประชากรโลกมากกว่าร้อยละ 40 หรือกว่า 2,500 ล้านคน สถิติในประเทศไทยพบผู้ป่วยไข้เลือดออกเป็นอันดับที่ 2 รองจากประเทศฟิลิปปินส์ โดยกลุ่มอายุที่เป็นไข้เลือดออกมากที่สุด คืออายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ 5-9 ปี, 15-24 ปี และ 25-34 ปีตามลำดับ ความรุนแรงสูงสุดของโรคไข้เลือดออกคือ ทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉลี่ย ถ้าหากมีผู้ป่วย 1,000 ราย จะเสียชีวิต 1 ราย โดยสองสาเหตุหลักของการเสียชีวิตก็คือภาวะเลือดออกมาก และสารน้ำรั่วจากเส้นเลือดจนเกิดภาวะช็อกและเสียชีวิต การแพร่ระบาด กระบวนการแพร่เชื้อไวรัสของโรคนี้นั้น เกิดจากยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดของผู้ที่เป็นโรคไข้เลือดออกก่อน หลังจากนั้น เมื่อยุงลายตัวเดิมกัดคนที่อยู่ในระยะทางไม่เกิน 400 เมตร เชื้อดังกล่าวก็จะแพร่เข้าสู่คนที่สองนั้นทันที ซึ่งยุงชนิดนี้สามารถกัดคนได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน มักพบได้ในบริเวณที่มีการเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำนิ่งในบริเวณบ้าน สาเหตุไข้เลือดออก ไข้เลือดออกมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ ได้แก่ DENV-1, DENV-2, DENV-3 และ DENV-4 ซึ่งในประเทศไทยพบมีการระบาดของทั้งสี่สายพันธุ์ในแต่ละพื้นที่ จึงมีโอกาสที่จะเป็นโรคไข้เลือดออกซ้ำ จากเชื้อคนละตัวได้ อาการไข้เลือดออก ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อเด็งกี่ ส่วนใหญ่จะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกและมีจุดแดงที่ผิวหนัง ซึ่งอาการสำคัญแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะคือ ระยะไข้ผู้ป่วยจะมีไข้สูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส อย่างเฉียบพลัน เป็นเวลา 2-7 วัน บางรายอาจมีอาการชักเกิดขึ้น ผู้ป่วยมักจะมีหน้าแดง ไม่มีน้ำมูกหรือไอ เบื่ออาหาร อาเจียน ตับโต กดเจ็บ มีผื่นตามตัว มีจุดเลือดออกเล็กๆ กระจายตามผิวหนัง ลำตัว แขน ขา รักแร้ เนื่องจากเส้นเลือดเปราะหรือการทำ Tourniquet test จะพบจุดเลือดออก อาจมีเลือดกำเดาหรือเลือดออกตามไรฟัน หรือถ่ายเป็นสีดำ ระยะวิกฤต/ช็อก อาการจะเลวลงเมื่อไข้ลดลงกะทันหัน ผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น รอบๆ ปากเขียว บางรายอาจมีอาการปวดท้องมาก่อนจะมีอาการช็อก ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำ ถ้าให้การรักษาไม่ทัน ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตใน 12-24 ชั่วโมง แต่ถ้าได้รับการรักษาถูกต้องและทันเวลา ผู้ป่วยจะหายได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ในรายที่มีอาการไม่รุนแรง เมื่อไข้ลดลงอาการต่างๆ จะดีขึ้น ส่วนใหญ่ไข้จะลดลงอย่างรวดเร็ว อาจมีเหงื่อออกมากและมือเท้าเย็น ชีพจรเบาเร็ว แต่จะเป็นเพียงช่วงสั้นๆ จะกลับเป็นปกติ เริ่มรู้สึกอยากอาหาร ซึ่งจะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าผู้ป่วยพ้นระยะอันตราย ระยะฟื้นตัว อาการโดยทั่วไปดีขึ้นอย่างชัดเจน ความดันโลหิตและชีพจรปกติ ตับที่โตจะลดขนาดลงภายใน 1-2 สัปดาห์ มักจะมีผื่นแดงที่ขา ปลายมือปลายเท้าและมีอาการคัน ป่วยซ้ำได้ คนหนึ่งคนสามารถเป็นไข้เลือดออกได้มากกว่าหนึ่งครั้งและในครั้งถัดมาของการติดเชื้อ อาการของโรคมักจะหนักมากกว่าครั้งก่อน มีความรุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะในการได้รับเชื้อไข้เลือดออกในครั้งแรกร่างกายของเราจะมีระบบภูมิคุ้มกันโดยการสร้างภูมิต้านทานออกมาต่อสู้กับการเชื้อไวรัส แต่ภูมิต้านทานไม่ได้อยู่ถาวรหรือป้องกันชนิดอื่นๆ สามารถป้องกันได้เพียงสายพันธุ์ที่เคยติดมาแล้ว เมื่อได้รับเชื้อไข้เลือดออกซ้ำในครั้งที่สองแต่คนละสายพันธุ์ภูมิต้านของเราในร่างกายเราจึงเกิดอาการสับสน และทำงานได้ไม่ดีพอ ไม่สามารถสู้กับเชื้อไวรัสได้อย่างทันเวลา หรือบางรายภูมิต้านทานที่เคยเป็นเกราะป้องอาจกลับผันตัวเองไปเป็นตัวช่วยให้เชื้อไวรัสนั้นแข็งแรงขึ้น กระจายตัวได้มากขึ้น จึงเป็นสาเหตุทำให้การติดเชื้อครั้งที่สองหรือครั้งต่อมายิ่งรุนแรงขึ้นนั้นเอง การดูแลรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออก ในปัจจุบันยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสเดงกี่ จึงให้การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ คือ เช็ดตัวลดไข้ เพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการชัก ให้ยาลดไข้จำพวกพาราเซตามอล “ห้ามใช้ยาจำพวกแอสไพริน” เพราะจะทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารและทำให้เลือดออกง่าย ให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำชดเชย เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มีไข้สูง เบื่ออาหาร อาเจียนและอ่อนเพลีย ควรให้ดื่มน้ำผลไม้ น้ำเกลือแร่ โดยดื่มทีละน้อยๆ แต่ดื่มบ่อยๆ ให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย เมื่อสงสัยว่าคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก โดยมีไข้สูงลอย เกิน 38.5 องศาเซลเซียส นานเกิน 2 วัน หรือหน้าแดง คอแดง ปวดศีรษะ หรือปวดกระบอกตา ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว จะทำให้ลดการเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกได้ การป้องกัน ป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยนอนกางมุ้งหรือมีมุ้งครอบ แม้ตอนกลางวัน กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย โดยกำจัดลูกน้ำในภาชนะต่างๆ ที่มีน้ำขัง ด้วยการใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชู เช่น ใส่ลงในขารองตู้กับข้าว ปิดฝาภาชนะสำหรับเก็บน้ำให้มิดชิด เช่น โอ่ง ถังเก็บน้ำ หมั่นเปลี่ยนหรือทิ้งน้ำในภาชนะบรรจุน้ำและภาชนะที่มีน้ำขัง เพื่อป้องกันยุงมาวางไข่ เช่น แจกัน จานรองกระถางต้นไม้ เก็บทำลายเศษวัสดุ เช่น ขวด กระป๋อง เพื่อไม่ให้รองรับน้ำได้ ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะที่ไม่มีฝาปิดหรือแหล่งน้ำใกล้บ้าน ตัดต้นไม้ที่รกครึ้ม เพื่อให้มีแสงสว่างและอากาศถ่ายเทได้ดี ป้องกันตัวเองไม่ให้ยุงลายกัด ด้วยการดูแลหน้าต่าง ประตู ช่องลม ไม่ให้ยุงเข้า จัดข้าวของในบ้านไม่ให้กองสุมกัน รวมถึงเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดยุง และทากันยุงให้ถูกต้อง ฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ