ไลฟ์สไตล์ชีวิต ลดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ไลฟ์สไตล์ชีวิต ลดโรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหลอดเลือดหัวใจ เกิดจากเส้นเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงหัวใจตีบหรืออุดตันจากไขมัน เส้นเลือดจึงต้องทำงานหนัก เพื่อนำเลือดไปเลี้ยงหัวใจให้ได้เพียงพอ เกิดจากปัจจัย อายุหรือกรรมพันธุ์ ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง การไม่ออกกำลังกาย และภาวะอ้วน จะเห็นได้ว่าปัจจัยต่างล้วนเป็นไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่ผิด ที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหน่อยไหม? จะได้ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ

ปรับเปลี่ยนเรื่อง “อาหาร”

“การควบคุมอาหาร” มีความสำคัญมากถึง 80% หัวใจสำคัญในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจึงหนีไม่พ้นเรื่องของ “การปรับอาหารการกิน” เป็นหลัก โดยอาหารที่ควรเลือกกิน คืออาหารที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มหรืออาหารแปรรูปที่มักมีโซเดียม ลดอาหารหวานจัด เลี่ยงแอลกอฮอล์ ขอแนะนำว่าควรแบ่งออกเป็น 4 ส่วน

  • ครึ่งหนึ่งหรือ 2 ส่วน ควรเป็นอาหารจำพวกเส้นใย ผัก ผลไม้ อีก
  • 1 ใน 4 ส่วนจะเป็นข้าวไม่ขัดสี เช่น ข้าวไรซ์เบอร์รี่
  • ที่เหลืออีก 1 ส่วนคือโปรตีน อย่าง ปลา หรืออกไก่ ไม่ควรกินเนื้อแดงบ่อยๆ เพราะเป็นเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง

ปรับเปลี่ยนเรื่อง “ออกกำลังกาย”

การออกกำลังกาย ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักที่คนรักสุขภาพไม่ควรมองข้าม ซึ่งการออกกำลังกายที่เหมาะสมในการลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ก็คือการคาร์ดิโอทุกชนิดกีฬา โดยออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30-60 นาที 3-5 วันต่อสัปดาห์ ส่วนการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่งอาจทำเพียง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ก็เพียงพอแล้ว

ปรับเปลี่ยนเรื่อง “ความอ้วน”

การมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ไขมันในเลือดสูง หรือความดันโลหิตสูง ซึ่งการลดน้ำหนักที่เหมาะสม ก่อนอื่มต้องคำนวณหาค่า BMI โดยใช้น้ำหนักตัว หารด้วย ส่วนสูง ยกกำลังสอง หากพบว่าค่า BMI สูงเกินไป ก็ควรลดน้ำหนักให้ค่า BMI มาอยู่ระหว่าง 18-23 จึงถือว่าพอเหมาะ

เพราะหัวใจเป็นอวัยวะที่ไม่เคยได้หยุดพัก และเป็นจุดศูนย์กลางที่จะส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกายของเรา การปรับพฤติกรรมเพื่อช่วยดูแลสุขภาพหัวใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหนก็ไม่ควรมองข้าม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดค้ำยัน

การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดค้ำยัน

การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดค้ำยัน การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนหรือบอลลูนหัวใจ (Balloon Angioplasty) เป็นวิธีการขยายหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด โดยใส่อุปกรณ์ขนาดเล็กที่มีบอลลูนอยู่ตรงปลายเข้าไปทางหลอดเลือดที่ขาหรือแขนไปยังตำแหน่งหลอดเลือดที่ตีบตัน แล้วจึงกางบอลลูนออกเพื่อดันให้เบียดคราบไขมันหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลงและขยายหลอดเลือดให้กว้างออก เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีขึ้น แพทย์จะพิจารณาใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจในรายที่รอยการตีบยังไม่กว้างพอ ปัจจุบันมีการนำเอาขดลวดเคลือบยามาใช้แทนขดลวดธรรมกาเพื่อลดโอกาสเกิดการตีบซ้ำของหลอดเลือด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

โรคหัวใจ ทำไมคนรุ่นใหม่เป็นมากขึ้น

โรคหัวใจ ทำไมคนรุ่นใหม่เป็นมากขึ้น

โรคหัวใจ ทำไมคนรุ่นใหม่เป็นมากขึ้น 6 สัญญาณ “โรคหัวใจ”คร่าชีวิตเฉลี่ย 2 คนต่อชม.ใครบ้างเสี่ยง? โรคหัวใจ (Heart Disease) หลายคนคงนึกว่าเหมารวมเพียงแต่โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือ ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน เนื่องจากเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในบรรดากลุ่มโรคหัวใจ จากการรายงานสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2563 พบว่า กลุ่ม "โรคหัวใจ" และหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนทั่วโลก หรือประมาณ 17.9 ล้านคน และจากสถิติในประเทศไทย พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 6 หมื่นรายต่อปี เฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกิดขึ้นกับหัวใจได้อีกมากมาย อาทิ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น รู้หรือไม่ ? ทำไมคนรุ่นใหม่ถึงเป็นโรคหัวใจมากขึ้น ในอดีตโรคหลอดเลือดหัวใจมักเกิดในผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันเราพบว่าหนุ่มสาววัยทำงานนั้นมีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย อยู่ในภาวะเครียด พักผ่อนน้อย ยิ่งหากใครที่สายปาร์ตี้ด้วยแล้วยิ่งเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจมากขึ้นไปอีก ส่วนปัจจัยที่นอกเหนือจากพฤติกรรมก็มีอยู่บ้าง เช่น โรคประจำตัว อาทิ โรคเบาหวาน หรือมีภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง พันธุกรรม สัญญาณเตือน “โรคหัวใจ” เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง เดินเร็วๆ หรือออกกําลังกาย หายใจเข้าลำบาก อาจจะเป็นตลอดเวลา เป็นขณะออกกำลังกาย ตอนใช้แรงมากๆ หรือเป็นเฉพาะในเวลากลางคืนขณะพักผ่อน เจ็บหน้าอกหรือแน่นบริเวณกลางอก เจ็บหน้าอกด้านซ้ายบริเวณหัวใจหรือทั้ง 2 ข้างจนไม่สามารถนอนราบได้ตามปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจและอึดอัดตรงหน้าอก หายใจหอบ จนบางครั้งต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึก เป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีสีเขียวคล้ำ หากมีอาการดังกล่าวแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคหัวใจหรือไม่ ? อาศัยการซักประวัติ สอบถามอาการและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่น่าสงสัย ตรวจร่างกายในทุกระบบที่เกี่ยวข้อง ฟังการเต้นของหัวใจ ตรวจระดับไขมันและหินปูนในหลอดเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) โดยใช้สื่อนำคลื่นไฟฟ้าขนาดเล็กมาติดตามที่หน้าอก แขนและขา โดยคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะแสดงออกมาเป็นกราฟ ซึ่งแพทย์จะอ่านผลและวินิจฉัยความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) คือการให้ผู้เข้ารับการตรวจเดินหรือวิ่งบนสายพานเพื่อกระตุ้นให้หัวใจเต้นแรงขึ้น ผลจะแสดงออกมาเป็นกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography) สำหรับผู้ที่ไม่พร้อมทดสอบด้วยการวิ่งบนสายพาน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้มีปัญหาด้านการเดิน เป็นการตรวจเพื่อดูกายวิภาคของหัวใจ ความหนาของผนังหัวใจ การเคลื่อนที่และการบีบตัว ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคหัวใจได้เกือบทุกประเภท ตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Coronary Artery) เพื่อวิเคราะห์หาเส้นเลือดที่ตีบ-ตัน หรือความผิดปกติอื่นๆ ของหลอดเลือดหัวใจ หากตรวจแล้วพบข้อสงสัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ การตรวจที่จะบอกได้แน่ชัดที่สุดว่ามีการตีบหรือใกล้ตันในจุดใด คือ การฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจ ที่เรียกว่าการสวนหลอดเลือดหัวใจ นั่นเอง ดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคหัวใจ เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตส่งผลต่อสุขภาพหัวใจโดยตรง ดังนั้นเราควรปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้ เลือกกินอย่างเหมาะสม ไม่หวาน ไม่มัน ไม่เค็มจนเกินไป กินผัก ผลไม้ที่มีกากใยให้มากขึ้น โดยเลือกชนิดที่น้ำตาลไม่สูง ออกกำลังกายแบบคาร์ดิโออย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับหัวใจ ช่วยลดไขมันเลว (LDL) และเพิ่มไขมันดี (HDL) ในหลอดเลือด ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพราะการมีน้ำหนักตัวมากเกินไปเป็นปัจจัยสำคัญในเกิดโรคต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจ เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพติดต่างๆ ที่จะทำให้เกิดความเสี่ยง ทำจิตใจให้แจ่มใส หากรู้ตัวว่ามีความเครียดควรรีบหาวิธีกำจัดอย่างเหมาะสม พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ เลือกตรวจสุขภาพประจำปีให้เหมาะสมตามช่วงวัยและความเสี่ยง ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

การรักษาที่ก้าวล้ำ ดูแลหัวใจของคุณโดยไม่ต้องผ่าตัด

การรักษาที่ก้าวล้ำ ดูแลหัวใจของคุณโดยไม่ต้องผ่าตัด

แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอกนานเกิน 5 นาที และเหนื่อยง่าย เป็นสัญญาณเตือนของภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ซึ่งเกิดจากการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายและเป็นอันตรายถึงชีวิต ⸻ การรักษาที่ก้าวล้ำ: ดูแลหัวใจของคุณโดยไม่ต้องผ่าตัด เคสนี้หลังได้รับการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งปัจจุบันสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด ผ่านเทคนิคหัตถการสวนหัวใจ (Interventional Cardiology) ด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยและความชำนาญเฉพาะทางของแพทย์ ลดความเสี่ยงจากการผ่าตัดใหญ่ ฟื้นตัวเร็ว กลับบ้านได้ไว ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน รักษาโดย นพ.วิวัฒน์ กาญจนรุจวิวัฒน์ แพทย์ผู้ชำนาญการสาขาหัตถปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด Diploma of Interventional Cardiology (Thai) Diploma of Advanced Interventional Cardiology, New Tokyo Hospital, Chiba, Japan ⸻ Cath Lab: เทคโนโลยีล้ำหน้าเพื่อดูแลหัวใจคุณ Cath Lab (Cardiac Catheterization Lab) หรือ ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจด้วยการฉีดสีและเอกซเรย์พิเศษ การตรวจและรักษาภายใน Cath Lab ตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจตีบและอุดตัน ประเมินการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจ รักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบโดยการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด (Stent) ใช้ในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันได้อย่างแม่นยำ ⸻ โรคหลอดเลือดหัวใจ… ยิ่งตรวจเร็ว ยิ่งลดความเสี่ยง อาการเตือนที่ไม่ควรละเลย เจ็บหน้าอกซ้ายหรือกลางอก แน่นหน้าอก รู้สึกเหมือนถูกกดทับ หายใจติดขัด เหนื่อยง่าย คลื่นไส้ เวียนศีรษะ หน้ามืด หากมีอาการเหล่านี้ รีบพบแพทย์ทันที! อย่าปล่อยให้อาการเล็กน้อยลุกลามจนสายเกินไป ⸻ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี พร้อมดูแลหัวใจของคุณ ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด พร้อมห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ Cath Lab ของเราพร้อมให้บริการ วินิจฉัยแม่นยำ รักษาตรงจุด ทีมแพทย์เฉพาะทางพร้อมดูแล 24 ชั่วโมง เครื่องมือและเทคโนโลยีระดับสากล ใส่ใจคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

ตรวจสุขภาพของหัวใจแบบไหนเหมาะกับคุณ

ตรวจสุขภาพของหัวใจแบบไหนเหมาะกับคุณ

ตรวจสุขภาพของหัวใจแบบไหนเหมาะกับคุณ 5 วิธีตรวจสุขภาพหัวใจ เลือกให้เหมาะกับคุณ รู้ทันลดความเสี่ยงก่อโรค ใครๆ ก็อยากมีสุขภาพที่ดี ซึ่งสามารถทำได้ด้วย Work life Balance การกินดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และนอนดี รวมถึงไม่เครียด แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่หลายคนมองข้าม คือ “การตรวจสุขภาพ” ที่นับเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างมากโดยเฉพาะการตรวจคัดกรอง “โรคหัวใจ” สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ เพราะการตรวจจะช่วยทั้งคัดกรอง ค้นหาความเสี่ยงและพบความผิดปกติที่ซ่อนอยู่ การป้องกัน ชะลอการลุกลาม และรักษาให้ดีขึ้นก่อนที่จะสายเกินไป ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนไปจากอดีต คนส่วนใหญ่มีความเครียดจากการทำงานที่มีการแข่งขันสูง การทำงานนั่งโต๊ะที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย การพักผ่อนไม่เพียงพอ และการกินอาหารที่ทำลายสุขภาพ ซึ่งกว่าครึ่งของคนที่เป็นโรคหัวใจมักไม่แสดงอาการให้เห็นล่วงหน้า หลายคนจึงไม่รู้ตัวว่ากำลังเผชิญกับโรคหัวใจอยู่ โดยกว่าอาการจะแสดงออกมาให้รู้ตัวว่าเป็นโรคหัวใจก็มักสายไปเสียแล้ว วิธีที่จะบอกให้แน่ชัดว่าคุณมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจหรือไม่นั้น ก็คือการไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กให้แน่ใจนั่นเอง ใครบ้าง?...ที่เสี่ยงเป็น “โรคหัวใจ” ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมและปรับเปลี่ยนได้ เช่น การสูบบุหรี่ มีความเครียด ไม่ออกกำลังกาย กินอาหารที่มีไขมันสูงหรือรสเค็มจัด การมีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง มีไขมันในเลือดสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคเบาหวาน ซึ่งเราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และพยายามควบคุมรักษาระดับความรุนแรงของโรคที่เป็นให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ในการดูแลของแพทย์ ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ด้านพันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นโรคหัวใจ เราก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจสูงกว่าคนทั่วไป อายุ เพราะเมื่ออายุมากขึ้น ตะกรันไขมันที่พอกพูนสะสมผ่านวันเวลาที่ยาวนานก็มักมากขึ้นตามอายุ ทำให้ผู้สูงวัยมีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดตีบสูงขึ้น เพศ จากงานวิจัยต่างๆ แสดงให้เห็นว่า โรคหลอดเลือดหัวใจนั้นเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยอาจมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนเพศหญิงที่ช่วยควบคุมปริมาณไขมันให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม แต่ในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้น เช่นกัน อยากตรวจสุขภาพหัวใจ เลือกตรวจแบบไหนดี? ตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST Exercise Stress Test) เป็นวิธีที่ทำให้แพทย์ตรวจพบการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติได้ เช่น หายใจลำบาก เจ็บแน่นหน้าอก การเต้นของหัวใจผิดปกติ หรือมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวที่ผิดปกติ เป็นการตรวจที่จะให้ทราบถึงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ดี ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (ECHO Echocardiogram) เป็นการตรวจด้วยการใช้คลื่นเสียงเพื่อสะท้อนกลับมาและแปลเป็นภาพ ซึ่งจะเห็นทั้งรูปร่าง ขนาด และการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการหอบ เหนื่อย บวม ที่สงสัยว่าอาจเกิดจากโรคหัวใจ หรือคนทั่วไปที่มีความเสี่ยง ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือ (EKG Electrocardiography )เป็นการตรวจดูว่าในแต่ละจังหวะการเต้นของหัวใจมีความผิดปกติหรือไม่ โดยการติดตัวรับสัญญาณบนผิวหนังบริเวณหน้าอก เป็นการตรวจที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด หรืออันตราย สามารถตรวจได้ทุกเพศทุกวัย ตรวจหาหินปูนและการตีบของหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Scoring) เป็นการตรวจดูปริมาณหินปูนในหลอดเลือดโดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เพื่อดูความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจในอนาคต ลดโอกาสเสียชีวิตฉับพลัยจากโรคหัวใจในอนาคต ตรวจเส้นเลือดแดงด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CTA Coronary CT Angiography) เป็นวิธีการตรวจดูเส้นเลือดของหัวใจว่ามีหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน หรือความผิดปกติอื่นๆหรือไม่ โดยผู้เข้ารับการตรวจจะต้องมีการฉีดสารทึบรังสีก่อนการตรวจ เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถประเมินอาการได้อย่างแม่นยำ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถตรวจด้วยวิธีเดินสายพานได้ ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจ ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปทั้งชายและหญิง ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หรือความดันโลหิตสูง ผู้ที่ชื่นชอบการทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ รวมทั้งผู้ที่ใกล้ชิดกับบุคคลที่สูบบุหรี่ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนหลับไม่สนิท และรู้สึกอ่อนเพลียเป็นประจำ ไม่มีประวัติโรคหัวใจ ใช่ว่าไม่เสี่ยง! การเสียชีวิตจากโรคหัวใจอย่างกะทันหันมี 2 สาเหตุหลักที่พบได้บ่อย คือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบฉับพลัน ซึ่งเป็นภาวะที่ค่อนข้างอันตรายและน่ากลัว เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่มีการแสดงอาการที่บ่งบอกให้รู้ แม้ว่าหลอดเลือดจะตีบไปแล้วกว่า 50% แต่หากหัวใจยังสูบฉีดเลือดได้ก็จะไม่แสดงอาการใดๆ ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตัวเองเป็น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปกติอัตราการเต้นของหัวใจที่ จะอยู่ที่ 60-100 ครั้ง/นาที ซึ่งเท่ากับว่า...หากอัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 60 ครั้ง/นาที หรือ สูงกว่า 100 ครั้ง/นาที จะถูกนับว่าเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ส่งผลให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้น้อยลง... นำไปสู่ภาวะหัวใจวาย! อย่ามัวรอให้หัวใจส่งสัญญาณเตือน เพราะเราสามารถดูแลสุขภาพหัวใจได้ตั้งแต่วันนี้ โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้ารับการตรวจสุขภาพทั่วไป และสุขภาพหัวใจเป็นประจำทุกปี ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ

การฉีดสีสวนหัวใจ

การฉีดสีสวนหัวใจ

การฉีดสีสวนหัวใจ การฉีดสีสวนหัวใจเป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจว่ามีการตีบตันหรือไม่ โดยแพทย์จะใส่สายสวนขนาดเล็กผ่านเข้าไปในหลอดเลือดแดงไปถึงหลอดเลือดหัวใจ เพื่อฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจแล้วถ่ายภาพด้วยการเอกซเรย์ หากผลการตรวจพบว่ามีการตีบตันแพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสม เช่น การใช้ยา การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดค้ำยัน หรือผ่าตัดบายพาส เป็นต้น ซึ่งการถ่างขยายหลอดเลือดตีบตันเป็นการรักษาผู้ป่วยหัวใจขาดเลือด โดยการใส่สายสวนที่มีบอลลูนเล็กๆอยู่ปลายสายผ่านหลอดเลือดที่ขาหรือข้อมือแล้วแต่ความเหมาะสมเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจที่ตีบแล้วทำการขยายหลอดเลือด ข้อบ่งชี้ในการตรวจสวนหัวใจ มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกบ่อยๆ ไม่สามารถทำงานได้ปกติ ผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หลอดเลือดหัวใจตีบตีน ผู้ป่วยที่เคยมีภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจวายน้ำท่วมปอด ลิ้นหัวใจรั่ว และต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อประเมินสภาพหลอดเลือดหัวใจเพื่อวางแผนการผ่าตัด ผู้ที่ทำการตรวจวินิจฉัยพบภาวะขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจด้วยวิธีต่างๆ เช่น การวัดสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ คำแนะนำการเตรียมตัวก่อนได้รับการสวนหัวใจ มาโรงพยาบาลตามนัดเพื่อเจาะเลือดตรวจ, ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ,ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echo) เอกซเรย์ปอดหรืออื่นๆตามแพทย์สั่ง นำยาเดิม และเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการรักษาครั้งนี้มาให้ครบถ้วน ผู้ป่วยและญาติเซ็นต์ใบยินยอมตรวจสวนหัวใจ งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนตรวจ ถ้ามีประวัติแพ้ยา อาหารทะเล สารทึบรังสี ควรแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบก่อน ไม่ควรนำของมีค่า ฟันปลอม และไม่สวมแว่นไม่สวมรองเท้า ไม่ใส่ชุดชั้นในเข้าไปในห้องสวนหัวใจ เมื่อถึงโรงพยาบาลท่านจะได้รับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ(ให้น้ำเกลือ)ตามแผนการรักษาของแพทย์ ท่านจะได้รับการเตรียมผิวหนังโดยโกนขนและทำความสะอาดบริเวณที่ใส่สายสวนได้แก่ ขาหนีบทั้งสองข้างหรือข้อมือ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ลิ้นหัวใจรั่วจากพฤติกรรม

ลิ้นหัวใจรั่วจากพฤติกรรม

ลิ้นหัวใจรั่วจากพฤติกรรม “ลิ้นหัวใจรั่ว”จากหลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบจากพฤติกรรมเสี่ยง ในอดีต เรามักเข้าใจว่า ลิ้นหัวใจรั่ว จะเป็นได้ต้องเกิดจากความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด แต่ในปัจจุบัน กลับเป็นภัยใกล้ตัวและมีปัจจัยเสริมอื่นๆที่ทำให้เกิดขึ้นได้โดยเฉพาะวัย 40+ ที่ต้องระวัง ลิ้นหัวใจรั่ว (Heart Valve Regurgitation) ที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงในคนที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย โหมหนักงานจนไม่มีเวลาดูแลตัวเอง จนป่วยด้วยโรคต่างๆมากมาย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคไขมันในเลือดสูง จนสุดท้ายภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบที่ทำร้ายหัวใจเราได้โดยตรง สาเหตุของลิ้นหัวใจรั่ว แบ่งเป็น 2 สาเหตุ เกิดจากตัวลิ้นหัวใจเอง อาจเป็นตั้งแต่กำเนิด หรือว่าเป็นตอนโต เกิดจากผลแทรกซ้อนจากโรคอื่น การติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อจากแบคทีเรียในลำคอหรือทางเดินหายใจ และเกิดผลแทรกซ้อนตามมา มักจะเกิดในเด็ก ผู้สูงอายุหรือกลุ่มผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายและเกิดลิ้นหัวใจรั่วตามมา ปัจจัยเสี่ยงของหลอดเลือดหัวใจตีบ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่่ อายุที่มากขึ้น หรือ กรรมพันธุ์ ความเสี่ยงเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว เป็นตั้งแต่กำเนิด กลุ่มที่สามารถติดเชื้อได้ง่าย เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง กลุ่มที่มีความเสี่ยงกับภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ กรรมพันธุ์ได้แก่ ผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ลิ้นหัวใจรั่วอาการอย่างไร? เสียงหัวใจผิดปกติ เป็นลักษณะเสียงฟู่ เริ่มมีอาการตั้งแต่ เหนื่อยง่าย จนกระทั่งหอบเหนื่อย น้ำท่วมปอด นอนราบไม่ได้ มีอาการใจสั่น หรือเจ็บหน้าอก มีอาการบวมที่เท้าและข้อเท้า วินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจรั่วได้อย่างไร วินิจฉัยด้วยการฟังเสียงหัวใจ และ X-ray เพื่อดูขนาดของเงาหัวใจ ดูภาวะน้ำท่วมปอด หลังจากนั้นจะใช้การตรวจที่เรียกว่า คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram) เพื่อตรวจดูว่า พยาธิสภาพของตัวลิ้นหัวใจผิดปกติอย่างไร รั่วแบบไหน ซึ่งต้องพิจารณาว่าจะต้องทำการรักษา เช่น การผ่าตัด หรือการรักษาแบบอื่น เฉพาะรายบุคคลไป การป้องกันเพื่อไม่ให้เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว การออกกำลังกาย หมั่นดูแลตัวเองกินอาหารที่เป็นประโยชน์เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิด ก็ยังนับเป็นแนวทางป้องกันโรค หากมีอาการใจสั่น เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย เท้าบวม หรือมีโรคที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ควรจะพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คร่างกายและทำตามคำแนะนำจากแพทย์ ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ฺฺBDMS สถานีสุขภาพ

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง