ออกกำลังกายหนักเกินไปมีผลเสียอย่างไร

ออกกำลังกายหนักเกินไปมีผลเสียอย่างไร

การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมมีผลดีต่อสุขภาพในหลายด้าน แต่ในทางกลับกัน การออกกำลังกายมากเกินไปก็สามารถทำให้เกิดผลเสียต่อร่ายกายตามมาได้เช่นกัน โดยการออกกำลังกายมากขึ้นอาจทำให้เกิดผลต่อร่างกายดังต่อไปนี้

  1. เกิดการบาดเจ็บของร่างกาย
  2. รบกวนการนอนหลับ
  3. ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  4. เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

ออกกำลังกายแค่ไหนจึงจะเหมาะสม

โดยทั่วไปการออกกำลังกายที่เหมาะสม คือ ครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับประเภทและความหนักของการออกกำลังกายชนิดนั้น ๆ รวมถึงภาวะสุขภาพมีความแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล ดังนั้นแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เทรนเนอร์ และแพทย์ประจำตัว(กรณีมีโรคประจำตัว) เพื่อการวางแผนออกกำลังกายอย่างเหมาะสมกับตนเอง

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

รักษาอาการปวดด้วยคลื่นแม่เหล็ก

รักษาอาการปวดด้วยคลื่นแม่เหล็ก

อาการชามือจากอฟฟิศซินโดรม

อาการชามือจากอฟฟิศซินโดรม

อาการชามือจากอฟฟิศซินโดรม อาการชามือเป็นหนึ่งในอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม พบได้บ่อยในวัยทำงาน โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานใช้นิ้วมือมากเกินไปจนเกิดการเกร็ง การกดเบียด และสั่นสะเทือนถึงเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการชาขึ้นได้ ซึ่งมักจะเริ่มจากอาการชาที่ฝ่ามือและนิ้ว ในขณะที่ใช้งานอย่างต่อเนื่อง หากเป็นมากอาจมีอาการชาจนเหมือนเป็นเหน็บทั้งที่ไม่ได้ใช้งานอยู่ บางรายอาจปวดตอนกลางดึกจนต้องตื่นมาบวดฝ่ามือ ซึ่งอาการดังกล่าวหากปล่อยไว้นานจะทำให้เกิดอาการอ่อนกำลังของมือจนถึงเกิดอาการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อมือได้ สาเหตุของอาการมือชา อาการมือชาจากออฟฟิศซินโดรมส่วนมากเกิดจากหารหนาตัวของเอ็นกระดูกบริเวณข้อมือหรือที่บริเวณอุโมงค์ข้อมือจนกดรัดเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อฝ่ามือ และเส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกที่ฝ่ามือ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อมือมาก ๆ จึงทำให้เกิดการระคายมากขึ้น ผู้ที่มีควมเสี่ยงเกิดอาการมือชา พนักงานออฟฟิศ ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพทืเป็นเวลานาน กุ๊ก แม่ครัว ช่างทำผม แม่บ้าน-พนักงานทำความสะอาด ผู้ป่วยเบาหวาน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ สตรีตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีข้อต่อกระดูกคอเสื่อม รวมถึงการขาดวิตามินบี การป้องกันและรักษาอาการมือชา ลดการใช้งาน เปลี่ยนพฤติกรรม หรือจัดท่าการใช้งานให้เหมาะสม ไม่ควรงอข้อมือมากเกินไป ใช้อุปกรณ์ช่วยประคองข้อมือสำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้ข้อมือพัก การรัษาอาการมือชา รักษาด้วยยาต้านการอักเสบ กำจัดปัจจัยเสี่ยง เช่น หากเกิดจากการใช้งานเยอะ ให้พักใช้ชั่วคราว ลดการสั่นสะเทือน ปรับท่าการใช้งานแขนและมืออย่างเหมาะสม บริหารกล้ามเนื้อแขนและมือ ทำกายภาพหรือนวดอย่างถูกวิธี กรณีขาดวิตามินบี แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการให้วิตามินบี การผ่าตัดเอ็นที่ไปกดรัดเส้นประสาทนั้น ขอขอบคุณข้อมูลจาก : เว็บไซต์โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์

กลืนลำบาก

กลืนลำบาก

กลืนลำบาก กลืนลำบากไม่ใช่เรื่องเล็ก กลุ่มเสี่ยงควรดูแลอย่างใกล้ชิดและควรตรวจประเมินการกลืน เพื่อป้องกันกันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางระบบประสาท เช่น พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคต่าง ๆ เช่น มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกล่องเสียง ผู้ป่วยที่เคยใส่ท่อช่วยหายใจนาน ๆ อาการ สำลัก หรือเจ็บ ขณะกลืนอาหารหรือเคี้ยวอาหารลำบาก รู้สึกอาหารติดในคอหรือมีอาหารออกทางจมูก ไอ หรือ หอบ ขณะหรือหลังรับประทานอาหาร เสียงเปลี่ยน เสียงแหบ หายใจไม่อิ่ม รับประทานอาหารได้ช้า มีน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ประโยชน์ของการตรวจการกลืน ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืน โดยเฉพาะเรื่องปอดอักเสบจากการสำลักอาหาร ซึ่งอาจก่อผลกระทบรุนแรงถึงชีวิตของผู้ป่วยได้ เพื่อวางแผนการถอดสายให้อาหารในผู้ป่วยรายที่แพทย์ประเมินแล้วว่ามีความสามารถในการกลืนด้วยตนเองได้อย่างปลอดภัย ป้องกันอันตรายจากการสำลักอาหารโดยไม่แสดงอาการในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สอบถามเพิ่มเติมที่ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ท่านั่งที่ควรเปลี่ยน ถ้าไม่อยากมีอาการปวดหลัง

ท่านั่งที่ควรเปลี่ยน ถ้าไม่อยากมีอาการปวดหลัง

การนั่งทำงาน อาจจะดูสบาย ๆ แต่ถ้าทำต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ อาจเป็นภัยเงียบที่คอยทำลายสุขภาพทีละนิดก็เป็นได้ การนั่งทำงานผิดท่าสามารถนำมาซึ่งผลกระทบต่อสุขภาพร้ายแรง บางคนต้องกินยาประจำ บางคนอาจต้องกายภาพบำบัด หรือบางคนอาจถึงขั้นต้องผ่าตัด แต่เพื่อไม่ให้ไปถึงขั้นนั้นควรรีบปรับตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีในวันข้างหน้า 4 ท่านั่งทำงาน ที่เสี่ยงทำลายสุขภาพระยะยาว 1.นั่งไขว่ห้าง 2.นั่งขัดสมาธิ 3.นั่งหลังงอ หลังค่อม 4.นั่งไม่เต็มก้น ทั้งนี้ควรปรับท่าทางการนั่งให้ถูกต้อง - ปรับเก้าอี้ให้ได้ระดับเดียวกับโต๊ะ - นั่งทำงานได้โดยที่ฝ่าเท้าแตะพื้นพอดี - ข้อศอกตั้งฉาก 90 องศา ขนานไปกับโต๊ะ - หลังต้องชิดติดกับพนักพิง - บริเวณก้นกบไม่ควรเหลือช่องว่าง - อาจหาหมอนเล็ก ๆ ม้วนผ้าขนหนู หรือใช้หมอนรองหลัง จะช่วยให้เรานั่งหลังตรงได้อัตโนมัติ ช่วยรับน้ำหนัก ทำให้แผ่นหลังไม่เกร็งตึง และนั่งทำงานนาน ๆ ได้สบายขึ้น นอกจากปรับท่านั่งแล้ว พื้นที่ทำงานควรมีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อลดความเสี่ยงของจอประสาทตาเสื่อมจากการจ้องจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ควรอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก และอย่าลืมขยับท่าทางเปลี่ยนอิริยาบถ ลุกขึ้นเดินยืดเส้นยืดสายอย่างน้อยทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง ให้เลือดได้ไหลเวียน และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ฝึกทำให้ชินจนเป็นนิสัย จะได้ไม่ปวดหลัง ปวดไหล่ ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS Wellness Clinic และ BDMS สถานีสุขภาพ

ท่านอนลดอาการปวดหลัง เสริมสร้างคุณภาพการนอนดีขึ้น

ท่านอนลดอาการปวดหลัง เสริมสร้างคุณภาพการนอนดีขึ้น

ท่านอนลดอาการปวดหลัง เสริมสร้างคุณภาพการนอนดีขึ้น เชื่อว่าหลายคนคงมีประสบการณ์ตื่นขึ้นมาแล้วปวดหลัง พาลทำให้คุณภาพการนอนของเราแย่ลงใช้ชีวิตลำบากขึ้น แก้ ด้วย 3 ท่านอนนี้! จะช่วยถนอมหลังของคุณได้! อาการปวดหลัง ส่วนใหญ่เกิดจาก ความเครียด น้ำหนักส่วนเกิน การยกของผิดวิธี การนั่งในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ หรือท่านอนที่ไม่เหมาะสม ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการปวดหลังได้นะคะ ซึ่งการทำกายภาพบำบัดเป็นอีกหนึ่งวิธีในการรักษา เช่นเดียวกับการปรับเปลี่ยนท่านอนที่เหมาะสม จะช่วยให้สามารถช่วยป้องกันและบรรเทาอาการปวดหลังได้ 3 ท่านอนลดอาการปวดหลัง นอนตะแคงข้างก่ายหมอน นอนตะแคงข้างที่ถนัด หนุนหมอนที่ศีรษะตามปกติ งอเข่าทั้งสองข้างและวางหมอนหนุนไว้ระหว่างขาทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เข่าแตะที่นอน เพราะกระดูกสันหลังส่วนล่างจะพลิก ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวดหลังและสะโพกได้ นอนหงายหนุนเข่า นอนหงายหนุนหมอนที่ศีรษะ ปล่อยตัวตามสบายโดยวางหมอนหนุนอีกใบไว้ใต้หัวเข่าทั้งสองข้าง เพื่อช่วยรักษาความโค้งของกระดูกสันหลังส่วนล่าง ท่านี้เหมาะสำหรับผู้มีอาการปวดหลังที่ไม่รุนแรงมากนัก นอนคว่ำหนุนหน้าท้อง หากคุณไม่สามารถนอนท่าอื่นๆ ได้ และจำเป็นต้องนอนคว่ำ ให้นอนหนุนหมอนบริเวณช่วงคอและหน้าอกส่วนบน โดยหันใบหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง และนำหมอนหนุนอีกใบวางไว้ใต้บริเวณสะโพก เพื่อผ่อนคลายความตึงของแผ่นหลัง และหากยังรู้สึกตึงหรือเจ็บปวดอยู่ให้นำหมอนหนุนที่ศีรษะออก ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

ท่านอนผิด...ทำลายสุขภาพ

ท่านอนผิด...ทำลายสุขภาพ

ท่านอนผิด...ทำลายสุขภาพ เคยสงสัยไหม ? ทำไมตื่นมาแล้วปวดหลัง ยิ่งนอนยิ่งเมื่อย อาจเป็นเพราะเราเรามีพฤติกรรมนอนผิดท่า หรือนอนในท่าที่ไม่ถูกต้อง เช็ก 4 ท่านอนแบบผิดๆที่ควรเลี่ยง เสี่ยงกล้ามเนื้ออักเสบกระดูกสันหลังมีการบิดโก่งงอ “การนอน” ถือเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุดและง่ายที่สุด เป็นเวลาทองให้ร่างกายได้ซ่อมแซมตัวเอง ซึ่งเราทุกคนล้วนใช้เวลาการนอนไปถึง 1 ใน 4 ส่วนของวันเลยทีเดียวการนอนในท่าทางที่ถูกต้องและเหมาะสมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้สุขภาพโดยรวมดี ไม่มีการบาดเจ็บของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อหรือระบบประสาทในส่วนต่างๆ ของร่างกายก่อนวัยอันควร 4 ท่านอนผิดๆ ที่ไม่ควรนอนเสี่ยงเสียสุขภาพ การนอนขดตัวคุดคู้ การนอนขดตัวคุดคู้ คือ เป็นท่านอนที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เนื่องจากมีลักษณะการก้มศีรษะ โก่งหลัง พับสะโพก งอเข่าก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายในหลากหลายแง่มุมการนอนท่านี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง ดังนี้ ปวดเข่า,กล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง,กระดูกสันหลังมีการบิดโก่งงอผิดรูปปวดคอจากกล้ามเนื้ออักเสบ การนอนคว่ำ การนอนคว่ำ ถือว่าเป็นท่านอนที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากการนอนคว่ำจะทำให้ผู้นอนหายใจไม่สะดวก กระดูกสันหลังแอ่นมากกว่าปกติ และขณะที่นอนก็ต้องมีการบิดคอไปทางซ้ายหรือทางขวารวมถึงมีการแอ่นไปข้างหลังอีกด้วย จึงอาจก่อให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อคอ เกิดอาการปวดคอ ปวดหลังได้ โดยแนะนำให้หาหมอนมารองช่วงหน้าอกหรือช่วงท้องก็จะทำให้นอนได้สบายยิ่งขึ้น การนอนแบบกึ่งนั่งกึ่งนอน ท่านอนแบบกึ่งนั่งกึ่งนอนโดยที่มีหมอนรองที่หลังเอาไว้ แล้วนอนเอนหลังและไถลตัวไปบนเตียงนอนหรือโซฟา พร้อมกับเล่นโทรศัพท์มือถือ อ่านหนังสือ หรือดูโทรทัศน์ไปเรื่อยๆ นั้น ทำให้ผู้ที่นอนท่านี้ต้องงอหรือก้มคอเป็นระยะเวลานาน อาจจะทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอและหลังทำงานมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบและปวดกล้ามเนื้อคอบ่าไหล่ขึ้นมาได้ รวมถึงสามารถทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างจากการที่มีการแอ่นของหลังขณะนั่งได้อีกด้วย การนอนทับต้นแขนตัวเอง การกดทับต้นแขนของตัวเองซึ่งเป็นบริเวณที่มีเส้นประสาท (Radial Nerve) อยู่ เป็นเวลานาน โดยอาจเกิดจากการทับของศีรษะหรือการพาดแขนบนพื้นผิวต่างๆ เช่น พนักเก้าอี้ พอเส้นประสาทถูกกดทับนานๆ แล้ว จึงก่อให้เกิดอาการทางระบบประสาทตามมาที่พบบ่อยที่สุด คือ อาการข้อมือตก ทำให้กระดกข้อมือไม่ขึ้น อาการข้อมือตกจากการถูกกดทับของเส้นประสาทเรเดียน (Radial Nerve) นี้ เรียกว่า Saturday night palsy หรือ Honeymoon palsy โดยส่วนใหญ่แล้วอาการมักไม่ร้ายแรงและสามารถหายเองได้ ซึ่งระยะเวลาจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ส่วนมากแล้วจะใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ นอนแบบไหนคุณภาพการนอนดีเยี่ยม ! ท่านอนหงาย เป็นท่านอนปกติที่คนส่วนใหญ่นิยมนอนกัน เนื่องจากการนอนหงายทำให้น้ำหนักตัวกระจายลงไปตามส่วนต่างๆ ของแผ่นหลัง จึงไม่มีน้ำหนักลงจุดใดจุดหนึ่งมากกว่าปกติ อีกทั้งกระดูกสันหลังก็อยู่ในแนวตรง ไม่มีการโค้งผิดรูป และหากมีหมอนรองใต้เข่าขณะนอนหงายก็จะทำให้นอนได้สบายยิ่งขึ้น เนื่องจากการรองหมอนไว้ใต้เข่าทำให้ข้อสะโพกมีการงอเล็กน้อย จึงช่วยลดการแอ่นของหลังส่วนล่างและป้องกันการปวดหลังได้ด้วย อย่างไรก็ตาม การนอนหงายอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคปวดหลัง มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับหรือนอนกรนเป็นประจำ เป็นต้น ท่านอนตะแคง เป็นท่านอนที่ดีอีกท่าหนึ่งที่คนนิยมกัน เป็นท่าที่นอนสบายและสามารถช่วยลดอาการปวดหลังได้ ควรนอนตะแคงโดยมีหมอนข้างไว้ให้กอดและพาดขา ส่วนหมอนหนุนที่ใช้ก็ไม่ควรเตี้ยจนเกินไปเพราะจะทำให้ปวดต้นคอได้ ควรใช้หมอนหนุนที่เมื่อนอนตะแคงแล้วศีรษะอยู่ระดับเดียวกับลำตัว หรือกระดูกสันหลังส่วนคออยู่ระดับเดียวกับกระดูกสันหลังส่วนอกและส่วนเอว เครื่องนอน เนื่องจากเครื่องนอนที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับสรีระของแต่ละบุคคล จึงแนะนำให้จัดเตรียมเครื่องนอนที่นอนแล้วสบายที่สุด หมอนสูงกำลังดี ฟูกที่นิ่มพอดีจะช่วยพยุงหลังของเรา มีหมอนข้างไว้กอดเมื่อต้องการนอนตะแคง นอนตื่นขึ้นมาแล้วไม่ปวดคอหรือปวดหลังก็ถือว่าเหมาะสมแล้ว อย่างไรก็ตาม ห้องนอนควรเป็นห้องที่มืดสนิท ไม่มีแสงและเสียงรบกวนขณะนอนหลับ หรืออาจหาอุปกรณ์ตัวช่วย เช่น ที่ปิดตา หรือที่อุดหู เพื่อให้เรานอนหลับได้สนิท ให้การนอนหลับเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนจริงๆ ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ