แพ็กเกจเปลี่ยนข้อเข่า

“การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า เปลี่ยนความทุกข์..ให้เป็นความสุข ไม่ใช่เฉพาะตัวเรา
#ลูกหลานก็มีความสุขด้วย

👨‍👩‍👧หากคุณมีอาการ‼
✅ปวด เมื่อเคลื่อนไหว
✅เหยียด-งอเข่าได้ยาก
✅มีเสียงดังในข้อเมื่อขยับ
✅ข้อเข่าผิดรูป


🔄เปลี่ยนข้อเสีย เป็นข้อดี ยืดอายุการใช้งานของข้อเข่า ให้ทุกย่างก้าวมีแต่ความสุข🚶
📌แพ็กเกจผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า Total Knee Replacement🦿
ราคา 250,000 บาท/ข้าง

#ใส่ใจข้อเข่าเพื่อทุกย่างก้าวที่แข็งแรง
✅#แพคเกจผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม (ข้อเข่า 1 ข้าง ) ราคา 250,000.-
✅ (ราคาเหมาจ่าย 5 วัน 4 คืน)
✅ รวมค่ากายภาพบำบัด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ 039-319888
#ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
#โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำไมแก่แล้วลุกจากเก้าอี้ยากขึ้น

ทำไมแก่แล้วลุกจากเก้าอี้ยากขึ้น

ทำไมแก่แล้วลุกจากเก้าอี้ยากขึ้น ไขข้อสงสัย “การยืนขึ้นจากเก้าอี้” ทำไมถึงยาก เมื่ออายุมากขึ้น แล้วปัญหานี้จะหลีกเลี่ยงได้หรือไม่ หรือมีวิธีการชะลอการเสื่อมสภาพอย่างไร เช็กที่นี่! น่าเสียดายที่ความยืดหยุ่นของเราจะน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น โดยแพทย์ได้วัดความสามารถในการลุกขึ้นยืนจากเก้าอี้ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการตรวจร่างกายและคัดกรองผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการหกล้ม ผลปรากฏว่า มีเหตุผลมากมายที่ทำให้การลุกขึ้นยืนจากเก้าอี้ยากขึ้นเมื่อเราอายุมากขึ้น อาจเป็นเพราะเส้นเอ็นของเราจะตึงขึ้นรอบๆ ข้อต่อ และกระดูกอ่อนระหว่างข้อต่อของเราเสื่อมลง หรือการเสื่อมสภาพโดยทั่วไปของเอ็นและการลดลงของของเหลวภายในข้อต่อ (น้ำไขข้อ) พร้อมกับการตึงตัวของกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อ รวมถึงมวลกล้ามเนื้อของเราลดลง เมื่อเราอายุมากขึ้น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณด้านหน้าของต้นขาที่เรียกว่า “quadriceps” ซึ่งจำเป็นต่อการยืนขึ้นจากเก้าอี้ “ออกกำลังกาย” ชะลอปัญหาลุกนั่งยาก ใช่! ปัญหานี้เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้เกิดขึ้นได้ แต่สามารถชะลอให้เกิดช้าลงได้ ด้วย “การออกกำลังกาย” เป็นประจำ เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสื่อมสภาพของความยืดหยุ่นของเรา พร้อมกับให้ประโยชน์อื่นๆ ที่มีต่อความหนาแน่นของกระดูก สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงสุขภาพจิตของเรา โดยบริการสุขภาพแห่งชาติของสหราชอาณาจักร (NHS) ได้แนะนำหลักเกณฑ์ในการออกกำลังกายเอาไว้ว่า ผู้สูงอายุควรทำกิจกรรมที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรง ความสมดุล และความยืดหยุ่น อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวมทั้งทำกิจกรรมที่มีความหนักปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือออกกำลังกายอย่างหนัก 75 นาที อย่างไรก็ตามแม้ว่าคุณจะออกกำลังกายเป็นประจำ สิ่งสำคัญคือต้องยืดกล้ามเนื้ออย่างเหมาะสมด้วย โดยโยคะถือเป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมมากหากคุณทำได้ แต่การยืดกล้ามเนื้อง่ายๆ ก็ช่วยให้มีความยืดหยุ่นได้เช่นกัน และสามารถทำได้ที่หน้าทีวีหรือขณะที่คุณเล่นโทรศัพท์! นอกจากนี้ถ้าคุณกำลังคิดจะปรึกษาเทรนเนอร์ให้ช่วยเรื่องนี้แล้วล่ะก็ บอกเลยว่ามันคุ้มค่าที่จะให้ใครซักคนมาฝึกให้คุณ สามารถยืดกล้ามเนื้ออย่างถูกต้องได้ อาหารชิ้นส่วนสำคัญกล้ามเนื้อ-กระดูกให้แข็งแรง อาหารของเรา ก็มีความสำคัญ เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นเรื่องของสารอาหาร เช่น โปรตีน ซึ่งมีส่วนช่วยสร้างกล้ามเนื้อ และแคลเซียม-วิตามินดี ซึ่งช่วยเรื่องความหนาแน่นของกระดูก อาหารที่อุดมด้วยโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อไก่ และเนื้อปลา ไข่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วเหลือง อาหารที่มีแคลเซียม-วิตามินดีสูง ได้แก่ ปลาทะเล ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง กลุ่มนม และโยเกิร์ต กลุ่มผลไม้ กีวี กล้วย และมะละกอ กลุ่มถั่วเมล็ดแข็ง พืชตระกูลถั่ว งาดำ และเต้าหู้อ่อน กลุ่มผักตระกูลกะหล่ำ แม้เราจะต้องเผชิญกับความยืดหยุ่นที่น้อยลงตามอายุและพบว่าลุกขึ้นยืนขึ้นได้ยากขึ้น แต่การออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน แคลเซียม และวิตามินดี เหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกายได้ ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเริ่มดูแลตัวเองกัน! ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

7 อาหารบำรุงข้อเข่า อร่อยและหาง่าย

7 อาหารบำรุงข้อเข่า อร่อยและหาง่าย

ข้อเข่าเสื่อมไม่ใช่แค่โรคของผู้สูงอายุ แต่ขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัยและสามารถเกิดได้กับคนที่อายุน้อยหรือที่เรียกว่าข้อเสื่อมก่อนวัย บางรายอาจจะมีอาหารกระดูกเปราะบางด้วย ฉะนั้นการเสริมวิตามิน แคลเซียม นับเป็นทางป้องกันที่ไม่ควรมองข้าม โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) คือโรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อเข่า ทั้งทางด้านรูปร่าง โครงสร้าง การทำงานของกระดูกข้อต่อ และกระดูกบริเวณใกล้ข้อมีการสึกหรอและเสื่อมลงตามอายุ เมื่อไม่มีผิวกระดูกอ่อนมาห่อหุ้ม เนื้อกระดูกจึงมีการชนกันขณะรับน้ำหนัก จึงทำให้เกิดอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อยึดติด โดยจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ หัวเข่าก็จะผิดรูป และไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ถึงแม้ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงที่สูงกว่าแต่ผู้มีอายุน้อยก็มีสิทธิและโอกาสเป็นข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยได้ ทางที่ดีคือการป้องกัน และเลือกทานอาหารที่มีส่วนช่วยทำให้กระดูกและข้อแข็งแรงเพื่อป้องกันและชะลอการเสื่อมจะดีกว่า อย่างแน่นอน อาหารป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม กุ้งแห้ง โดย 1 ขีด มีแคลเซียมสูงถึง 2,300 มิลลิกรัม จะเสริมกระดูกให้แข็งแรง ก็แน่นอนว่าเราต้องกินแคลเซียมนี่ล่ะ แล้วแทนที่จะต้องกินแคลเซียมเสริมแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทำไมถึงไม่เลือกกินแคลเซียมจากธรรมชาติอย่างกุ้งแห้งแทน ฝรั่ง วิตามินคือสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยบำรุงข้อต่อต่างๆ ได้โดยตรง และยังมีฤทธิ์แก้อักเสบได้ด้วย ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ แพทย์แนะนำให้บริโภควิตามินซีอย่างน้อยวันละ 90 มิลลิกรัม ปลาทะเล อาทิปลาแซลมอน หรือปลาทูธรรมดานี่ล่ะ จะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่นอกจากเป็นกรดไขมันจำเป็นต่อร่างกาย ยังเป็นแหล่งสร้างคอลลาเจน ที่จะช่วยเสริมสร้างข้อต่อกระดูกอ่อนต่างๆ ในร่างกายที่ถูกทำลายลง งาดำ มีทั้งแคลเซียมช่วยเสริมกระดูกแข็งแรง และยังมีแร่ธาตุทองแดงที่ช่วยส่งเสริมให้ร่างกายสร้างคอลลาเจนเพิ่มมากขึ้น มีแร่สังกะสีที่ช่วยเพิ่มมวลกระดูกได้อีกด้วย ขิง ถูกยกให้เป็นสมุนไพรที่ช่วยลดอาการปวดเข่าได้ เพราะนอกจากจะมีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบตามข้อแล้ว ความร้อนจากขิงยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด แถมในขิงมีสารแอนติออกซิแดนท์ มะเขือเทศ แหล่งของคอลลาเจน นอกจากช่วยบำรุงผิวแล้ว คอลลาเจนยังช่วยซ่อมแซมข้อต่อกระดูกอ่อนต่างๆ ได้ ไม่มากก็น้อย น้ำเต้าหู้ ในถั่วเหลืองก็เป็นอีกแหล่งคอลลาเจนเช่นกัน วิธีง่ายๆ ที่จะได้สารอาหารก็แค่ ลองดื่มน้ำเต้าหู้เป็นประจำ แล้วลองสังเกตสิว่า ถ้าวางทิ้งไว้นานๆ ผิวหน้าจะเกาะตัวกันเป็นแผ่นเจล ดื่มประจำในปริมาณที่พอเหมาะ ก็ช่วยเพิ่มคอลลาเจนให้ร่างกายได้ ที่สำคัญไม่ควรเติมน้ำตาลลงไปในน้ำเต้าหู้เยอะจนบดบังประโยชน์ทั้งหมดนะคะ อย่างไรก็ตามควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อย่างหลากหลายและดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย หากมีอาการป่วยหรือร่างกายผิดปกติ ควรพบแพทย์ในทันที ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

ข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อม

สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม พันธุกรรมและความผิดปกติแต่กำเนิดบางชนิด เช่น ขาหรือเข่าผิดรูป อายุและเพศ โดยเมื่ออายุมากขึ้น ความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองของกระดูกอ่อนก็ลดลง นอกจากนี้ ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปจะมีแนวโน้มของการเกิดข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าผู้ชายที่อายุเท่ากัน น้ำหนักตัวมาก (BMI มากกว่า 23 กก./ม.2) ประวัติการบาดเจ็บที่ข้อเข่า ซึ่งส่งผลให้มีโอกาสเกิดข้อเข่าเสื่อมได้สูง โดยอาจเป็นผลจาก - การบาดเจ็บ โดยถึงแม้ร่างกายจะมีการซ่อมแซมตัวเองหลังการบาดเจ็บ โครงสร้างข้อเข่าก็อาจไม่แข็งแรงเหมือนเดิม - ได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง การใช้ข้อเข่าหักโหมซ้ำๆ หรือท่าทางบางอย่างที่ต้องงอเข่ามากเกินไป เช่น การคุกเข่า หรือนั่งยองๆ ซึ่งทำให้เข่าต้องรับแรงกดสูงกว่าปกติเป็นเวลานานหรือบ่อยครั้ง โรคไขข้ออักเสบ เช่น รูมาตอยด์ เกาท์ ส่งผลให้กระดูกอ่อนถูกทำลายจนกระทั่งหมดไป ทำให้เกิดอาการปวดและข้อติดแข็งตามมา #ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี บริการให้คำปรึกษา และดูแลทุกปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและข้อ รวมทั้งกล้ามเนื้อ อันเนื่องจากความเสื่อมตามวัย อุบัติเหตุ หรือจากการทำงาน โดยทีมแพทย์ชำนาญการ พร้อมด้วยทางเลือกการรักษาทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยมาตรฐานสากล เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 08.00 - 20.00 น.

ถนอม "เข่า" ด้วยท่านั่งทำงานอย่างถูกวิธี

ถนอม "เข่า" ด้วยท่านั่งทำงานอย่างถูกวิธี

ถนอม "เข่า" ด้วยท่านั่งทำงานอย่างถูกวิธี อาการปวดเข่าเป็นอาการไม่พึงประสงค์ของทุกวัย เพื่อหลีกเลี่ยงอาการนี้การปรับเปลี่ยนอิริยาบถให้เหมาะสมจะช่วยลดเสี่ยงได้ การปรับเปลี่ยนอิริยาบถ และสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมในชีวิตประจำวัน สามารถป้องกันการเกิดข้อเสื่อมได้ และยังช่วยยืดอายุการใช้งานของข้อให้ยาวนานที่สุด นั่งทำงานอย่างไรช่วยถนอมเข่า สำหรับหนุ่มสาวออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานเกือบวันละ 8 ชั่วโมง ควรนั่งบนเก้าอี้ ควรมีที่รองแขนเพื่อช่วยในการพยุงตัวลุกขึ้นได้สะดวก ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง หรือยกขาขึ้นมานั่งสมาธิบนเก้าอี้ เนื่องจากท่าเหล่านี้ก็ไม่ต่างกับการนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยองๆ หรือนั่งราบบนพื้น ทำให้ผิวข้อเข่าเสียดสีกันมากขึ้น รับน้ำหนักมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความเสื่อมเร็วขึ้น นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนนิ่งๆ นานๆ เพราะการที่ข้อเข่าอยู่ท่าเดียวนานๆ จะทำให้กระดูกอ่อนซึ่งปกติจะมีเลือดไปเลี้ยงน้อยมากอยู่แล้ว จะยิ่งขาดสารอาหารและออกซิเจนมากขึ้นควรเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ลุกขึ้นเดินไปมาอย่างน้อยทุกๆ 1-2 ชั่วโมง หรือนั่งเหยีบดขา เตะขาเบาๆ บริหารกล้ามเนื้อต้นขาร่วมด้วยเป็นพักๆ เป็นต้น สำหรับพ่อบ้านแม่บ้านที่ต้องทำงานบ้านต่างๆ ทำงานฝีมือ เลี้ยงเด็ก หรือเตรียมอาหาร นั่งซักผ้า ก้มถูพื้น ควรหลีกเลี่ยงการนั่งยองๆ เช่น การนั่งซักผ้าซัก ควรซักทีละไม่กี่ชิ้น นั่งซักบนม้าเตี้ยๆ และเหยียดเข่าทั้ง 2 ข้าง นั่งเก้าอี้ ยืน หรือใช้เครื่องซักผ้า นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการนั่งรีดผ้ากับพื้น เปลี่ยนมานั่งเก้าอี้ หรือยืนรีดแทน หากเริ่มมีอาการปวดบริเวณข้อเข่าเวลามีการเคลื่อนไหว เช่น เดิน ขึ้นลงบันได หรือมีอาการข้อฝืดขัด ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการบำบัดรักษาก่อนอาการรุนแรง ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

การรักษาข้อเข่าเสื่อม

การรักษาข้อเข่าเสื่อม

กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ

กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ

ล้ม 1 ครั้ง ลามเกิน 1 เจ็บ “การล้มของคนสูงวัยอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย เคสล่าสุดของผู้สูงอายุ อายุกว่า 90 ปี ที่ได้รับการผ่าตัดรักษาข้อสะโพกหัก สาเหตุจากอุบัติเหตุลื่นล้ม” ไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ปัญหากระดูกพรุนจึงเป็นอีก 1 ปัญหาสำคัญและเป็นสาเหตุของกระดูกหัก สสส. เผยสูงวัยป่วยกระดูกสะโพกหักเพิ่มขึ้น 2.02% ต่อปี เหตุ “พลัด ตก หกล้ม” คาดตัวเลขผู้สูงอายุกระดูกหักเพิ่มเป็น 34,246 ราย ในปี 68 ซึ่งนอกจากนี้ยังมีข้อมูลอีกว่าผู้สูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก หากไม่ได้ผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมง 1 ใน 5 ของผู้สูงอายุที่ข้อสะโพกหักมีโอกาสเสียชีวิต การผ่าตัดรักษาข้อสะโพกหักไม่เพียงแต่ช่วยลดความเจ็บปวด แต่ยังช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงเดิม ในทางกลับกัน หากไม่ทำการรักษา ผู้สูงอายุอาจเผชิญกับภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อย่างทุกข์ทรมาน และอันตรายถึงชีวิตได้ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี ขอแชร์เคสล่าสุดของผู้สูงอายุ อายุกว่า 90 ปี ที่ได้รับการผ่าตัดรักษาข้อสะโพกหัก สาเหตุจากอุบัติเหตุลื่นล้ม โดยการผ่าตัดข้อสะโพกในผู้สูงอายุนับเป็นเคสที่ต้องให้การดูแลเป็นพิเศษ จากความซับซ้อนของการผ่าตัดและความซับซ้อนในส่วนของภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุเองที่มักมาพร้อมกับโรคประจำตัว ซึ่งโรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรีมีทีมแพทย์ทั้งทางด้านศัลยกรรมและอายุรกรรมรวมถึงสหวิชาชีพที่พร้อมให้การดูแลอย่างครอบคลุมจนเคสนี้สามารถผ่าตัดได้ผลเป็นที่น่าพอใจ นำทีมผ่าตัดโดย นพ.คงชัย หล่อรุ่งโรจน์ แพทย์ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ อนุสาขาศัลยศาสตร์อุบัติเหตุด้านออโธปิดิกส์ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี นัดหมายปรึกษาแพทย์ได้ที่ https://doctor.bangkokhospitalchanthaburi.com/alldoctor.php ทำแบบทดสอบประเมินความเสี่ยงพลัดตกหกล้ม แบะรับคำปรึกษาฟรี คลิก> https://www.bangkokhospitalchanthaburi.com/Includes...

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง