เนื้องอกในรูจมูก/ริดสีดวงจมูก (Nasal polyps)

เนื้องอกในรูจมูก/ริดสีดวงจมูก (Nasal polyps)

เนื้องอกในรูจมูก มักมีสาเหตุมาจากการเป็นไข้หวัดเรื้อรัง เช่น ภูมิแพ้อากาศ หรือการติดเชื้อของรูจมูก มักไม่มีอันตรายร้ายแรง เว้นแต่ก้อนไม่โตมากจนมีผลต่อการหายใจ และไม่เสียการรับกลิ่น

อาการ

  • คัดจมูก แน่นจมูก หายใจไม่สะดวก

  • พูดเสียงขึ้นจมูก

  • หากเป็นเรื้อรังอาจสูญเสียการรับกลิ่น

  • ปวดหัวคิ้วหรือโหนกแก้ม กรณีก้อนอุดตันรูไซนัส

การรักษา

การผ่าตัดเป็นการรักษาหลักที่ทำให้หายขาด แต่ก็มีบางรายที่เกิดเนื้องอกซ้ำ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก
โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

บทความที่เกี่ยวข้อง

หูชั้นกลางอักเสบ/หูน้ำหนวก (Otitis media)

หูชั้นกลางอักเสบ/หูน้ำหนวก (Otitis media)

หูชั้นกลางอักเสบ/หูน้ำหนวก (Otitis media) หูชั้นกลางอักเสบ พบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยพบบ่อยในทารกและเด็ก แบ่งเป็นชนิดเฉียบพลัน และเรื้อรัง สาเหตุ หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน มักเกิดร่วมกับการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น ไข้หวัด ต่อมทอนซิลอักเสบ ไอกรน เป็นต้น หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง อาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บจนแก้วหูทะลุ อีกทั้งยังพบบ่อยในเด็กที่ขาดสารอาหารสุขภาพๆไม่แข็งแรง เป็นโรคนี้มากกว่าเด็กที่แข็งแรง บางครั้งพบร่วมกับผู้ที่เป็นทอนซิลอักเสบเรื้อรัง ไซนัสอักเสบเรื้อรัง ผนังกั้นจมูกคด เนื้องอกในจมูก อาการ หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน โดยมักจะมีอาการหลังเป็นหวัด เจ็บคอ หรือเป็นโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ ซึ่งอาการ ได้แก่ ปวดในรูหู หูอื้อ มีไข้สูง หนาวสั่น บางคนอาจมีวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเดิน ในเด็กมักร้องกวนกลางดึก บางรายเอามือดึงใบหู มักมีไข้สูงอาจถึงขั้นชักได้ มักมีอาการหวัดและไอร่วมด้วย หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง มีอาการหูน้ำหนวกไหลเป็น ๆ หาย ๆ โดยมักเป็นขณะเป็นหวัด หรือหลังเล่นน้ำ ร่วมกับมีอาการหูอื้อ หูตึง บางรายอาจมีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย ส่วนมากจะไม่มีไข้หรือเจ็บปวดในรูหู โรคแทรกซ้อนที่พบได้ หูชั้นในอักเสบ โพรงกระดูกมาสตอยด์อักเสบ อัมพาตปากเบี้ยว หูหนวก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในสมอง ฝีรอบ ๆ หู หูหนวกสนิท การรักษา หากมีอาการของหูชั้นกลางอักเสบ ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ซึ่งผู้ป่วยจะต้องรับประทานจนครบตามแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด ผู้ป่วยต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าหู สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

ผนังกั้นจมูกคด (Deviated nasal septum)

ผนังกั้นจมูกคด (Deviated nasal septum)

ผนังกั้นจมูกคด (Deviated nasal septum) สาเหตุของผนังกั้นจมูกคด ได้แก่ การบาดเจ็บ มีความผิดปกติแต่กำเนิด ทำให้รูจมูกข้างหนึ่งตีบแคบกว่าปกติ ทำให้หายใจไม่สะดวก เป็นหวัดคัดจมูกเรื้อรัง อาจมีการอักเสบของจมูกแทรกซ้อนได้บ่อย ๆ ซึ่งทำเป็นไซนัสอักเสบหรือมีเลือดกำเดาออกง่าย การรักษา กรณีที่ผนังกั้นจมูกคดเล็กน้อย ไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตอาจไม่ต้องทำการรักษา แต่หากมีผลต่อการหายใจ แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

หูชั้นในอักเสบ (Labyrinthitis)

หูชั้นในอักเสบ (Labyrinthitis)

หูชั้นในอักเสบ (Labyrinthitis) หูชั้นใน เป็นส่วนที่ควบคุมเกี่ยวกับการทรงตัว โดยหูชั้นในอักเสบส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งแพร่กระจายจากบริเวณจมูกและลำคอไปสู่หูชั้นใน มักเกิดหลังติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ คางทูม เป็นต้น บางรายเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียลุกลามจากหูชั้นกลางอักเสบ อาการ วิงเวียนศีรษะ เห็นพื้นบ้านหรือเพดานหมุน เป็นมากเวลามีการเคลื่อนไหวศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน บางรายมีอาการตากระตุก เดินเซ การรักษา หากวิงเวียนมาก ควรให้นอนพักนิ่ง ๆ และหลับตา พบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม และรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ หรือมีหูอื้อ เดินเซ ตากระตุก แขนขาอ่อนแรง ความดันโลหิตสูง คลื่นไส้ อาเจียน ควรกลับไปพบแพทย์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

เลือดกำเดา เลือดออกจมูก (Epistaxis Nose bleed)

เลือดกำเดา เลือดออกจมูก (Epistaxis Nose bleed)

เลือดกำเดา เลือดออกจมูก (Epistaxis Nose bleed) เลือดกำเดา เกิดจากเส้นเลือดฝอยบริเวณเยื่อบุจมูกแตก มักเกิดขึ้นเฉียบพลัน บางรายเป็น ๆ หาย ๆ บ่อยครั้ง สาเหตุ สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ ไข้หวัด ภูมิแพ้อากาศ ไซนัสอักเสบ เยื่อจมูกอักเสบ เส้นเลือดฝอยเปราะเนื่องจากอากาศแห้ง การแคะจมูกแรง ๆ ได้รับบาดเจ็บ ความดันโลหิตสูง บางครั้งก็ทำให้เลือดกำเดาไหลได้ เกิดร่วมกับโรคติดเชื้อ เช่น ไข้หวัดใหญ่ มาลาเรีย ไทฟอยด์ ไข้เลือดออก คอตีบ เป็นต้น มีโรคเลือด ได้แก่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว โลหิตจางอะพลาสติก ไอทีพี เป็นต้น ซึ่งมักมีเลือดออกตามไรฟัน มีจ้ำเขียวขึ้นตามตัว และตับม้ามโตร่วมด้วย มะเร็งหรือเนื้องอกในจมูกหรือในลำคอ ซึ่งได้น้อยมาก การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ปฐมพยาบาลด้วยการให้ผู้ป่วยนั่งนิ่ง ๆ ตัวตรง ก้มหน้าลงเล็กน้อย บีบจมูกหายใจทางปากประมาณ 5-10 นาที จนเลือดหยุดไหล หากมีน้ำแข็งอาจใช้ผ้าห่อไว้แล้วประคงบริเวณจมูกไว้ได้ หากเลือดไม่หยุด หรือเป็นซ้ำบ่อย ๆ จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาต่อไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

โรคเชื้อราในช่องหู

โรคเชื้อราในช่องหู

โรคเชื้อราในช่องหู โรคเชื้อราในช่องหู ถือเป็นโรคหูชั้นนอกอักเสบจากเชื้อรา มักพบหลังเล่นน้ำ หรือใช้ไม้แคะหูร่วมกับผู้ที่เป็นเชื้อราในช่องหู อาการ คันหูมาก อาจมีอาการปวดหู หรือหูอื้อ เมื่อใช้ไฟส่องในรูหู อาจพบขุยขาวๆ ที่ผิวหนังรอบ ๆ รูหู การรักษา ทุกครั้งที่มีอาการ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินว่าการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม หากเป็นซ้ำบ่อย ๆ แพทย์จะประเมินว่ายังคงเป็นเรื่องเชื้อราในหูอยู่เหมือนเดิมหรือไม่ และควรสอบถามแพทย์ที่รักษาโดยตรงอีกครั้งว่าเหตุใดจึงเป็นบ่อยๆ อาจจะต้องซักประวัติเพิ่มเติม หรือตรวจหาโรคร่วมอื่นๆด้วยต่อไปฃ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

ขี้หูอุดตันรูหู (Wax blockage)

ขี้หูอุดตันรูหู (Wax blockage)

ขี้หูอุดตันรูหู (Wax blockage) ขี้หู คือ ส่วนที่สร้างขึ้นจากต่อมที่รูหู เพื่อรักษาความสะอาดและความชุ่มชื้น แต่บางคนอาจสร้างมากเกินไปจนทำให้เกิดการอุดตันรูหู อาการ หูอื้อ หูตึง อาจมีอาการปวดหู หรือวิงเวียน ใช้ไฟหรือเครื่องส่องหูจะพบมีขี้หูอุดเต็มรูหู การรักษา แพทย์จะแนะนำให้หยอดสารที่ทำให้ขี้หูนิ่มลงก่อนแล้วจึงใช้เครื่องมือนำขี้หูออกมา โดยผู้ป่วยไม่ควรทำเองเพราะอาจมีอันตรายต่ออวัยวะในช่องหูและส่งผลต่อการได้ยินได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง