“ภาวะวูบหมดสติ”

“ภาวะวูบหมดสติ”

กรมการแพทย์ ระบุว่า ภาวะวูบหมดสติ (Syncope) เป็นอาการสูญเสีย ความรู้สึกตัว และการทรงตัวชั่วคราว โดยทั่วไปเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองลดลงชั่วขณะ ทำให้สมองขาดออกซิเจนชั่วคราวจะมีลักษณะอาการเฉพาะ คือ หมดสติเฉียบพลัน เกิดขึ้นชั่วขณะในระยะเวลาอันสั้น และสามารถฟื้นคืนสติ ได้เองจะแสดงออกทางอาการหลากหลาย เช่น

  • เรียกไม่รู้สึกตัว
  • ล้มลงกับพื้น ทรงตัวไม่อยู่
  • อาจมีอาการเกร็งที่มือ เท้า ตาค้างชั่วขณะ
  • เหงื่อออกที่ใบหน้า
  • ผู้ป่วยจะจำเหตุการณ์ตอน หมดสติไม่ได้ โดยจะมีระยะเวลาการหมดสติ ตั้งแต่ 30 วินาที ถึง 5 นาที ขึ้นกับสุขภาพพื้นฐานเดิมของผู้ป่วย

ขณะที่ผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการนำมาก่อนเกิดอาการวูบหมดสติ เช่น รู้สึกหวิว ๆ มึนศีรษะ โคลงเคลง ตาพร่า หรือเห็นแสงแวบวาบ ปลายมือ ปลายเท้าเย็น คลื่นไส้ เป็นต้น อาการวูบไม่รู้ตัวเป็นเรื่องที่ อันตรายมากโดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานบนที่สูง หรือผู้ที่ ต้องขับรถ หากมีอาการวูบบ่อย ๆ ควรพบแพทย์ประเมิน หาสาเหตุ

สาเหตุของภาวะวูบหมดสติ

  • เกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ เส้นเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ
  • เกิดจาก ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ ซึ่งมักพบตามหลังสถานการณ์เฉพาะบางอย่าง เช่น หลังไอ จาม เบ่ง ยืนนานๆ ในที่แออัด หรืออากาศร้อน กลัวการเจาะเลือด เป็นต้น
  • เกิดจากการเสียเลือด หรือขาดน้ำ เช่น ท้องเสียรุนแรง หรือมีเลือดออกในอวัยวะภายใน
  • เกิดจากยาบางชนิด โดยเฉพาะยาลดความดันโลหิตสูง ยารักษาต่อมลูกหมาก ยาต้านอาการซึมเศร้า หรือแม้แต่ยาเบาหวาน สิ่งที่เป็นอันตราย

เป็นอาการสูญเสียความรู้สึกตัว และการทรงตัวชั่วคราว โดยทั่วไปเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองลดลง จะส่งผลให้เกิดอันตราย เช่น อุบัติเหตุบนท้องถนนหรือขณะทำงานกับเครื่องจักร เป็นต้น โดยเฉพาะบางอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง เช่น พนักงานขับรถ นักบิน นักประดาน้ำ คนงานก่อสร้าง ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุซ้ำเติมจากการภาวะวูบได้

  • ในผู้สูงอายุพบมากถึง 23%
  • พบอุบัติการณ์ของภาวะนี้ในคนทั่วไป 3%
  • ผู้ที่เคยมีอาการวูบหมดสติมีโอกาสเกิดซ้ำได้อีกถึง 1 ใน 3 เท่า

อาการวูบที่ควรพบแพทย์

  • วูบแล้วหมดสติ-ชัก
  • มีอาการหน้าเบี้ยวร่วมด้วย
  • หัวใจเต้นผิดปกติ หรือในผู้สูงอายุรวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว

สำหรับสิ่งที่ควรต้องระวัง คือ หลังจากผู้ป่วยตื่นขึ้นมาอาจมีอาการ บาดเจ็บได้ การรักษาควรจะต้องรักษาที่สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ แต่ถ้าหากวูบหมดสติตื่นขึ้นมาแล้วมีอาการ เช่น ปากเบี้ยว ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด ชา หรืออ่อนแรงร่างกายครึ่งซีก อาจเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติภาวะทางสมองอาการของหลอดเลือดสมองตีบ หรือหลอดเลือดสมองแตกได้ ผู้ป่วยหรือผู้ใกล้ชิดควรต้องสังเกตอาการวูบที่เกิดขึ้น และควรรีบไปพบแพทย์ทันทีอย่าปล่อยทิ้งไว้

ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะหัวใจล้มเหลว

ภาวะหัวใจล้มเหลว

ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจผิดปกติที่โครงสร้างหรือการทำงานของหัวใจ ทำให้ไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้อย่างเพียงพอ และไม่สามารถรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ ภาวะหัวใจล้มเหลวจึงมีผลต่อเนื้อเยื่อทุกส่วนของร่างกาย อาจส่งผลต่อผู้ป่วยอย่างรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ อาการหลักๆของภาวะหัวใจล้มเหลว เหนื่อย อ่อนเพลีย บวม ภาวะหัวใจล้มเหลว แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการที่ไม่จำเพาะ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย จำเป็นต้องตรวจเลือด และตรวจการทำงานของหัวใจเพิ่มเติม เพื่อช่วยในการวินิจฉัย การรักษานอกจากจะมุ่งเน้นการชะลอการดำเนินโรค และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เป็นภาวะฉุกเฉินต้องให้การรักษาทันที่ มักพบในผู้ป่วยที่เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การรักษามุ่งเน้นการรักษาภาวะฉุกเฉินเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย โดยช่วยเรื่องการไหลเวียนเลือด และการหายใจเป็นหลัก ภาวะแทรกซ้อนของจากภาวะหัวใจล้มเหลว ไตวาย ตับวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ ลิ้นหัวใจรั่ว การวินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลว ซักประวัติและตรวจร่างกายจากแพทย์ การตรวจเลือดเพื่อหาสารเคมีบางอย่างในร่างกาย (NT-ProBNP) ตรวจการทำงานของหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อน (Echocardiography) นอกจากนี้แพทย์อาจพิจารณาตรวจหาโรคที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเพิ่มเติม เช่น การฉีดสีสวนหัวใจเพื่อหาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เพื่อจะได้ทำการแก้ไขโรคต้นเหตุได้อย่างทันท่วงที ผู้ที่มีความปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ ผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางเรื้อรัง การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว การหาโรคที่เป็นทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และรักษาแก้ไขที่โรคต้นเหตุร่วมกับการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว รักษาด้วยยาเพื่อชะลอการดำเนินโรคและฟื้นฟูการทำงานของหัวใจ ควบคุมปริมาณน้ำที่ดื่ม และอาหารที่มีโซเดียมสูง อาหารรสเค็ม และการปรับยาขับปัสสาวะอย่างเหมาะสม การป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30-40 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน ตรวจสุขภาพและพบแพทย์สม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากมีโรคประจำตัว ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง จัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม ทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด พักผ่อนอย่างเพียงพอ สอบถามเพิ่มเติมที่ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายที่ไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายที่ไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายที่ไร้สัญญาณเตือน ในขณะออกกำลังกายอย่างหนัก ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่น ระดับน้ำตาล โปรตีน และเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังทำให้เกล็ดเลือดมาเกาะเป็นกลุ่มกันมากขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่อาจทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หากออกกำลังกายหักโหมเกินไป อย่างนักกีฬาอัลตรามาราธอน วิ่งระยะไกล ทุกวันนี้มีเทคโนโลยีตรวจความฟิตของร่างกายอย่าง VO2 max ที่ช่วยทดสอบสมรรถภาพร่างกายให้แก่นักกีฬาทุกคน ความเสี่ยงของ “ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในคนออกกำลังกาย อันตรายที่ไร้สัญญาณเตือน แม้ว่าจะมีความเสี่ยงจะเกิดน้อย แต่เราก็ต้องรู้ไว้ เพราะปัญหาสุขภาพไม่เลือกเวลาและไม่เลือกคน ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันหรือ Sudden Cardiac Arrest เป็นภาวะที่หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน เกิดได้ทั้งระหว่างออกกำลังกายและหลังออกกำลังกาย โดยมักจะไม่มีสัญญาณบอกก่อน จึงเป็นภาวะที่น่ากลัวมาก ผู้ป่วยอาจพบอาการแน่นหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย ไม่มีแรง รู้สึกเหมือนจะวูบ ใจสั่นหรือหัวใจเต้นรัวนำมาก่อน หากพบอาการเหล่านี้ส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน หรืออาจจะต้องปฐมพยาบาลด้วยการ CPR ผายปอดและปั๊มหัวใจ หรือใช้เครื่องกระตุกหัวใจแบบพกพา AED (เออีดี) เมื่อหัวใจหยุดเต้น ระบบหัวใจก็จะเริ่มล้มเหลว ความดันโลหิตก็จะตกลง เลือดก็จะไม่สูบฉีด เซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ก็จะขาดเลือด ขาดออกซิเจน และขาดสารอาหาร ทำให้เซลล์ ไม่สามารถทำงานต่อได้ เมื่อเซลล์หลาย ๆ เซลล์หยุดทำงานก็จะทำให้อวัยวะเหล่านั้นล้มเหลว และหยุดทำงานไปตาม ๆ กัน พูดให้เข้าใจกันง่าย ๆ คือ ถ้าหัวใจหยุดเต้น สมอง ปอด และระบบอื่นก็หยุดทำงานตามไปด้วยจนเสียชีวิตในที่สุด ภาวะหัวใจหยุดเต้นจึงเป็นภาวะอันตรายที่ต้องการรักษาอย่างเร่งด่วน สาเหตุของ “ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน” ที่พบบ่อยคือคลื่นไฟฟ้าหัวใจเกิดความผิดปกติจนทำให้หัวใจเต้นผิดปกติและหยุดเต้นได้ครับ เพราะเดิมทีในร่างกายมนุษย์สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ ได้ตามธรรมชาติเพื่อใช้สื่อสาร หรือสั่งการกันระหว่างเซลล์และระบบอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะหัวใจ ส่วนสาเหตุที่ทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติก็เกิดได้จากหลายปัจจัย โดยปัจจัยอย่างแรกที่ทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติคือภาวะหัวใจขาดเลือดหรือ Heart Attack ภาวะหัวใจขาดเลือดมักเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตัน ทำให้เลือดเข้าไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ ซึ่งข้อมูลทางการแพทย์ พบว่าหลังจากที่หัวใจขาดเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจผิดปกติและทำให้หัวใจเต้นผิดไปจากเดิม อย่างหัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นรัว หัวใจเต้นผิดจังหวะ และหยุดเต้นได้ แต่นอกจากภาวะหัวใจขาดเลือดแล้วก็ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจและส่งผลต่อการเต้นของหัวใจจนทำให้เกิด “ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน” ดังนี้ ● ความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด ได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว ความผิดปกติของโครงสร้างหลอดเลือดหัวใจ ● คนที่มีความผิดปกติของการเต้นของหัวใจที่ไม่รู้สาเหตุแน่ชัด ● กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ● หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจ นักกีฬาหรือคนที่ออกกำลังกายส่วนใหญ่อาจไม่รู้ว่าตัวเองมีปัญหาสุขภาพหัวใจเหล่านี้แฝงอยู่ อาจถูกอาการนี้จู่โจมแบบไม่ทันตั้งตัวได้และต่อให้คุณไม่ได้เป็นโรคหัวใจ แต่ถ้าคุณมีความเสี่ยงเล็ก ๆ น้อย ๆ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน ถือเป็นภัยเงียบที่คาดเดาและรับมือได้ยาก การตรวจสุขภาพหัวใจและการประเมินความพร้อมของร่างกายจึงสำคัญมาก โดยเฉพาะคนที่ออกกำลังกายหนัก ๆ นอกจากนี้ หากใครเคยมีอาการต่อไปนี้ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจเป็นสัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับหัวใจได้ ● คนที่เหนื่อยง่ายผิดปกติในขณะที่ทำกิจกรรม ต่าง ๆ รวมถึงการออกกำลังกาย ● มีหรือเคยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกขณะออกกำลังกาย ● เคยเป็นลมขณะออกกำลังกาย ● คนที่เคยมีญาติใกล้ชิด อย่างพ่อแม่หรือพี่น้องเสียชีวิตฉับพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีโรคเส้นเลือดหัวใจตีบขณะที่อายุ น้อยกว่า 60 ปีในผู้หญิง และ 45 ปีในผู้ชาย ● คนที่ออกกำลังกาย แต่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด หรือพักผ่อนน้อยติดต่อกันนานก็อาจมี ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นได้เหมือนกัน ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันสามารถลดความเสี่ยงได้ครับด้วยการตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะสุขภาพหัวใจ ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

การตรวจอัลตร้าซาวด์หัวใจ (Echocardiogram)

การตรวจอัลตร้าซาวด์หัวใจ (Echocardiogram)

การตรวจอัลตร้าซาวด์หัวใจ (Echocardiogram) การตรวจ ECHO หัวใจ (Echocardiogram หรือ Echocardiography) เป็นการตรวจการทำงานของหัวใจ เช่น ขนาดของห้องภายในหัวใจ การไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจ การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจ ภาวะน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ ช่องหัวใจโต และตรวจหาภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการเหนื่อยง่าย หรือแน่นหน้าอก และดูตำแหน่งของหลอดเลือดต่างๆ ที่คอยสูบฉีดเลือดจากหัวใจไปเลี้ยงเซลล์และอวัยวะต่างๆ ด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง คำแนะนำสำหรับผู้รับการตรวจ 1. ควรมาถึงก้อนเวลานัด 15 นาที พร้อมยื่นใบนัดที่แผนกเวชระเบียน 2. ใช้เวลาในการตรวจพิเศษ ประมาณ 1 ชั่วโมง ขั้นตอนต่างๆจะแจ้งให้ทราบก่อนเริ่มการทดสอบ 3. ควรพักผ่อนให้เพียงพอช่วงก่อนวันนัด หากผู้ป่วยมีไข้ อ่อนเพลีย หรืออาการกำเริบ โปรดสอบถามแพทย์หรือแจ้งเจ้าหน้าที่ 4. ไม่ต้องงดน้ำไม่ต้องงดอาหารและไม่ต้องงดยา สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ปัญหาช่องปาก เรื่องใหญ่ของผู้ป่วยโรคหัวใจ

ปัญหาช่องปาก เรื่องใหญ่ของผู้ป่วยโรคหัวใจ

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคทรวงอก แนะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ลดปัญหาสุขภาพช่องปาก เตือนผู้ป่วยโรคหัวใจควรใส่ใจสุขภาพช่องปากมากกว่าคนทั่วไป หากละเลยเสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือดอันตรายต่อชีวิต สุขภาพช่องปาก เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจ เนื่องจากปัญหาโรคเหงือกและฟันมีความเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ หากพบว่าในช่องปากมีโรคเหงือก ฟันผุ หรือหนองจากฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน จะทำให้เกิดอาการปวดฟัน รากฟันอักเสบเป็นหนอง และอาจเกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรียแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือดไปตามอวัยวะต่างๆ รวมถึงหัวใจ ทำให้เกิดพยาธิสภาพที่หัวใจได้ ปัจจัยเสี่ยงปัญหาสุขภาพช่องปาก การสูบบุหรี่ ทำให้เกิดปัญหากลิ่นปาก โรคปริทันต์อักเสบ การรับประทานของหวาน ของว่างระหว่างมื้อบ่อยๆ อาจทำให้เกิดฟันผุ ฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน การเคี้ยวของแข็ง ส่งผลทำให้ฟันบิ่น หรือฟันแตก การรับประทานยาหลายชนิด อาจทำให้เกิดภาวะปากแห้ง การแปรงฟันแรง แปรงฟันไม่ถูกวิธี อาจทำให้ฟันสึก หรือฟันผุ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้ เพื่อลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพช่องปากในอนาคต สำหรับข้อควรระวัง และการเตรียมตัวในการทำฟันของผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัว ขอใบรับรองแพทย์เพื่อยืนยันว่าสามารถทำฟันได้หรือไม่ รวมถึงข้อควรระวัง ชนิดของโรคหัวใจที่เป็น และยาที่รับประทานอยู่ ต้องแจ้งทันตแพทย์ทุกครั้งเกี่ยวกับชนิดของโรคหัวใจ ยาที่รับประทาน รวมถึงปัญหาที่ผู้ป่วยเคยมีในการทำฟัน เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ประจำตัวและทันตแพทย์อย่างเคร่งครัดในการปรับ หรืองดยาละลายลิ่มเลือด การเจาะเลือดก่อนการทำฟัน การรับประทานยาปฏิชีวนะก่อนทำฟัน และการปฏิบัติตนภายหลังการทำฟัน ผู้ป่วยไม่ควรหยุดยาใดๆมาเอง หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือทันตแพทย์ วิธีการดูแล และป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพช่องปากที่ควรปฏิบัติ แปรงฟันอย่างถูกวิธีด้วยแปรงสีฟันขนนุ่มและยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ วันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน ใช้ไหมขัดฟัน หรือแปรงซอกฟันเพื่อทำความสะอาดบริเวณด้านประชิดของฟัน ที่สำคัญทั้งผู้ป่วยโรคหัวใจและคนที่สุขภาพร่างกายแข็งแรงควรพบทันตแพทย์ตามนัดหมายเป็นประจำทุก 6 เดือน หากปรับพฤติกรรมที่ไม่ดีร่วมกับการดูแลฟันอย่างถูกวิธีตามคำแนะนำของแพทย์ ก็สามารถช่วยลดปัญหาสุขภาพช่องปากในระยะยาวลงได้ ขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันโรคทรวงอก และ BDMS สถานีสุขภาพ

7 สัญญาณโรคหัวใจกำเริบ

7 สัญญาณโรคหัวใจกำเริบ

7 สัญญาณโรคหัวใจกำเริบ โรคหัวใจกำเริบเฉียบพลัน (Heart attack) สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตในผู้ใหญ่ ซึ่งพบได้บ่อยตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุอาจเกิดได้จากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่มีสาเหตุจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตันชนิดเฉียบพลัน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกบริเวณซีกซ้าย อาจจะมีร้าวไปที่แขนซ้ายหรือร้าวไปที่กราม ร่วมกับมีอาการเหงื่อออก มือเท้าเย็น วิงเวียน จะเป็นลม หมดแรง คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม ซึ่งผู้ป่วยที่เสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาล เป็นผลมาจากหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรง ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจกำเริบเฉียบพลัน การสูบบุหรี่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ภาวะอ้วนลงพุง การบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์ อาการอย่างไรเรียกว่าเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจ เจ็บ แน่น หรือรู้สึกไม่สบายตรงกลางหน้าอก อาการเจ็บหน้าอก ร้าวไปที่คอ แขน หรือขากรรไกร เหงื่อออกจะมีเหงื่อออกอย่างมากจนรู้สึกหนาวบริเวณลำตัวส่วนบน อาจมีอาการวิงเวียน หายใจไม่อิ่ม และคลื่นไส้ร่วมด้วย อาการเหล่านี้อาจเกิดขณะที่ออกกำลังกาย หรือมีอารมณ์เครียดอย่างกะทันหัน อาการเหล่านี้มักจะคงอยู่นานราว 1–10 นาที รู้สึกหายใจไม่ทันขณะที่ออกกำลังกาย อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน รู้สึกแน่นอึดอัดท้องอย่างมาก ถ้าออกกำลังกายทันทีภายหลังรับประทานอาหาร อย่างไรก็ดีอาการหัวใจกำเริบเฉียบพลันอาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวมาและเกิดได้ทุกสถานที่ และทุกเวลา เช่น ขณะออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่ง นอนหลับพักผ่อน เกิดจากมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและหนาตัว จากการมีคราบไขมัน (Plaque) และเมื่อเกิดการปริแตกของผนังด้านในหลอดเลือดบริเวณนั้น ทำให้มีลิ่มเลือดมาจับตัวเป็นก้อน จนเกิดการอุดกั้นของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อขาดเลือดจนกล้ามเนื้อหัวใจตาย อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก และถ้ามีการเต้นหัวใจผิดจังหวะของหัวใจห้องล่างชนิดร้ายแรง (VT/VF) ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตฉับพลันได้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการแต่ยังรู้สึกตัวดีต้องรีบมาโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด กรณีที่ผู้ป่วยหมดสติ ผู้ที่เห็นเหตุการณ์ซึ่งหน้าจะต้องมีความรู้เรื่องการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และรู้จักการใช้เครื่องกระตุกหัวใจ (AED) ก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาล เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต ภายหลังการรักษาผู้ป่วยต้องรับประทานยาที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ด้วยการมาพบแพทย์ตามนัด ควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารหวาน มัน เค็ม งดการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์ หากพบว่าอาการผิดปกติ เช่น เจ็บแน่นหน้าอก เวลาออกแรง เหนื่อยง่าย หอบเหนื่อยนอนราบไม่ได้ ขาบวมกดบุ๋มให้รีบมาพบแพทย์ทันที ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด คนไทยป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ 432,943 คนต่อปี และมีอัตราการเสียชีวิตถึง 20,855 คน เฉลี่ย 2 คนต่อชั่วโมง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรคหัวใจ เป็นคำที่มีความหมายกว้าง เนื่องจากโรคหัวใจแบ่งย่อยออกเป็นอีกหลายชนิด ตามตำแหน่งที่เกิดความผิดปกติ ลักษณะการแสดงอาการ และการติดเชื้อ เป็นต้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจชนิดใดก็ย่อมส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจทั้งสิ้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึงโรคหัวใจที่มักจะได้ยินกันบ่อยๆ ดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ-อุดตันตัน จากหลอดเลือดที่เคยมีพื้นผิวที่เรียบ เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างสะดวก แต่เมื่อเรามีระดับไขมันในเลือดสูง ไขมันเหล่านี้จะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง หรือบางกรณีอาจเกิดจากการมีลิ่มเลือดมาอุดตันหลอดเลือด ซึ่งทั้ง 2 กรณี ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก มีโอกาสเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดขึ้นได้ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจที่ตีบหรืออุดตัน ทำให้ส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อตายจากการขาดเลือด ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาหารเจ็บแน่นหน้าอก ร้าวไปกราม ไปไหล่ และแขน หายใจเหนื่อย วิงเวียน เหงื่อออก ตัวเย็น โดยผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกันออกไป อาจจะมีอาการในช่วงที่ออกแรง รู้สึกเครียด หรือหลังจากการรับประทานอาหารมื้อหนัก เมื่อมีอาการควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพราะถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โรคหัวใจวาย ภาวะหัวใจวาย เป็นภาวะประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง ทำให้ไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างเพียงพอ ส่งผลต่ออวัยวะทุกส่วนของร่างกาย นอกจากนี้ภาวะหัวใจวายยังทำให้เกิดน้ำท่วมปอด และไตวายได้อีกด้วย อาการของภาวะหัวใจวาย คือ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ โดยเฉพาะขณะนอนราบ ไอแห้ง นอนหลับยาก มือเท้าบวม โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าหัวใจ ส่งผลต่อความสม่ำเสมอและอัตราการเต้นของหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ *** โรคหัวใจอาจไม่แสดงอาการใดๆให้ท่านทราบเลยในช่วงแรก การตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำจึงมีความสำคัญที่สุด การตรวจสุขภาพหัวใจ การซักประวัติและตรวจรางกายโดยแพทย์ เป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้น เพื่อประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG & ECG) เป็นเครื่องมือตรวจพิเศษช่วยวิเคราะห์ความผิดปกติของหัวใจเบื้องต้น ที่ไม่เสียเวลาและไม่ต้องเจ็บตัว การวัดสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST) เพื่อทดสอบความทนของหัวใจขณะออกกำลังกาย ทำให้สามารถประเมินโอกาสเสี่ยงในการเกิดคววามผิดปกติที่อาจจะมีต่อหัวใจขณะออกแรง การตรวจเลือด เพื่อประเมินระดับของเอนไซม์หัวใจ ว่าอยู่ในยเกณฑ์ของผู้ป่วยหัวใจวายหรือไม่ การอัลตราซาวด์หัวใจ (Echocardiogram) เพื่อดูการทำงาน โครงสร้าง และความผิดปกติของหัวใจ การตรวจ MRI เป็นการตรวจดูความผิดปกติของหัวใจ โดย ใช้ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุ ซึ่งสามารถให้ภาพที่ชัดเจนทั้งแนวขวางและ 3 มิติ การตรวจ MRA เป็นการตรวจหาความผิดปกติของ หลอดเลือด โดยการใช้เครื่อง MRI การวินิจฉัยด้วยการสวนหัวใจ เป็นการตรวจเอ็กซเรย์ร่วมกับการฉีดสารทึบแสงทางหลอดเลือดเพื่อวิเคราะห์ความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ โดยหากพบความผิดปกติที่สามารถรักษาด้วยการทำบอลลูน ใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือด ผู้ป่วยจะสามารถทำได้ในคราวเดียวกัน ไม่ต้องเจ็บตัวซ้ำ ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องดมยาสลบ และไม่ต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลนาน การรักษา รับประทานยา รักษาด้วยการสวนหัวใจ ผ่าตัด การป้องกัน รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อย่างเหมาะสม ลดอาหารที่มีคลอเรสเตอรอลสูง ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ดื่มสุรา และ ไม่สูบบุหรี่ หากมีโรคประจำตัว ต้องดูแลตนเองตามแพทย์แนะนำและรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด โรคหัวใจเป็นโรคที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากสงสัยหรือมีความเสี่ยงควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039 319 888