โรคหัวใจจากฝุ่น PM2.5 

นพ.ชาติทนง ยอดวุฒิ อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ เปิดเผยว่า PM2.5 นับเป็นสารอนุมูลอิสระ (Free Radical) เช่นเดียวกับบุหรี่ และ บุหรี่ไฟฟ้า ที่ก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง อาทิ โรคหลอดเลือดหัวใจ ตีบ ตัน หรือ โรคทางปอด สัมพันธ์กับปริมาณที่ได้รับอย่ามีนัยยะสำคัญ ซึ่งฝุ่น PM2.5 จะเข้าไปกระตุ้นการเกิดอักเสบของหลอดเลือดและการเกิดลิ่มเลือดในร่างกาย ถ้าปริมาณสูงมากพอและเกิดการสูดดมสะสมจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดชัดเจน

 

ผลกระทบจาก PM2.5 แบ่งเป็น 2 อาการ

  • หลอดเลือดเสื่อมสภาพ หนาตัวขึ้น กล้ามเนื้อหดตัว แข็งขึ้นยืดหยุ่นน้อยลง
  • ส่งผลต่อเกร็ดเลือดทำให้เกิดการสลายลิ่มเลือดยากขึ้น และเกร็ดเลือดเกาะกลุ่มได้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตามเมื่อปัจจัย 2 มาเจอกันก็จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตันนั้นเอง

 

โรคหัวใจจาก ฝุ่น PM2.5 ไม่ได้เกี่ยวกับอายุ ?

นพ.ชาติทนง กล่าวว่า การก่อโรคจากฝุ่น PM 2.5 ไม่ได้เกี่ยวกับอายุ แต่เกี่ยวกับปริมาณที่ได้รับจนเกิดการสะสมในร่างกาย โดยกลุ่มที่เป็นโรคประจำตัว อย่างหอบหืด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ก็ย่อมเสี่ยงมากกว่าคนกลุ่มอื่นเนื่องจากมีความเซนซิทีฟสูง

อย่างไรก็ตาม คนที่สุขภาพดีก็ไม่ใช่ว่าจะปลอดภัยเพราะหากได้รับในปริมาณสูงมากพอก็จะมีการพัฒนาของหลอดเลือด เพราะล่าสุดเวชศาสตร์การกีฬา ได้ออกมาเตือนว่า ถึงแม้จะเป็นนักกีฬาที่แข็งแรงมากแค่ไหน ถ้าฝุ่น PM2.5 เกิน 50 ไมโครกรัม  ควรจะใส่หน้ากากอนามัยออกกำลังกายหรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง

นพ.ชาติทนง ยังเปิดเผยว่าขณะนี้แพทย์ทั่วโลกกำลังจะยกระดับ PM2.5 เป็นปัจจัยเสี่ยงระดับต้นๆ เทียบเท่ากับบุหรี่ ในการจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ มีผลอย่างนัยยะสำคัญหรือกระตุ้นโรคประจำตัว

 

สัญญาณเตือนแบบพิษฉับพลันPM2.5

  • วิงเวียน
  • หน้ามืด
  • คลื่นไส้
  • เลือดกำเดาไหล

ขณะที่การก่อโรคเรื้อรังอย่างเลือดเลือดหัวใจจะเป็นในลักษณะการสะสมโรคจึงมักจะไม่แสดงในระยะแรกๆ การตรวจสุขภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะสุขภาพของหัวใจ

 

ปัจจุบันมีหลากหลายเทคโนโลยีที่แม่นยำ อาทิ การตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจโดยการวิ่งบนสายพาน (Exercise Stress Test) ,การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง (Echocardiogram) หรือการตรวจวัดระดับแคลเซียมบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ (CT Coronary Calcium Score) เพื่อการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม การทำงานของไต ระดับไขมันคอเลสเตอรอล ระดับไขมันความหนาแน่นสูง-ต่ำ และระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ให้เราสามารถรู้ทันความเสี่ยง หาพบแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจในอนาคตไม่ว่าจะจากปัจจัยไหนก็ตาม

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ