ปัจจุบันโรคเกาต์ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่สามารถบรรเทาอาการเป็นๆหายๆ เรื้อรังได้ ทั้งการปรับพฤติกรรมและการใช้ยาควบคู่กันไปภายใต้คำแนะนำของแพทย์
ระยะต้นของโรคเกาต์ ผู้ป่วยอาจมีอาการเบื้องต้น ได้แก่ ปวด 1-2 ข้อ มีอาการปวดเป็นๆ หายๆ และลุกลามไปเรื่อยๆ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาไม่ถูกวิธี อาจกลายเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง และอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น ไตวาย โรคไต และนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้
โรคเกาต์แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
- ระยะเฉียบพลัน มักมีอาการปวดข้อแบบเฉียบพลันทันที มักพบอาการปวดตอนกลางคืน และบริเวณเกิดอาการปวดได้บ่อย ได้แก่ หัวแม่เท้าและที่ข้อเท้า สามารถหายไปเองได้ แต่จะกลับมาปวดซ้ำๆ อีกเรื่อยๆ และมีอาการปวดแบบเป็นๆ หายๆ
- ระยะช่วงพัก สามารถใช้ชีวิตประจำวันหรือทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ โดยที่เมื่อมีอาการปวดข้อระยะเวลาที่ปวดจะสั้นลง แต่ความถี่ของอาการปวดมากจะมากกว่าระยะเฉียบพลัน และจะปวดถี่ขึ้นเรื่อยๆ
- ระยะเรื้อรัง คือกลุ่มผู้ป่วยที่ป่วยมานานกว่า 10 ปีขึ้นไป จะมีอาการข้ออักเสบหลายข้อ และปวดตลอดเวลา ไม่มีช่วงเว้นว่างหายสนิท และในระยะนี้มักมีปุ่มก้อนขึ้นตามข้อต่างๆ ที่ทำให้เกิดการอักเสบ โดยปุ่มเหล่านี้เกิดจากก้อนผลึกยูเรทที่มีการสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะเรื้อรังหากผู้ป่วยโรคเก๊าท์ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี จะสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้อาการของโรครุนแรงมากกว่าเดิม
อย่างไรก็ตาม โรคเกาต์ไม่สามารถหายเองได้ต้องได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม เพราะฉะนั้นหากมีอาการปวดตามข้อต่อต่างๆ ตามร่างกายอย่างกะทันหันหรือรุนแรง แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธีต่อไป
การรักษาในระยะที่มีการอักเสบเฉียบพลัน
- สำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์ที่อาการอยู่ในระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน แพทย์ส่วนใหญ่มักจะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการบีบนวดข้อ การประคบ และควรพักการใช้ข้อ โดยวิธีรักษาโรคเกาต์ส่วนใหญ่มักจะเป็นการใช้ยารักษาอาการและบรรเทาอาการเจ็บปวด
- ยารักษาโรคเกาต์ ให้หายขาดที่นิยมใช้เพื่อลดอาการอักเสบ ได้แก่ ยาโคลชิซิน (Colchicine) และยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) โดยแนะนำให้รับประทานยาโคลชิซิน 1 เม็ด (0.6 มิลลิกรัม) ทุก 4 - 6 ชั่วโมงในวันแรก และลดเหลือวันละ 2 เม็ดในวันถัดมา
ส่วนใหญ่แพทย์มักจะให้ทานยาโคลชิซินประมาณ 3 - 7 วัน หรือจนกว่าอาการอักเสบจะหายดี ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาปริมาณในการรับประทานยาแต่ละครั้งเนื่องจากผู้ป่วยบางท่านอาจจะมีปัญหาเรื่องการทำงานของไต หรือผู้ป่วยสูงใหญ่จำเป็นต้องลดปริมาณยาลดเพื่อความปลอดภัยและเพื่อบรรเทาอาการอักเสบควรเลือกใช้ยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) ที่มีค่าครึ่งชีวิตสั้น และออกฤทธิ์เร็ว โดยแนะนำให้ทาน 3-7 วัน หรือจนกว่าอาการจะหายดี
อย่างไรก็ตามยาโคลชิซิน หรือยาต้านการอักเสบ ก็จะมีผลข้างเคียง ได้แก่ ยาโคลชิซินสามารถทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน และยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหาร การทำงานของไตบกพร่อง หรือโรคตับทานยา
การรักษาเพื่อป้องกันการอักเสบซ้ำในระยะยาว
การรักษาโรคส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาเพื่อลดระดับของกรดยูริกในเลือดให้ต่ำลงมา โดยการรักษาเพื่อป้องกันการอักเสบซ้ำในระยะยาวผู้ป่วยโรคเกาต์จำเป็นต้องรับประทานยาโคลชิซินขนาด 0.6 - 1.2 มิลลิกรัมต่อวัน (ตามดุลพินิจของแพทย์) ซึ่งต้องทานจนกว่าจะตรวจไม่พบตุ่มโทฟัส และระดับกรดยูริกในเลือดต่ำกว่า 4 - 5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และไม่เกิดอาการข้ออักเสบอย่างน้อย 3 - 6 เดือน
วิธีดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์
- ผู้ป่วยโรคเกาต์ ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธี ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ปีก อาหารทะเลบางชนิด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
- ดื่มน้ำให้มากเพื่อช่วยขับกรดยูริกออกจากร่างกายทางปัสสาวะ
- หากมีอาการปวดข้อเฉียบพลันแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้งาน
ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ