ภาวะฉุกเฉินในเด็ก

วัยเด็กเป็นวัยที่เปราะบาง และต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใหญ่ โดยผู้ใหญ่จะต้องเป็นผู้ที่คอยสังเกตความผิดปกติ โดยหากมีอาการดังต่ไปนี้ ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินและควรนำบุตรหลานส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน

  1. เมื่อเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง เช่น กินสารพิษ กินยาเกินขนาด หรือเลือดออกไม่หยุด หลังจากที่พยายามห้ามเลือดแล้ว เช่น การกด ฯลฯ
  2. หมดสติ เรียกไม่รู้สึกตัว
  3. ถูกงกัดู สัตว์มีพิษหรือแมลงต่อยแล้วเกิดอันตรายรุนแรงใน 30 นาที เช่น มีไข้ ปวดข้อ ปวดศีรษะ ลมพิษขึ้นทั้งตัว แน่นในคอ บวมมาก หมดสติ
  4. หายใจไม่ออก หายใจลําบาก กระวนกระวายหรือหน้าเขียว
  5. เด็กอาจชักเมื่อไข้สูงหรือลมบ้าหมู ให้เด็กนอนเอียงหน้า เอาเศษอาหาร ในปากหรือจมูกออก ห้ามเอาของแข็งหรือช้อนงัดปาก ถ้ามีไข้เช็ดตัวด้วย น้ำธรรมดา แล้วรีบพาเด็กไปห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด อย่าพยายามกรอกยาขณะเด็กชัก
  6. ปวดท้องรุนแรง งดอาหารและเครื่องดื่ม ห้ามกินยาถ่าย ถ้ามีไข้และ อาเจียนด้วย อาจเป็นไส้ติ่งอักเสบหรือโรคร้ายอื่นๆ
  7. อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด หรือเป็นสีดําจํานวนมาก อาจเป็นเพราะมีเลือดออกในกระเพาะหรือลําไส้
  8. ท้องเสียในเด็กอ่อน เด็กเล็กๆ ถ่ายเพียง 3 - 4 ครั้ง ก็เสียน้ำได้มากๆ ถ้าเด็กมีอาการกระวนกระวาย ตัวร้อน ผิวแห้ง ปัสสาวะน้อยแสดงว่าขาดน้ำมาก

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการอาเจียนในเด็ก

อาการอาเจียนในเด็ก

เมื่อลูกอาเจียน คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลักษณะอาเจียนที่ออกมา ว่าเป็นเศษอาหาร เสมหะสีอะไร อาเจียนแบบพุ่งหรือไม่พุ่ง เนื่องจากลักษณะอาเจียนต่าง ๆ จะช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ อาเจียนเกิดจากอะไร สาเหตุของอาเจียนมีได้ ดังนี จากสมอง มักมีอาเจียนพุ่ง จากทางเดินอาหาร เช่น การอุดตันของกระเพาะ ลําไส้ หรือมีการอักเสบ ของทางเดินอาหาร สาเหตุทางกายอื่น ๆ เช่น ไข้สูง ไซนัสอักเสบ คออักเสบ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ สาเหตุอื่น เช่น รับประทานอาหารมากเกินไป เมื่ออาเจียนออกมาแล้วมักจะสบายขึ้น เมื่อลูกอาเจียนจึงควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและให้การรักษาต่อ ถ้าลูกอาเจียนจะดูแลอย่างไร ควรให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย โดยให้ทีละน้อย บ่อย ๆ ให้น้ำเกลือแร่ ORS เพื่อทดแทนเกลือแร่ที่เสียไปกับอาเจียน โดยให้จิบทีละน้อยและบ่อย ๆ ให้ยาแก้อาเจียนตามแพทย์สั่ง ควรให้รับประทาน 1/2 ชั่วโมงก่อนมื้ออาหาร เมื่อมีอาเจียนมาก รับประทานอาหารหรือน้ำไม่ได้เลย ซึมลง มีอาการขาดน้ำกระหม่อมบุ๋ม ปากแห้งมาก ตาโหล ผิวหนังเหี่ยว แพทย์จะพิจารณาให้นํ้าเกลือทางเส้นเลือด และรักษาสาเหตุต่อไป สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจัรทบุรี 039-319888

โรคท้องเสีย หรือโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

โรคท้องเสีย หรือโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

โรคท้องเสีย หรือโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก ก็ได้ให้คำนิยามเอาไว้ว่า หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลว หรือ มีน้ำมากกว่าปกติ 3 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ำ 1 ครั้ง หรือถ่ายมีมูกเลือด 1 ครั้งในเวลา 1 วัน กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นโรคท้องเสีย ซึ่งจะต้องทำการรักาาให้ถูกวิธี สาเหตุ สาเหตุของโรคท้องเสียส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนเข้าไป หรือคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสม แล้วผสมนมไม่ถูกส่วนหรือล้างภาชนะไม่สะอาด อาหารไม่สะอาด นอกจากนี้เด็กที่ชอบดูดนิ้วหรืออมมือ และชอบหยิบของหล่นจากพื้นเข้าปากก็อาจท้องเสียจากการติดเชื้อได้ง่าย อาการที่ควรมาพบแพทย์ทันที อาเจียนมาก ทานไม่ได้ มีไข้สูง ปวดท้อง กระสับกระส่าย ชีพจรเต้นเบา อ่อนเพลียมาก ในเด็กสังเกต กระหม่อมหนานุ่ม ตาลึกโหล หายใจหอบ ปัสสาวะน้อยลง การป้องกันโรคท้องเสียในเด็กทำได้โดยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ล้างมือให้สะอาดก่อนปรุงอาหารและรับประทานอาหารทุกครั้ง รับประทานอาหารและดื่มน้ำที่สะอาด ตลอดจนดูแลสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้าน ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน เพียงเท่านี้ทุกคนในบ้านก็จะมีสุขภาพดีกันทุกคน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

การดูแลเด็กสมาธิสั้นสำหรับคุณครู

การดูแลเด็กสมาธิสั้นสำหรับคุณครู

การรักษาเด็กสมาธิสั้นประกอบด้วยการรักษาด้วยยา และการฝึกวินัย การปรับพฤติกรรม ดังนั้นครูจึงนับมีบทบาทสำคัญไม่แพ้คนในครอบครัวในการดูแลเด็กกลุ่มนี้ สำหรับคำแนะนำการดูแลเด็กกลุ่มนี้เมื่ออยู่โรงเรียน ได้แก่ จัดให้เด็กนั่งหน้าชั้น หรือใกล้ครูให้มากที่สุด เพื่อให้ง่ายในการเตือนเด็ก ให้กลับมาตั้งใจเรียนเมื่อเด็กขาดสมาธิให้นั่งอยู่ท่ามกลางเด็กเรียบร้อยที่ไม่คุยในระหว่างเรียน จัดให้นั่งกลางห้อง หรือไกลจากประตูหน้าต่าง เพื่อลดโอกาสวอกแวก โดยสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกห้องเรียน เมื่อหมดสมาธิจริงๆ ควรจัดกิจกรรมที่เปลี่ยนอิริยาบถ และเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ให้เด็กทํา เช่น ให้ช่วยครูแจกสมุดให้เพื่อน ๆ ในห้อง ลบกระดานดํา เติมน้ำใส่แจกัน เป็นต้น ให้คําชมเชย หรือรางวัล เมื่อเด็กปฏิบัติตัวดีหรือทําสิ่งที่เป็นประโยชน์ คิดรูปแบบวิธีตักเตือน หรือเรียกให้เด็กกลับมาสนใจบทเรียนโดยไม่ทําให้เด็กเสียหน้า เขียนการบ้าน หรืองานที่เด็กต้องทําในชั้นเรียนให้ชัดเจนบนกระดานดํา พยายามสั่งงานด้วยวาจาให้สั้นที่สุด ถ้าต้องสั่งงานด้วยวาจา ควรสั่งตามขั้นตอน หลีกเลี่ยงการสั่งพร้อมกันทีเดียวหลาย ๆ คําสั่ง ให้เวลาทําให้เสร็จทีละอย่าง ก่อนให้คําสั่งต่อไป หลังจากสั่งเด็ก ควรถามกลับว่าสั่งอะไรเพื่อตรวจสอบความเข้าใจและยืนยันในคําสั่ง ตรวจสมุดงานสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กจดงานได้ครบถ้วนและฝึกฝนให้เด็กตรวจทานงาน ถ้าสมาธิสั้นมาก ควรลดเวลางานให้สั้นลง เพื่อให้เกิดความพยายามทํางานให้เสร็จทีละอย่าง ซึ่งใช้เวลาไม่นาน ให้เน้นความรับผิดชอบที่จะต้องทํางานให้เสร็จ หลีกเลี่ยงการใช้วาจาตําหนิ ประจาน ประณาม หรือทําให้เด็กอับอายขายหน้าและไม่ลงโทษเด็กด้วยความรุนแรง เช่น การตี หากเป็นพฤติกรรมจากโรคสมาธิสั้น เช่น ซุ่มซ่าม ทําของเสียหาย หุนหันพลันแล่น ใช้การตัดคะแนน งดเวลาพัก ทําเวรหรืออยู่ต่อหลังเลิกเรียน ( เพื่อทํางานที่ค้างอยู่ให้เสร็จ ) เมื่อเด็กทําความผิด มองหาจุดดีของเด็ก และสนับสนุนให้เด็กได้แสดงออกถึงข้อดี หรือความสามารถของตัวเอง พยายามสร้างบรรยากาศที่เข้าใจ และเป็นกําลังใจให้เด็กพยายามปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น ให้ความช่วยเหลือด้านการเรียนเป็นพิเศษ ถ้ามีความบกพร่องด้านการเรียนร่วมด้วย ควรให้เด็กได้รับการสอนแบบตัวต่อตัว เพราะทําให้เรียนรู้ได้ดีที่สุด ครูสามารถคุมให้เด็กมีสมาธิ และยืดหยุ่นการเรียนการสอนให้เข้ากับความพร้อมของเด็กได้ดีกว่า ครูควรให้เวลาที่ใช้ในการสอนสําหรับเด็กที่เป็นสมาธิสั้น นานกว่าเด็กปกติ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

การเตรียมตัวตรวจ Skin Test

การเตรียมตัวตรวจ Skin Test

ท้องเสียจากโนโรไวรัส

ท้องเสียจากโนโรไวรัส

การเช็ดตัวลดไข้

การเช็ดตัวลดไข้

การเช็ดตัวลดไข้ เช็ดตัวด้วยผ้าขนหนูนิ่ม ๆ บิดน้ำอุ่นหมาดๆ โดยเริ่มจากใบหน้า ลําคอ แขน ลําตัว ขา โดยเช็ดไปในทิศทางเข้าสู่หัวใจ เน้นบริเวณข้อพับต่าง ๆ น้ำอุ่นจะทําให้เส้นเลือดขยายตัว ความร้อนในร่างกายของลูกจะถูกถ่ายเทผ่านน้ำที่ระเหยจากผิวหนัง ให้ลูกอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท ไม่ควรสวมเสื้อผ้าหนา ๆ หรือผ้าห่มหลายชั้นเกินไป เพราะจะทําให้ความร้อนไม่ถ่ายเท ไข้ไม่ลดได้ หลังเช็ดตัวควรจะวัดอุณหภูมิซ้ำทุก ๆ 20 นาที หรือจนแน่ใจว่าไข้ลดแล้ว หากไข้ลดแล้วเหงื่อออกมาก ควรจะให้ลูกดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่ชดเชยการเสียเหงื่อ รวมทั้งเปลี่ยนชุดใหม่ที่แห้งและสะอาดให้ลูกจะได้หลับอย่างสบายตัว ถ้าเช็ดตัวแล้วไข้ไม่ลดหรือมีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส ควรจะให้ยาลดไข้ สิ่งสําคัญที่ไม่ควรลืมก็คือ ให้ใช้น้ำอุณหภูมิปกติหรือน้ำอุ่นเช็ดตัวลูก คุณพ่อคุณแม่หลายคนหวังดีอยากให้ลูกไข้ลดเร็วๆ เลยใช้น้ำเย็นเช็ดตัว ผลปรากฏว่าไข้ของลูกยิ่งสูงขึ้น เพราะน้ำเย็นทําให้รูขุมขนหดตัวเล็กลง การระบายความร้อนออกจากร่างกายก็เลยยิ่งไม่สะดวก และน้ำที่เย็นจัดๆ ก็ทําให้ไข้เพิ่มสูงขึ้นได้ค่ะ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888