โรคเชื้อราในช่องหู

โรคเชื้อราในช่องหู

โรคเชื้อราในช่องหู ถือเป็นโรคหูชั้นนอกอักเสบจากเชื้อรา มักพบหลังเล่นน้ำ หรือใช้ไม้แคะหูร่วมกับผู้ที่เป็นเชื้อราในช่องหู

อาการ

  • คันหูมาก

  • อาจมีอาการปวดหู หรือหูอื้อ

  • เมื่อใช้ไฟส่องในรูหู อาจพบขุยขาวๆ ที่ผิวหนังรอบ ๆ รูหู

การรักษา

ทุกครั้งที่มีอาการ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินว่าการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม หากเป็นซ้ำบ่อย ๆ แพทย์จะประเมินว่ายังคงเป็นเรื่องเชื้อราในหูอยู่เหมือนเดิมหรือไม่ และควรสอบถามแพทย์ที่รักษาโดยตรงอีกครั้งว่าเหตุใดจึงเป็นบ่อยๆ อาจจะต้องซักประวัติเพิ่มเติม หรือตรวจหาโรคร่วมอื่นๆด้วยต่อไปฃ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก
โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

บทความที่เกี่ยวข้อง

สิ่งแปลกปลอมเข้าหู (Foreign body in ear canal)

สิ่งแปลกปลอมเข้าหู (Foreign body in ear canal)

สิ่งแปลกปลอมเข้าหู (Foreign body in ear canal) สิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปในรูหู ทำให้มีอาการหูอื้อหรือปวดหูได้ และอาจทำให้มีการติดเชื้ออักเสบได้ มักพบในเด็กที่เล่นซน การรักษา หากมีสิ่งแปลกปลอมที่เข้าหูอยู่ลึกเกินกว่าจะเอาออกดวยตนเองได้ ไม่ควรพยายามใช้นิ้ว ไม้แคะหู หรือสิ่งของต่าง ๆ พยายามแคะเอาสิ่งแปลกปลอมออกด้วยจนเอง เพราะอาจเป็นอันตรายได้ แนะนำให้พบแพทย์ ซึ่งแพทย์หู คอ จมูก จะมีอุปกรณ์ที่ช่วยเอาสิ่งแปลกปลอมนั้นออกได้อย่างง่ายได้และไม่เป็นอันตราย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

เยื่อจมูกอักเสบเป็นหนอง (Purulent rhinitis)

เยื่อจมูกอักเสบเป็นหนอง (Purulent rhinitis)

เยื่อจมูกอักเสบเป็นหนอง (Purulent rhinitis) เยื่อจมูกอักเสบเป็นหนอง (Purulent rhinitis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรืออาจพบในเด็กที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก อาการ คัดจมูก น้ำมูกข้นเป็นหนองสีเหลืองหรือเเขียว อาจหายใจมีกลิ่นเหม็นหรือปวดในรูจมูก เยื่อจมูกบวมแดง อาการแทรกซ้อน ไซนัสอักเสบ การรักษา รักษาด้วยยา หากมีสิ่งแปลกปลอมจะต้องนำสิ่งแปลกปลอมออก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

เยื่อแก้วหูทะลุ (Ruptured eardrum)

เยื่อแก้วหูทะลุ (Ruptured eardrum)

เยื่อแก้วหูทะลุ (Ruptured eardrum) เยื่อแก้วหูทะลุ อาจเกิดจากการอักเสบของหูชั้นกลางได้ และที่พบบ่อยคือแก้วหูทะลุ จากการได้รับบาดเจ็บ เช่น ถูกไม้แคะหูแทงทะลุ การกระทบกระเทือนจากการถูกตีหรือถูกกระแทก การถูกเสียงดัง ๆ เช่น เสียงพุ ประทัด ระเบิด เป็นต้น อาการ หูอื้อ หูตึง ทันทีทันใดหลังได้รับบาดเจ็บ บางรายมีอาการปวดหู มีเลือดไหลออกจากหู โรคแทรกซ้อน หากไม่รักษา จะทำให้เกิดการอักเสบทำให้เป็นโรคหูน้ำหนวกได้ การรักษา กรณีรูทะลุขนาดเล็ก อาจปิดได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ต้องได้รับยาปฏิชีวนะร่วมด้วย หากรูทะลุเป็นรูกว้าง อาจต้องผ่าตัดทำเยื่อแก้วหูเทียม (Tympanoplasty) ***ผุ้ที่เยื่อแก้วหูทะลุ ห้ามดำน้ำ ห้ามเล่นน้ำ ต้องระวังอย่าให้น้ำเข้าหูโดยเด็ดขาด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

บอกลาภูมิแพ้เรื้อรังด้วยเทคโนโลยี RF

บอกลาภูมิแพ้เรื้อรังด้วยเทคโนโลยี RF

บอกลาภูมิแพ้เรื้อรังด้วยเทคโนโลยี RF ภาวะคัดจมูกเรื้อรัง กระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยตรง ส่งผลให้เสียสมาธิในการเรียน การทำงาน ส่วนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ก็ไม่สะดวกคล่องตัวเท่าใดนัก อีกทั้งยังลามไปถึงการนอนหลับพักผ่อน ก่อให้เกิดภาวะง่วงนอนตลอดวัน อันเนื่องมาจากการหลับไม่สนิท ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะคัดจมูก คือการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูกด้านใน หรือผนังกั้นจมูก โดยผู้ป่วยมักมีอาการจาม น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ และหายใจไม่สะดวก เป็นต้น การรักษาภูมิแพ้ภาวะคัดจมูกเรื้อรัง แพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก จะตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยภาวะคัดจมูกเรื้อรัง ว่ามาจากสาเหตุใด และให้การรักษาอย่างเหมาะสมตามสาเหตุ อาทิ ควบคุมภูมิแพ้ในผู้ป่วยที่มีสาเหตุมาจากภูมิแพ้ รักษาการติดเชื้อในกรณีมีอาการอักเสบติดเชื้อภายในช่องจมูก ผ่าตัดแก้ไขสันจมูกในกรณีที่สันจมูกคดมาก การรักษาด้วยเทคนิคที่เรียกว่า “RF (Radiofrequency) หรือ การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ”โดยการรักษาด้วยเทคนิค RF แพทย์จะใช้เข็มลักษณะพิเศษใส่เข้าไปในเยื่อบุโพรงจมูกคนไข้ จากนั้นคลื่นวิทยุจะเปลี่ยนแปลงเป็นพลังงานความร้อน เยื่อบุโพรงจมูกจะสร้างพังผืดและหดตัวลง ส่งผลให้ช่องขนาดโพรงจมูกใหญ่ขึ้น ผู้ป่วยจึงสามารถหายใจได้โล่งและสะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การรักษาด้วยคลื่นวิทยุ RF ยังช่วยให้อาการคันจมูก น้ำมูกไหล หรือเสมหะลงคอ ลดลงด้วยเช่นเดียวกัน และกรณีที่ผู้ป่วยเกิดอาการคัดจมูกเนื่องจากเยื่อบุจมูกบวมโตอีกครั้ง สามารถรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวซ้ำได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

เนื้องอกในรูจมูก/ริดสีดวงจมูก (Nasal polyps)

เนื้องอกในรูจมูก/ริดสีดวงจมูก (Nasal polyps)

เนื้องอกในรูจมูก/ริดสีดวงจมูก (Nasal polyps) เนื้องอกในรูจมูก มักมีสาเหตุมาจากการเป็นไข้หวัดเรื้อรัง เช่น ภูมิแพ้อากาศ หรือการติดเชื้อของรูจมูก มักไม่มีอันตรายร้ายแรง เว้นแต่ก้อนไม่โตมากจนมีผลต่อการหายใจ และไม่เสียการรับกลิ่น อาการ คัดจมูก แน่นจมูก หายใจไม่สะดวก พูดเสียงขึ้นจมูก หากเป็นเรื้อรังอาจสูญเสียการรับกลิ่น ปวดหัวคิ้วหรือโหนกแก้ม กรณีก้อนอุดตันรูไซนัส การรักษา การผ่าตัดเป็นการรักษาหลักที่ทำให้หายขาด แต่ก็มีบางรายที่เกิดเนื้องอกซ้ำ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

เลือดกำเดา เลือดออกจมูก (Epistaxis Nose bleed)

เลือดกำเดา เลือดออกจมูก (Epistaxis Nose bleed)

เลือดกำเดา เลือดออกจมูก (Epistaxis Nose bleed) เลือดกำเดา เกิดจากเส้นเลือดฝอยบริเวณเยื่อบุจมูกแตก มักเกิดขึ้นเฉียบพลัน บางรายเป็น ๆ หาย ๆ บ่อยครั้ง สาเหตุ สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ ไข้หวัด ภูมิแพ้อากาศ ไซนัสอักเสบ เยื่อจมูกอักเสบ เส้นเลือดฝอยเปราะเนื่องจากอากาศแห้ง การแคะจมูกแรง ๆ ได้รับบาดเจ็บ ความดันโลหิตสูง บางครั้งก็ทำให้เลือดกำเดาไหลได้ เกิดร่วมกับโรคติดเชื้อ เช่น ไข้หวัดใหญ่ มาลาเรีย ไทฟอยด์ ไข้เลือดออก คอตีบ เป็นต้น มีโรคเลือด ได้แก่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว โลหิตจางอะพลาสติก ไอทีพี เป็นต้น ซึ่งมักมีเลือดออกตามไรฟัน มีจ้ำเขียวขึ้นตามตัว และตับม้ามโตร่วมด้วย มะเร็งหรือเนื้องอกในจมูกหรือในลำคอ ซึ่งได้น้อยมาก การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ปฐมพยาบาลด้วยการให้ผู้ป่วยนั่งนิ่ง ๆ ตัวตรง ก้มหน้าลงเล็กน้อย บีบจมูกหายใจทางปากประมาณ 5-10 นาที จนเลือดหยุดไหล หากมีน้ำแข็งอาจใช้ผ้าห่อไว้แล้วประคงบริเวณจมูกไว้ได้ หากเลือดไม่หยุด หรือเป็นซ้ำบ่อย ๆ จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาต่อไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896