วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ

คำแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้สูงอายุ

ปัจจุบัน ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ ฉะนั้นจึงต้องมีการดูแลเอาใจใส่สุขภาพของผู้สูงวัยเหล่านี้ให้มากขึ้น ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้นทำให้ภูมิคุ้มกันของผู้สูงอายุต่ำกว่าคนในวัยหนุ่มสาว ความต้านทานต่อเชื้อโรคต่างๆ ลดลง ทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดโรคติดเชื้อ หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย สิ่งที่จะทำให้สุขภาพของผู้สูงอายุแข็งแรงกว่าเดิมคือการฉีดวัคซีน ดังนั้นในผู้สูงอายุ จึงมีความจำเป็นจะต้องได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยที่รุนแรง วัคซีนที่แนะนำในผู้สูงอายุ ได้แก่

1.วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

2.วัคซีนป้องกันโรคนิวโมคอคคัส

3.วัคซีนป้องกันโควิด -19

4.วัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน

5.วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด

วัคซีนคืออะไร (What is a vaccine )

คือสารชนิดหนึ่ง ชีววัตถุหรือแอนติเจนซึ่งผลิตมาจากเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรคถูกที่ทำให้ไม่สามารถก่อโรค เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายแล้ว ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุมกันป้องกันกับโรคนั้นๆได้

1.วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (Influenza vaccine)

โรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) พบบ่อยในฤดูฝน (มิถุนายน-ตุลาคม) และฤดูหนาว (มกราคม-มีนาคม) เป็นโรคติดเชื้อต่อระบบทางเดินหายใจ

อาการของโรคจะมีตั้งแต่อาการเล็กน้อย เช่น ไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ คัดจมูก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย ปวดศรีษะ จนถึงอาการที่รุนแรง ปอดบวมและภาวะแทรกซ้อนถึงขั้นต้องนอนรักษาที่โรงพยาบาล และเสียชีวิต โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง

กลุ่มเสี่ยงที่ควรฉีดวัคซีน

1.เด็กเล็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนถึง 2 ปี

2.ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป

3.ผู้หญิงตั้งครรภ์

4.ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคหัวใจ โรคปอดอุดกั้น โรคเบาหวาน โรคไต หลอดเลือดสมอง โรคธาลัสซีเมีย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างได้รับเคมีบำบัด ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ป่วยเอชไอวี

5.ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 100กิโลกรัมขึ้นไป หรือมีดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

1.ใส่หน้ากากอนามัย

2.หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่

3.หลีกเลี่ยงใกล้ชิดสัมผัสกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่

4.ไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่นแก้วน้ำ ช้อนอาหาร หลอดดูดน้ำ เป็นต้น

5.หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชนแออัดอากาศถ่ายเทไม่สะดวก

6.หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณจมูก ปาก ดวงตา เพราะช่องทางเหล่านี้สามารนำเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้

7.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ

8.ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ปีละครั้ง เป็นวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่รวมถึงลดโอกาสที่จะต้องนอนรักษาที่โรงพยาบาล ลดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงที่เกิดจากโรคไข้หวัดใหญ่ได้

ในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่มีโอกาสที่จะเกิดหลอดลมอักเสบปอดอักเสบที่รุนแรง หรือเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนนำไปสู่การเสียชีวิคที่รุนแรงได้ ดังนั้นจึงมีคำแนะนำให้ผู้สูงอายุรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะในช่วงก่อนฤดูฝน คือช่วงเดือนพฤษภาคม ในช่วงของฤดูหนาวคือช่วงเดือนตุลาคม

การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปี ไม่จำเป็นต้องรอให้ครบ 1 ปีสามารถฉีดได้เลยโดยมีระยะห่างจากโดสก่อนอย่างน้อย 6 เดือน

แม้การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด แต่จะช่วยลดความรุนแรงของโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้

ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนที่พบได้คืออาการปวด บวม แดง ร้อนในบริเวณที่ฉีดมักจะมีอาการเล็กน้อย บางรายอาจจะมีไข้ต่ำๆ ส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะหายไปภายใน 2-3 วัน

2.วัคซีนป้องกันโรคนิวโมคอคคัส (Pneumococcal vacine)

โรคนิวโมคอคคัสเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่าเชื้อ Streptococcus ติดต่อโดยการหายใจเอาเชื้อที่อยู่ในอากาศซึ่งมาจากผู้ป่วยที่ไอ จามเป็นสาเหตุที่สำคัญของการติดเชื้อ ในผู้สูงอายุที่ติดเชื้อตัวนี้จะมีโอกาสเกิดอาการที่รุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด ปอดบวม ปอดอักเสบ ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้ แม้จะได้รับยาปฏิชีวนะแล้วก็ตามวัคซีนชนิดนี้จะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงเหล่านั้นได้

ปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคนิวโมคอคคัสจะมี 2 ชนิด คือชนิด conjugate แบบ 13 สายพันธ์ และ Polysaccharide แบบ 23 สายพันธ์

สำหรับคำแนะนำให้ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปฉีดวัคซีนชนิด conjugate 13 สายพนธ์ก่อน แล้วตามด้วยชนิด Polysaccharide 23 สายพันธ์ โดยเว้นระยะห่าง ตั้งแต่ 2 เดือนถึง 1 ปี แต่ถ้าห่างผู้สูงอายุเหล่านั้นมีโรคประจำตัว เช่นเบาหวาน โรคไต หรือประวัติสูบบุหรี่ สามารถที่จะฉีดวัคซีนก่อนอายุ 65 ปีได้

ผลข้างเคียงของวัคซีน อาจจะพบอาการ ปวด บวม แดง ร้อนยริเวณที่ฉีดได้ หรืออาจจะมีไข้ ปวดศรีษะได้เล็กน้อย แต่อาการเหล่านนั้นจะหายไปภายใน 2-3 วิธี

3.วัคซีนป้องกันโควิด-19

เป็นโรคอุบัติใหม่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อว่า SARS-COV-2 โรคนี้จะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว

เพื่อที่จะลดความรุนแรงของโรคลง ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโควิด-19 หากผู้สูงอายุท่านใดยังไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19แม้แต่เข็มเดียวก็ขอให้รีบติดต่อสถานพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน เพื่อรับวัคซีนเข็มแรกให้เร็วที่สุด เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตหรือโอกาสเกิดโรครุนแรงได

4.วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (Td และ Tdap Vaccine)

โรค บาดทะยัก คอตีบ ไอกรนเกิดจากเชื้อแบคทีเรียคนละชนิด คอตีบและไอกรนส่วนใหญ่จะพบในเด็ก ทำให้เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ โรคคอตีบ ทำให้ลำคออักเสบรุนแรง เกิดเป็นพังผืดอุดกั้นทางเดินหายใจ

โรคไอกรน ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการไอมาก ไอเป็นชุดๆและนาน

ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะรับเชื้อจากเด็กที่ป่วยโดยการไอ จามรดใบหน้า และพูดคุยกันในระยะใกล้ชิด

ผู้สูงอายุซึ่งเคยฉีดวัคซีนชนิดนี้แล้วในอดีต ระดับภูมิคุ้มกันในปัจจุบันที่เหลืออยู่ไม่มากพอที่จะป้องกันโรคได้

โรคบาดทะยักเกิดจากการเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ คลอสทริเดียม เตตตาไน (Clostridium tetani) สามารถเกิดได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย สปอร์ของเชื้อพบได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นพื้นดิน พื้นหญ้า เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล โดยเฉพาะบาดแผลที่เจาะลึกเข้าไปในผิวหนัง เช่น ตะปูตำ เสี้ยนตำ เมื่อรับเชื้อเข้าไปแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้ คอแข็ง หลังเกร็ง แขนขาเกร็ง หากมีอาการรุนแรง อาจทำให้ระบบทางเดินหายใจล้มเหลวจนเสียชีวิตได้

สำหรับวัคซีนชนิดรวมป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนเป็นวัคซีนพื้นฐานที่เด็กไทยทุกคนต้องได้รับ

ปริมาณของทอกซอยด์ของเชื้อคอตีบในวัคซีนชนิดรวมของเด็กจะแตกต่างกับวัคซีนชนิดรวมในผู้ใหญ่

ดังนั้นจะต้องฉีดวัคซีนให้ถูกชนิด ในเด็กจะเรียกว่าDTap แต่เมื่อเป็นผู้ใหญ่อายุเกิน 18 ปีขึ้นไปจะฉีดด้วย Tdap หลังจากนั้นทุก 10 ปี จะกระตุ้นด้วย Td

สำหรับผู้สูงอายุ ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นมาก่อน หรือได้รับเข็มกระตุ้นมานานมากแล้ว ควรจะได้รับวัคซีน Tdap 1 เข็ม หลังจากนั้นทุก 10ปี ควรจะกระตุ้นด้วย Td หรือ Tdap ก็ได้

ผลข้างเคียงจากวัคซีน อาจจะมีบวมบริเวรที่ฉีด ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ไข้ อาการมักไม่รุนแรง สามารถหายเองได้ภายใน 2-3 วัน

5.วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด (Zoster vaccine)

โรคงูสวัดเกิดจากการติดเชื้อไวรัส วาริเซลลา (Varicella virus) เป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับโรคสุกใส การติดเชื้อครั้งแรก จะทำให้เกิดโรคสุกใส เมื่อหายจากโรคสุกใสแล้วเชื้อไวรัสจะไปหลบอยู่ในปมประสาทของร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันลดลงเมื่ออายุมากขึ้น หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกันต่างๆ เชื้อไวรัสสามารถหลบภูมิคุ้มกันของร่างกายออกมาในลักษณะตุ่มใส ทำให้เส้นประสาทอักเสบ เกิดการปวดตามแนวเส้นประสาท ซึ่งอาการปวดเกิดขึ้นได้ก่อนผื่นจะขึ้น เกิดในขณะผื่นขึ้น หรือหลังจากผื่นหายไปแล้ว เราเรียกอาการปวดนี้ว่า Post herpetic neuralgia อาการแทรกซ้อนอื่นๆที่พบในโรคนี้คือ การติดเชื้อบริเวณตา การติดชื้อบริเวณสมอง ปอดอักเสบ วัคซีนชนิดนี้ป้องกันอาการปวดและป้องกันโอกาสที่จะต้องนอนโรงพยาบาลได้

แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันงูสวัดให้ในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60ปีขึ้นไป โดยไม่คำนึงถึงว่าเคยเป็นงูสวัดมาก่อนหรือว่าเคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อน ไม่จำเป็นต้องตรวจว่ามีภูมิคุ้มกันโรค (Varicella IgG) หรือไม่ ในกรณีที่เคยเป็นงูสวัดมาก่อน สามารถให้วัคซีนงูสวัดได้ โดยเว้นระยะห่างหลังจากเป็นงูสวัดอย่างน้อย 6 เดือน

หากอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องได้รับวัคซีนงูสวัด พิจารณาให้วัคซีนอีสุกอีใสก่อน ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนงูสวัดเพื่อป้องกันโรคอีสุกอีใส

ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนคือ ปวด บวม บริเวณที่ฉีด ปวดศรีษะ ไข้ หนาวสั่น ปวดท้อง คลื่นไส้สามารถหายได้ภายใน 2-3 วัน

ข้อมูลโดย

แพทย์หญิงน้ำมณี มณีนิล

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

การดูแลเรื่องมวลกล้ามเนื้อและกระดูกในวัยหมดระดูก

การดูแลเรื่องมวลกล้ามเนื้อและกระดูกในวัยหมดระดูก

การดูแลเรื่องมวลกล้ามเนื้อและกระดูกในวัยหมดระดู “วัยหมดระดู” สตรีวัยหมดประจำเดือนเป็นจุดหนึ่งในช่วงชีวิตที่ต่อเนื่องของผู้หญิงและถือเป็นการสิ้นสุดวัยเจริญพันธุ์ ผู้หญิงส่วนใหญ่จะหมดประจำเดือนระหว่างอายุ 45 ถึง 55 ปี เฉลี่ยอยู่ที่อายุ 50ปีโดยเป็นส่วนหนึ่งของการสูงวัยทางชีวภาพ เกิดจากการสูญเสียการทำงานของรังไข่และมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดที่ลดลง การเปลี่ยนแปลงของวัยหมดระดู อาจเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยปกติจะเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงของรอบประจำเดือน จนถึงภาวะหลังหมดประจำเดือนอย่างถาวร อาจเป็นผลมาจากการผ่าตัดหรือหัตถการทางการแพทย์ โดยจะวินิจฉัยเมื่อขาดประจำเดือนไปนาน 1 ปี เป็นช่วงเวลาที่อาจส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคม ในช่วงวัยหมดระดู การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโดยเฉพาะระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะส่งผลต่อสุขภาพของมวลกล้ามเนื้อและกระดูกและความเป็นอยู่ที่ดี บทความนี้เป็นแนวทางการจัดการเพื่อป้องกันหรือบรรเทาอาการเหล่านี้ 1.โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) : เป็นหนึ่งในปัญหาเกี่ยวกับระบบกระดูกที่พบบ่อยที่สุดที่เกี่ยวข้องกับวัยหมดระดู โรคกระดูกพรุนมีลักษณะเฉพาะคือกระดูกมีความแข็งแกร่งลดลง มีความเปราะบาง เพิ่มความเสี่ยงต่อกระดูกหัก โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสะโพก กระดูกสันหลังและกระดูกข้อมือ 2.การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อและความอ่อนแรง (Sarcopenia ) : การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงวัยหมดประจำเดือนยังส่งผลให้สูญเสียมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การเคลื่อนไหวที่ลดลง ความมั่นคง และเพิ่มความเสี่ยงของการหกล้มและกระดูกหักเพิ่มขึ้น การดูแลความแข็งแรงของมวลกล้ามเนื้อและกระดูกเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเมื่อเข้าสู่วัยหมดระดู วิธีการดูแลสุขภาพของมวลกล้ามเนื้อและกระดูกในวัยหมดระดูมีดังนี้ การออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนักน้อย (Low-impact weight bearing exercise) เช่น การเดิน การวิ่งจ๊อกกิ้ง การเต้นรำ อย่างน้อย 40 นาทีต่อวัน 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูกโดยตรง เป็นการกระตุ้นการสร้างและยับยั้งการสลายของกระดูก การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strengthening exercise) ทำการเกร็งโดยใช้น้ำหนักและแรงโน้มถ่วงของตัวเอง หรือใช้น้ำหนักถ่วง ที่น้อยกว่า 10 กิโลกรัม เป็นเวลา 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแต่ละมัด และแรงดึงของกล้ามเนื้อจะช่วยกระตุ้นการสร้างมวลกระดูกได้ ให้ผลดีต่อการรักษาความหนาแน่นของกระดูกและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายเพื่อพัฒนาการทรงตัว (Balance exercise) เช่นการรำมวยไทชิ (Tai chi) ร่วมกับการกำหนดการหายใจและการฝึกสมาธิ ในขณะฝึกมีผลดีต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ เช่น เพิ่มทักษะการทรงตัว ความยืดหยุ่น ทักษะการเคลื่อนไหว เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ จะช่วยให้ทรงตัวได้ดีขึ้น ความเสี่ยงในการหกล้มจะลดลง โภชนาการที่เหมาะสม (Balanced diet) การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์สำหรับกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น อาหารที่มีแคลเซียม วิตามิน D โปรตีน และวิตามิน K อย่างเหมาะสม เป็นต้น ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับคือ 1000 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งได้จากสารอาหารหรือการเสริมแคลเซียม วิตามิน ดี ช่วยเพิ่มการดูดซึมของแคลเซียมผ่านทางลำไส้ ช่วยเสริมสร้างให้กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรงลดความเสี่ยงของการหกล้ม ในช่วงวัยหมดระดูร่างกายต้องการวิตามินดี ให้เพียงพอ 600-800 IUต่อวัน เพื่อป้องกันภาวะขาดวิตามินดี โดยรับวิตามินดีจากแสงแดด (ช่วงเวลา 9.00-15.00 น) เป็นเวลา 15-20 นาที 3 ครั้ง/สัปดาห์ และอาหาร อาหารที่มีวิตามินดีสูง เช่นปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ไข่แดง นม ตับ เห็ด หรือนมที่มีการเติมวิตามินดี รวมถึงการกินวิตามินดีเสริม แบ่งเป็น vitamin D2 ปริมาณ 20,000 IU ต่อสัปดาห์ หรือ vitamin D3 ปริมาณ 800-2000 IU ต่อวัน สารอาหารโปรตีน ปริมาณโปรตีนที่เพียงพอ 1-1.2 กรัม/กิโลกรัม/วัน ไม่มากกว่า 2 กรัม/กิโลกัม/วัน ซึ่งจะไม่รบกวนแคลเซียมเมแทบอลิซึมและความหนาแน่นของกระดูก เช่น ถ้าน้ำหนัก 50 กิโลกรัมให้รับประทานโปรตีน 50 กรัมต่อวัน เป็นต้น 5.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Lifestylemodification) : ลดการดื่มสุรา หยุดสูบบุหรี่ ลดการดื่มชากาแฟและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดอาหารรสเค็ม และเพิ่มกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนไหวระหว่างวัน สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสื่อมสภาพของกระดูก 6.การตรวจสุขภาพประจำปี (Regular health check up) : การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจสุขภาพของกระดูกและมวลกล้ามเนื้อ และสามารถช่วยวินิจฉัยและรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมสภาพกระดูกได้ในระยะเริ่มต้น การตรวจติดตามความหนาแน่นของกระดูกเป็นประจำ โดยการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (BMD) ด้วยวิธีมาตรฐานคือการตรวจด้วยเครื่องที่เรียกว่า DXA SCAN ผู้ที่ควรตรวจวัด BDMได้แก่ ➢ ผู้ชายอายุ 70ปีขึ้นไป ➢ ผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป ➢ ผู้หญิงที่หมดระดู ก่อนอายุ 45ปี ➢ มีภาวะเอสโตรเจนต่ำต่อเนื่องเกิน 1 ปีก่อนถึงวัยหมดระดู ➢ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้ยาต้านฮอร์โมน ➢ ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่ได้ยาต้านฮอร์โมน ➢ ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์ติตต่อกันเกิน 3 เดือน (prednisolone ≥ 5 mg/day) ➢ ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย ( BMI) น้อยกว่า 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ➢ ผู้ที่บิดามารดามีประวัติกระดูกสะโพกหัก ➢ ผู้ที่มีส่วนสูงลดลงอย่างน้อย 4 เซนติเมตร ➢ ผู้ที่เอกซเรย์พบกระดูกบางหรือกระดูกสันหลังหัก ➢ ผู้ที่กระดูกหักจากการกระแทกที่ไม่รุนแรง 7.การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน (Menopausal Hormone Therapy; MHT) : โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจนถูกนำมาใช้เพื่อรักษาอาการวัยหมดประจำเดือนและแสดงให้เห็นประโยชน์ต่อสุขภาพในการป้องกันกระดูกหัก อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจใช้ MHT ควรได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยชั่งน้ำหนักความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น และต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 8.ยารักษาโรคกระดูกพรุน : สำหรับคนที่มีภาวะกระดูกพรุนและมีความเสี่ยงสูงถึงสูงมากต่อกระดูกหัก อาจกำหนดให้ใช้ยากลุ่มต้านการสลายกระดูก เช่น Bisphosphonates, Denosumab, Raloxifen และ MHT เป็นต้น หรือยากลุ่มกระตุ้นการ 9.การป้องกันหกล้ม (Fall prevention) : การป้องกันการล้มเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อาจเสี่ยงต่อการล้มได้ง่ายกว่าเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น การทรงตัวลดลง กล้ามเนื้ออ่อนแรง และการมองเห็นเปลี่ยนแปลง โดยมีวิธีป้องกันดังนี้ การออกกำลังกาย : การออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกำลังกายที่ช่วยเพิ่มความสมดุล ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการหกล้มได้ มักแนะนำให้ฝึกไทชิและโยคะ การปรับเปลี่ยนความปลอดภัยภายในบ้าน : การป้องกันอันตรายจากการสะดุดล้ม เช่น พรมที่หลวมหรือสายไฟ การติดตั้งราวจับในห้องน้ำและบันได และการปรับปรุงแสงสว่างให้เพียงพอทำให้สภาพแวดล้อมในบ้านปลอดภัยยิ่งขึ้น การปรับยารักษาโรคประจำตัว : ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะหรือส่งผลต่อการทรงตัว เพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้ม การทบทวนยากับแพทย์ผู้รักษาและการปรับเปลี่ยนหากจำเป็นสามารถช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้ การตรวจสายตาเป็นประจำ : การมองเห็นที่ไม่ดีอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการล้มได้ การตรวจสายตาเป็นประจำสามารถช่วยการมองเห็นที่ดีขึ้นได้ รองเท้าที่เหมาะสม : การสวมรองเท้าที่พอดีและมีพื้นรองเท้าที่ไม่ลื่นไถลสามารถสร้างความมั่นคงและลดความเสี่ยงในการลื่นไถลได้ อุปกรณ์ช่วยเหลือ : การใช้เครื่องช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า หากจำเป็น สามารถใช้เพื่อสร้างความมั่นคงในการเดินได้ ระบบตรวจจับการล้ม : สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะล้ม อุปกรณ์สวมใส่หรือระบบติดตามภายในบ้านสามารถแจ้งเตือนในกรณีที่ล้มได้ ช่วยให้สามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงที การศึกษาและการตระหนักรู้ : การให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุและผู้ดูแลเกี่ยวกับความเสี่ยงในการล้มและการจัดการที่ดีในการป้องกัน สามารถช่วยให้พวกเขาตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูลและใช้มาตรการป้องกันที่เหมาะสม สุขภาพของมวลกระดูกและกล้ามเนื้อในวัยหมดระดูเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการมีสุขภาพที่ดี การออกกำลังกายที่เหมาะสม ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การป้องกันการหกล้มและการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนและภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย เป็นสิ่งที่มีความสำคัญและสามารถลดความเสี่ยงต่อกระดูกหัก การรักษาด้วยฮอร์โมนและยารักษาโรคกระดูกพรุนสามารถรักษาได้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ข้อมูลโดย พญ.แก้วตา เรืองรัตนภูมิ

การเตรียมตัวตรวจสุขภาพ

การเตรียมตัวตรวจสุขภาพ

สำหรับการเตรียมตัวก่อนการตรวจสุขภาพ 1. งดอาหาร เครื่องดื่มทุกชนิด ลูกอม หมากฝรั่ง อย่างน้อย 12 ชม. และงดน้ำเปล่าอย่างน้อย 8 ชม.ก่อนการตรวจ 2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรอดนอน 3. สวมเสื้อที่สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับแขนและการตรวจร่างกาย 4. สำหรับสุภาพสตรีไม่ควรอยู่ในช่วงก่อน / หลังมีประจำเดือน 7 วัน 5. สำหรับสุภาพสตรีกรณีสงสัยว่าตั้งครรภ์ โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบก่อนการตรวจ ***กรณีมีรายการตรวจพิเศษอื่น ๆ เพิ่ม อาจมีแนวทางการเตรียมตัวที่มากกว่ารายละเอียดข้างต้น ดังนั้นผู้รับบริการควรปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่หรือเอกสาร เพื่อให้ได้มาซึ่งผลการตรวจที่แม่นยำที่สุด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศุนย์ส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบบี เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ก่อโรคตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งตับ ในประเทศไทยและทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อไวรัตับอักเสบบีนี้ ซึ่งจะฉีดทั้งหมด 4 ครั้ง ในทารกที่ฉีดตั้งแรกเกิด และในวัยอื่นๆโดยทั่วไปฉีดทั้งหมด 3 เข็ม ดังนี้ เริ่มฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีเข็มแรก เมื่อพบแพทย์ตรวจแล้วว่าไม่มีภูมิคุ้มกันและแพทย์พิจารณาแล้วว่าควรได้รับวัคซีนนี้ วัคซีนเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1 เดือน วัคซีนเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มแรก 6 เดือน กลุ่มที่แนะนำให้ได้รับวัคซีนไวรัสอับอักเสบบี ทารกแรกเกิดทุกราย ทุคนที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี ผู้ดูแลหรือผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในโรงพยาบาล ผู้ที่ได้รับการฟอกไต ผู้ที่ต้องได้รับเลือดเป็นประจำ กลุ่มรักร่วมเพศ ผู้ที่ใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด ผู้ที่ต้องเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง มีการระบาดของไวรัสตับอักเสบบี การตรวจเลือดก่อนฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี * เด็กแรกเกิดและเด็กเล็ก (อายุต่ำกว่า 10 ปี) ไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดก่อนฉีดวัคซีน * เด็กโต (อายุ 10 ปีขึ้นไป) และผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะเคยติดเชื้อมาแล้ว ซึ่งอาจมีภูมิคุ้มกันโรคแล้วตาม ธรรมชาติหรือเป็นพาหะ ซึ่งจะไม่ได้รับประโยชน์จากการฉีดวัคซีน ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนโดยไม่จำเป็น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อตรวจเลือดประกอบกับการพิจารณาว่าควรฉีดวัคซีนหรือไม่ วัคซีนนี้จะป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีได้หลังฉีด 10 วัน อาการข้างเคียงจากการได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี อาจมีอาการปวด บวม หรือมีไข้ต่ำๆ อาการมักเริ่มราว 3-4 ชั่วโมงหลังฉีด และเป็นอยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

อันตรายจากแคดเมียม

อันตรายจากแคดเมียม

แคดเมียมที่เข้าสู่ร่างกาย โดยผ่านทางระบบหายใจ และระบบทางเดินอาหาร จะเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิตจับกับโปรตีน albumin ถูกส่งไปที่ตับ ทำให้มีอาการอักเสบที่ตับ บางส่วนของแคดเมียมจะจับตัวกับโปรตีนอีกชนิดหนึ่ง (metallothionein) เข้าไปสะสมในตับและไต และถูกขับออกทางปัสสาวะ โดยขบวนการขับแคดเมียมออกจากไตเกิดขึ้นช้ามาก ใช้เวลาถึงประมาณ 20 ปี ถึงสามารถขับแคดเมียมออกได้ครึ่งหนึ่งของแคดเมียมที่มีการสะสมอยู่ในไตออกได้ ทำให้มีอาการกรวยไตอักเสบ ผู้ที่ได้รับแคดเมียมเรื้อรัง มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งปอด ไต ต่อมลูกหมาก และตับอ่อน มีรายงานผู้ป่วยที่กินข้าวที่เพาะปลูกจากแหล่งที่ดินมีการปนเปื้อนแคดเมียม จะมีอาการของโรคกระดูกพรุน และกระดูกมีการเจริญที่ผิดปกติ รวมถึงโรคอิไต-อิไต (Itai-Itai disease) อีกด้วย แคดเมียมอันตรายต่อร่างกายอย่างไร ผลเฉพาะที่ ระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ ถ้าสัมผัสนานๆ อาจทำให้ความรู้สึกในการรับกลิ่นเสียไป และเกิดคราบ หรือวงสีเหลืองที่คอฟันทีละน้อย หลังจากที่แคดเมียมถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะมีครึ่งชีวิตที่ยาวนาน และคงอยู่ในตับและไต ผลต่อร่างกาย พิษเฉียบพลันส่วนใหญ่ เกิดจากการหายใจเอาฝุ่น หรือฟูมแคดเมียม ซึ่งเกิดขึ้น เมื่อแคดเมียมถูกทำให้ร้อน โดยทั่วไป ระยะเวลาหลังจากสัมผัสสารจะยาวนาน 2-3 ชั่วโมงก่อนแสดงอาการ อาการเริ่มแรกจะมีการระคายเคืองเล็กน้อยของทางเดินหายใจส่วนต้น อีก 2-3 ชั่วโมงต่อมา จะมีอาการไอ เจ็บปวดใน ทรวงอก เหงื่อออกและหนาวสั่น ซึ่งเป็นอาการที่ คล้ายกับการติดเชื้อทั่วไปของทางเดินหายใจส่วนต้น ต่อมา 8-24 ชั่วโมง หลังจากสัมผัสสารอย่างฉับพลัน อาจเห็นอาการระคายเคืองอย่างแรงที่ปอด เจ็บปวดในทรวงอก หายใจลำบาก ไอ และอ่อนเพลีย อาการหายใจลำบากจะรุนแรงขึ้น เมื่อเกิดน้ำท่วมปอดตามมา อันตรายจากกรณีเช่นนี้ มีถึง 15% ผู้ป่วยที่รอดชีวิตอาจมีฟองอากาศในเนื้อเยื่อ และเนื้อปอดปูดนูนออกมา ซึ่งต้องใช้เวลานานในการรักษาให้หาย มีรายงานว่า พบพิษเรื้อรังเกิดขึ้น หลังจากสัมผัสฟูมแคดเมียมออกไซด์เป็นเวลานาน การรักษาเบื้องต้น หากร่างกายได้รับแคดเมียมจากการบริโภคอาหาร ให้ดื่มนมหรือบริโภคไข่ที่ตีแล้ว เพื่อลดการระคายเคืองของทางเดินอาหาร หรืออาจทําให้ถ่ายท้องด้วย Fleet’s Phospho Soda (เจือจาง 1:4 ด้วยนํ้า) 30-60 มิลลิกรัม เพื่อลดการดูดซึมแคดเมียม ที่มา : เว็บไซต์สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ https://www.thaihealth.or.th/?p=360223 โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรีมีบริการตรวจ ที่แผนก check up ทุกวันพุธ ตรวจด้วยการเก็บปัสสาวะ การเตรียมตัว (หลีกเลี่ยงอาหารทะเลอย่างน้อย 3 วัน ก่อนตรวจ) รู้ผลใน 7 วัน ราคาประมาณ 1,500 บาท (รวมค่าบริการและค่าแพทย์) ตรวจจากเลือด (หาสารแคดเมียม) ไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร รู้ผลใน 5 วัน ราคาประมาณ 1,500 บาท (รวมค่าบริการและค่าแพทย์) หมายเหตุ วิธีการเลือกตรวจขึ้นอยู่กับแพทย์พิจารณาตามความเสี่ยงที่สัมผัสสาร จึงจำเป็นต้องพบแพทย์ก่อนตรวจทุกราย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ปอดอักเสบ ป้องกันได้ด้วยวัคซีน "นิวโมคอคคัส"

ปอดอักเสบ ป้องกันได้ด้วยวัคซีน "นิวโมคอคคัส"

ไม่ต้องรอ 10 ปี...ตรวจหามะเร็ง 5 ชนิดได้เลย!

ไม่ต้องรอ 10 ปี...ตรวจหามะเร็ง 5 ชนิดได้เลย!

ไม่ต้องรอ 10 ปี...ตรวจหามะเร็ง 5 ชนิดได้เลย! SPOT-MAS (Multi-Cancer Screening) ตรวจคัดกรองมะเร็งระยะเริ่มต้นเจาะเลือดครั้งเดียว ตรวจหา #มะเร็ง ได้ 5 ชนิด #มะเร็งเต้านม #มะเร็งปอด #มะเร็งตับ #มะเร็งลำไส้ใหญ่ #มะเร็งกระเพาะอาหาร ราคาโปรโมชัน 15,000 บาท (จากปกติ 16,500 บาท) เริ่ม 1 ต.ค. - 31 ธ.ค. 67 กดซื้อออนไลน์ง่าย ๆ คลิกเลย ซื้อโปรแกรม https://bangkokhospitalchanthaburi.com/shop/107 #ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ #โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง