ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

บริการทางการแพทย์โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด
คนไทยป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ 432,943 คนต่อปี และมีอัตราการเสียชีวิตถึง 20,855 คน เฉลี่ย 2 คนต่อชั่วโมง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ข้อมูลจากสถิติล่าสุดของกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผย ณ วันที่ 16 กันยายน 2561)

โรคหัวใจ เป็นคำที่มีความหมายกว้าง เนื่องจากโรคหัวใจแบ่งย่อยออกเป็นอีกหลายชนิด ตามตำแหน่งที่เกิดความผิดปกติ ลักษณะการแสดงอาการ และการติดเชื้อ เป็นต้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจชนิดใดก็ย่อมส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจทั้งสิ้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึงโรคหัวใจที่มักจะได้ยินกันบ่อยๆ ดังนี้

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ-อุดตันตัน จากหลอดเลือดที่เคยมีพื้นผิวที่เรียบ เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างสะดวก แต่เมื่อเรามีระดับไขมันในเลือดสูง ไขมันเหล่านี้จะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง หรือบางกรณีอาจเกิดจากการมีลิ่มเลือดมาอุดตันหลอดเลือด ซึ่งทั้ง 2 กรณี ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก มีโอกาสเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดขึ้นได้ 

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจที่ตีบหรืออุดตัน ทำให้ส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อตายจากการขาดเลือด ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาหารเจ็บแน่นหน้าอก ร้าวไปกราม ไปไหล่ และแขน หายใจเหนื่อย วิงเวียน เหงื่อออก ตัวเย็น โดยผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกันออกไป อาจจะมีอาการในช่วงที่ออกแรง รู้สึกเครียด หรือหลังจากการรับประทานอาหารมื้อหนัก เมื่อมีอาการควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพราะถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ 

โรคหัวใจวาย ภาวะหัวใจวาย เป็นภาวะประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง ทำให้ไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างเพียงพอ ส่งผลต่ออวัยวะทุกส่วนของร่างกาย นอกจากนี้ภาวะหัวใจวายยังทำให้เกิดน้ำท่วมปอด และไตวายได้อีกด้วย อาการของภาวะหัวใจวาย คือ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ โดยเฉพาะขณะนอนราบ ไอแห้ง นอนหลับยาก มือเท้าบวม  

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าหัวใจ ส่งผลต่อความสม่ำเสมอและอัตราการเต้นของหัวใจ

 

ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ

  • อายุ มากกว่า 55 ปี
  • เพศ พบว่าผู้ชายเป็นมากกว่าผู้หญิง
  • พันธุกรรม มีพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นโรคหัวใจ
  • เป็นเบาหวาน
  • เป็นความดันโลหิตสูง
  • เป็นไขมันในหลอดเลือดสูง
  • อ้วน
  • พฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ทานอาหารที่มีคลอเรสเตอรอลสูง เครียด และขาดการออกกำลังกาย

***โรคหัวใจอาจไม่แสดงอาการใดๆให้ท่านทราบเลยในช่วงแรก การตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำจึงมีความสำคัญที่สุด

 

การตรวจสุขภาพหัวใจ 

  1. การซักประวัติและตรวจรางกายโดยแพทย์ เป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้น เพื่อประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
  2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG & ECG) เป็นเครื่องมือตรวจพิเศษช่วยวิเคราะห์ความผิดปกติของหัวใจเบื้องต้น ที่ไม่เสียเวลาและไม่ต้องเจ็บตัว
  3. การวัดสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST)เพื่อทดสอบความทนของหัวใจขณะออกกำลังกาย ทำให้สามารถประเมินโอกาสเสี่ยงในการเกิดคววามผิดปกติที่อาจจะมีต่อหัวใจขณะออกแรง
  4. การตรวจเลือด เพื่อประเมินระดับของเอนไซม์หัวใจ ว่าอยู่ในยเกณฑ์ของผู้ป่วยหัวใจวายหรือไม่
  5. การอัลตราซาวด์หัวใจ(Echocardiogram) เพื่อดูการทำงาน โครงสร้าง และความผิดปกติของหัวใจ
  6. การตรวจ MRI เป็นการตรวจดูความผิดปกติของหัวใจ โดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุซึ่งสามารถให้ภาพที่ชัดเจนทั้งแนวขวางและ 3 มิติ
  7. การตรวจMRAเป็นการตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดโดยการใช้เครื่อง MRI
  8. การวินิจฉัยด้วยการสวนหัวใจ เป็นการตรวจเอ็กซเรย์ร่วมกับการฉีดสารทึบแสงทางหลอดเลือดเพื่อวิเคราะห์ความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ โดยหากพบความผิดปกติที่สามารถรักษาด้วยการทำบอลลูน ใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือด ผู้ป่วยจะสามารถทำได้ในคราวเดียวกัน ไม่ต้องเจ็บตัวซ้ำ ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องดมยาสลบ และไม่ต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลนาน

 

การรักษา

  1. รับประทานยา
  2. รักษาด้วยการสวนหัวใจ
  3. ผ่าตัด

 

การป้องกัน

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อย่างเหมาะสม ลดอาหารที่มีคลอเรสเตอรอลสูง
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่ดื่มสุรา และ ไม่สูบบุหรี่
  • หากมีโรคประจำตัว ต้องดูแลตนเองตามแพทย์แนะนำและรับประทานยาตามแพทย์สั่ง
  • อย่างเคร่งครัด

 

โรคหัวใจเป็นโรคที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากสงสัยหรือมีความเสี่ยงควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039 319 888

 

การตรวจอัลตร้าซาวด์หัวใจ (Echocardiogram)
ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

การตรวจอัลตร้าซาวด์หัวใจ (Echocardiogram)

การตรวจอัลตร้าซาวด์หัวใจ (Echocardiogram)

อ่านเพิ่มเติม
“ความดันโลหิตสูง” กับ "กล้ามเนื้อหัวใจหนา"
ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

“ความดันโลหิตสูง” กับ "กล้ามเนื้อหัวใจหนา"

“ความดันโลหิตสูง” กับ "กล้ามเนื้อหัวใจหนา"

อ่านเพิ่มเติม
ตรวจหาคราบหินปูนหลอดเลือดหัวใจ
ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

ตรวจหาคราบหินปูนหลอดเลือดหัวใจ

ตรวจหาคราบหินปูนหลอดเลือดหัวใจ

อ่านเพิ่มเติม
รักษาความดันไม่สม่ำเสมอมีผลต่อหลอดเลือดแดงใหญ่
ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

รักษาความดันไม่สม่ำเสมอมีผลต่อหลอดเลือดแดงใหญ่

รักษาความดันไม่สม่ำเสมอมีผลต่อหลอดเลือดแดงใหญ่

อ่านเพิ่มเติม
คนบ้างาน-เครียด เสี่ยงหัวใจขาดเลือด
ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

คนบ้างาน-เครียด เสี่ยงหัวใจขาดเลือด

คนบ้างาน-เครียด เสี่ยงหัวใจขาดเลือด

อ่านเพิ่มเติม
ปัญหาช่องปาก เรื่องใหญ่ของผู้ป่วยโรคหัวใจ
ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

ปัญหาช่องปาก เรื่องใหญ่ของผู้ป่วยโรคหัวใจ

ปัญหาช่องปาก เรื่องใหญ่ของผู้ป่วยโรคหัวใจ

อ่านเพิ่มเติม
หัวใจล้มเหลว เกิดได้ทุกเพศทุกวัย
ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

หัวใจล้มเหลว เกิดได้ทุกเพศทุกวัย

หัวใจล้มเหลว เกิดได้ทุกเพศทุกวัย

อ่านเพิ่มเติม
หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายที่ไร้สัญญาณเตือน
ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายที่ไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายที่ไร้สัญญาณเตือน

อ่านเพิ่มเติม
ทำไมคนรุ่นใหม่เป็นโรคหัวใจมากขึ้น
ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

ทำไมคนรุ่นใหม่เป็นโรคหัวใจมากขึ้น

ทำไมคนรุ่นใหม่เป็นโรคหัวใจมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังฉีดวัคซีนกลุ่ม mRNA

อ่านเพิ่มเติม
ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหัวใจเป็นโรคที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

อ่านเพิ่มเติม

ยังไม่มีรายการวิดิโอแสดง

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง